ข้อตกลงรวมบาหลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข้อตกลงรวมบาหลี (อังกฤษ: Bali Package) เป็นข้อตกลงทางการค้าที่มาจากการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งที่ 9 แห่งองค์กรการค้าโลก (WTO) ณ จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซียในวันที่ 3-7 ธันวาคม พ.ศ. 2556 มีจุดประสงค์ในการลดการกีดกันทางการค้าทั่วโลก ถือเป็นข้อตกลงแรกที่ได้รับการอนุมัติผ่าน WTO และได้รับการรับรองจากทุกประเทศสมาชิก[1][2] ข้อตกลงรวมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประชุมรอบพัฒนาโดฮา ซึ่งเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2544[3]

สถาบันปีเตอร์สันเพื่อเศรษฐศาสตร์นานาชาติประมาณการว่าถ้ามาตรการศุลกากรที่มาจากข้อตกลงนี้นำมาใช้อย่างเหมาะสม จะสามารถสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งจะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เพิ่มอัตราการจ้างงานกว่า 21 ล้านตำแหน่ง และลดค่าใช้จ่ายในการทำการค้าระดับนานาชาติได้ร้อยละ 10-15[4][2][5][6].

อ้างอิง[แก้]

  1. Walker, Andrew (7 December 2013). "WTO agrees global trade deal worth $1tn". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  2. 2.0 2.1 Donnan, Shawn (7 December 2013). "WTO approves landmark global trade deal". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  3. "Days 3, 4 and 5: Round-the-clock consultations produce 'Bali Package'". World Trade Organization. 7 December 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  4. "WTO deal aims to boost global commerce". Al Jazeera. 7 December 2013. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013.
  5. Hufbauer, Gary Clyde; Schott, Jeffrey J.; Cimino, Cathleen; Muir, Julia (18 April 2013). "Payoff from the World Trade Agenda 2013". ICC Research Foundation. สืบค้นเมื่อ 7 December 2013. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. Amin, M. and Haidar, J.I., 2013. "Trade Facilitation and Country Size," Policy Research Working Paper Series 6692, The World Bank