คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก
คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก (รัสเซีย: Факультет журналистики Московского государственного университета им. М. В. Ломоносова) ตั้งอยู่บริเวณถนนโมโฮวายา ในย่านดาวน์ทาวน์ของกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 โดยเป็นภาควิชาหนึ่งของคณะภาษาศาสตร์ และได้แยกออกมีสถานะเป็นคณะในปี ค.ศ. 1952
คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก ถูกจัดให้เป็นคณะสาขาด้านวารสารศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และการสื่อสารมวลชนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศรัสเซียและในเครือรัฐเอกราช (CIS) และยังได้รับการขนานนามจากโรงเรียนวารสารศาสตร์มิสซูรีว่าเป็นคณะวารสารศาสตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก[1]
ด้วยมหาวิทยาลัยมอสโกมีความต้องการสร้างชื่อเสียงระดับโลกทางด้านวิชาการในยุคสตาลินเรืองอำนาจและในช่วงสงครามเย็นนั้น ทำให้คณะเป็นแหล่งบ่มเพาะนักวิชาการ นักข่าว ระดับหัวกะทิของประเทศเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีเครือข่ายด้านกิจกรรมนิสิตระหว่างคณะวารสารศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กอีกด้วย
ภาควิชา
[แก้]มีทั้งหมด 15 ภาควิชา ดังนี้
- ภาควิชาวารสารศาสตร์ (Periodical Press)
- ภาควิชาวิทยุและโทรทัศน์ (Radio and Television)
- ภาควิชาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์สื่อสารมวลชนรัสเซีย (History of Russian Journalism and Literature)
- ภาควิชาวรรณกรรมและประวัติศาสตร์สื่อสารมวลชนต่างประเทศ (History of Foreign Journalism and Literature)
- ภาควิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ (Advertising and Public Relations)
- ภาควิชาการบรรณาธิการและวิทยาการสารสนเทศ (Editing, Publishing and Informatics)
- ภาควิชาสื่อสารมวลชนและการวิพากษ์วรรณกรรม (Literary Criticism and Opinion journalism)
- ภาควิชาประวัติศาสตร์และประมวลกฎหมายสื่อในประเทศ (History of Modern Russian Mass Media and Media Law)
- ภาควิชาเทคโนโลยีธุรกิจสิ่งพิมพ์และสื่อ (техники газетного дела и средств информации)
- ภาควิชาสังคมวิทยาวารสารศาสตร์ (Sociology of Journalism)
- ภาควิชาโวหารภาษารัสเซีย (Russian Language Stylistics)
- ภาควิชาทฤษฎีสื่อและเศรษฐศาสตร์ (Media Theory and Economics)
- ภาควิชาวารสารศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งยูเนสโก (UNESCO Chair of Journalism and Mass Communication)
- ภาควิชาสื่อใหม่และทฤษฎีการสื่อสาร (New Media and Theory of Communication)
- ภาควิชาภาษาต่างประเทศ (иностранных языков)
ศูนย์วิจัยวารสารศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ
[แก้]มีทั้งหมด 11 ศูนย์ ดังนี้
- ศูนย์ศึกษาสื่อและวัฒนธรรมแห่งอเมริกากลาง (Centre For Studies of Ibero-American Journalism and Culture)
- ศูนย์วารสารศาสตร์รัสเซีย-ฝรั่งเศส (Franco-Russian Center for Journalism)
- สถาบันวารสารศาสตร์รัสเซีย-เยอรมัน (Russian-German Institute for Journalism)
- ศูนย์ศึกษาระบบสื่อมวลชนฟินแลนด์และสแกนดิเนเวีย (Centre for Studies of Media Systems in Finland and Scandinavia)
- ศูนย์ศึกษาสื่อและวัฒนธรรมรัสเซีย-ญี่ปุ่น (Russian-Japanese Centre for Studies of Media and Culture)
- ศูนย์ศึกษาสื่อ วัฒนธรรม และการสื่อสารรัสเซียน-อิตาเลียน (Italian-Russian Center for Media, Culture and Communication)
- ศูนย์ศึกษาสื่อและวารสารศาสตร์สหราชอาณาจักร (Center for British journalism and the media)
- ศูนย์ศึกษาสื่อรัสเซียน-อินเดียน (Russian-Indian Centre for Media)
- ศูนย์ศึกษาสื่อมวลชนและวัฒนธรรมจีน-รัสเซีย (Center for Russian and Chinese studies of journalism, mass communication and culture)
- ศูนย์สื่อเพศสภาพศึกษา (Center for Gender Studies Media and Communications)
- ศูนย์ปรัชญาสื่อมวลชน (Центр медиапсихологии)
เครือข่ายระดับนานาชาติ
[แก้]คณะวารสารศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมอสโก มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการกับคณะด้านวารสารศาสตร์และนิเทศศาสตร์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกถึง 20 ประเทศ อีกทั้งยังมีเครือข่ายความสัมพันธ์กับสมาคมสื่อมวลชนระหว่างประเทศอีก 7 องค์กรด้วยกัน[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Partnership with Russia’s Largest School of Journalism Announced "Faculty from the world’s first school of journalism [โรงเรียนวารสารศาสตร์มิสซูรี] and the world’s largest school of journalism [คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยมอสโก]..."
- ↑ http://www.journ.msu.ru/eng/partners/