ข้ามไปเนื้อหา

กิ้งกือมังกรสีชมพู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กิ้งกือมังกรสีชมพู
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Diplopoda
อันดับ: Polydesmida
วงศ์: Paradoxosomatidae
สกุล: Desmoxytes
สปีชีส์: D.  purpurosea
ชื่อทวินาม
Desmoxytes purpurosea
Enghoff, Sutcharit, & Panha, 2007

กิ้งกือมังกรสีชมพู (อังกฤษ: Shocking pink millipede; ชื่อวิทยาศาสตร์: Desmoxytes purpurosea) [1] เป็นกิ้งกือมังกรที่พบในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวในโลก [2] ค้นพบโดยนักสำรวจสมัครเล่น กลุ่ม siamensis.org ซึ่งต่อมาได้แจ้งให้ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และคณะทราบ [3] เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2550 บริเวณป่าเขาหินปูนแถบภาคกลางตอนบนต่อกับภาคเหนือตอนล่าง

กิ้งกือมังกรสีชมพูจัดในวงศ์กิ้งกือมังกร มีสีชมพูสดใสแบบช็อกกิงพิงก์ (shocking pink) มีปุ่มหนามคล้ายมังกร เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวประมาณ 7 ซม. มีจำนวนปล้องราว 20-40 ปล้อง และสามารถขับสารพิษประเภทไซยาไนด์ออกมาจากต่อมขับสารพิษข้างลำตัวเพื่อป้องกันตนเองจากศัตรูธรรมชาติ

กิ้งกือมังกรสีชมพู พบเป็นแห่งแรกในโลกที่ประเทศไทย ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Top 10 New Species of 2008: Number 3 – Shocking Pink Millipede". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-15. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12.
  2. โอ้โห! สุดยอดการค้นพบระดับโลก "กิ้งกือมังกรสีชมพู" อยู่ในไทย[ลิงก์เสีย]
  3. "กิ้งกือมังกรสีชมพูของไทย ติด 1 ใน 10 ของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-14. สืบค้นเมื่อ 2008-06-12.