ขัณฑสกร (ยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขัณฑสกร เป็นเครื่องยาไทยอย่างหนึ่ง ปรากฏในคัมภีร์ยาไทยโบราณ สมุดข่อยหรือแผ่นหินสลักที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ ยังปรากฏในตำราโอสถพระนารายณ์ สมัยกรุงศรีอยุธยา

ในตำรายาไทยระบุไว้ว่า ขัณฑสกรมีหลายชนิดและมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกัน ดังนี้:

  1. เกิดจากหยาดน้ำค้างบนใบของต้นขัณฑสกร โดยนำน้ำค้างไปตากไว้จนห้างก็จะได้เป็นเกล็ดสีขาว มีรสหวานจัดถึงขม มีสรรพคุณบำรุงกำลัง ปัสสาวะคล่อง แก้เสมหะ และแก้กระหาย
  2. เกิดจากน้ำอ้อย มีสรรพคุณใช้บำรุงธาตุ บำบัดฝีผอมเหลือง
  3. เกิดจากน้ำผึ้งที่เกิดริมฝั่งทะเล มีสรรพคุณแก้นิ่ว ท้องมาน แก้สะอึก แก้กำเดา แก้ไข้เซื่องซึม แก้จุดเสียด ลมพิษ คอแห้ง
  4. เกิดจากเกสรบัวหลวง รสหวานจัดจนขม สรรพคุณเหมือนกับขัณฑสกรที่ได้มาจากหยาดน้ำค้างบนใบต้นขัณฑสกร

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]