คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอล
คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอล หมายความรวมถึง คตินิยมเชื้อชาติทุกรูปแบบและการแสดงเจตนาที่ประสบในประเทศนั้น โดยไม่ขึ้นกับสีผิวหรือหลักความเชื่อของผู้ลงมือและผู้เสียหาย หรือสถานภาพพลเมือง ผู้อยู่อาศัยหรือผู้มาเยือน
ทว่า ที่เจาะจงกว่าในบริบทอิสราเอล คตินิยมเชื้อชาติในประเทศอิสราเอลหมายถึงคตินิยมเชื้อชาติที่ยิวอิสราเอลมุ่งเป้าต่ออาหรับอิสราเอล[1] คตินิยมเชื้อชาติระหว่างยิวด้วยกันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ยิวต่าง ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อยิวเอธิโอเปีย[2] คตินิยมเชื้อชาติในอดีตและปัจจุบันต่อยิวมิซราฮีและยิวผิวสี) และคตินิยมเชื้อชาติของอาหรับอิสราเอลบางส่วนต่อยิวอิสราเอล
คตินิยมเชื้อชาติในส่วนของยิวอิสราเอลต่ออาหรับมุสลิมในประเทศอิสราเอลนั้นปรากฏในนโยบายสถาบัน ทัศนะส่วนบุคคล สื่อ การศึกษา สิทธิการเข้าเมือง การเคหะ[3] ชีวิตสังคมและนโยบายทางกฎหมาย บางคนในประชากรยิวอิสราเอลอัชเคนาซิยังมีการอธิบายว่าถือทัศนะเลือกปฏิบัติต่อยิวด้วยกันที่มีภูมิหลังอื่น ๆ รวมทั้งยิวเอธิโอเปีย ยิวอินเดีย ยิวมิซราฮี ยิวเซฟาร์ดี เป็นต้น แม้การสมรสระหว่างอัชเคนาซิมและเซฟาร์ดิม/มิซราฮิมพบบ่อยมากขึ้นในประเทศ อิสราเอล และบูรณาการทางสังคมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่เสมอภาคยังคงมีอยู่ ยิวเอธิโอเปียเผชิญการเลือกปฏิบัติจากยิวที่มิใช่ผิวดำมากเป็นพิเศษ มีการเสนอว่าสถานการณ์ของยิวเอธิโอเปีย "ที่กำลังกลายเป็นขาว" คล้ายกันกับผู้เข้าเมืองชาวยุโรป เช่น ชาวโปแลนด์และอิตาลี ซึ่งเข้าสหรัฐในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[4]
ประเทศอิสราเอลมีกฎหมายต่อต้านการเลือกปฏิบัติอย่างกว้างขวางซึ่งห้ามการเลือกปฏิบัติของทั้งภาครัฐและเอกชนบนพื้นฐานของเชื้อชาติ ศาสนา และลัทธิการเมือง และห้ามการยุยงให้นิยมเชื้อชาติ[5] รัฐบาลอิสราเอลและหลายกลุ่มในประเทศดำเนินความพยายามเพื่อต่อสู้กับคตินิยมเชื้อชาติ ประเทศอิสราเอลเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ และเป็นผู้ลงนามอนุสัญญาต่อต้านการเลือกปฏิบัติในการศึกษา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ IRIN; Andreas Hackl (7 September 2012). "ISRAEL-OPT: Upping sticks and heading for Ramallah". IRIN humanitarian news and analysis. UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs. สืบค้นเมื่อ 14 October 2012.
- ↑ http://www.haaretz.com/news/national/thousands-in-jerusalem-protest-racism-against-ethiopian-israelis-1.407998 Thousands in Jerusalem protest racism against Ethiopian Israelis
- ↑ "World Report 2012: Israel/Occupied Palestinian Territories". Human Rights Watch. Human Rights Watch. 2012. สืบค้นเมื่อ 1 May 2016.
- ↑ Steven Kaplan, "Can the Ethiopian Change His Skin? The Beta Israel (Ethiopian Jews) and Racial Discourse", African Affairs, Vol. 98, No. 393 (Oct., 1999), p. 548