กำเนิดประสาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กำเนิดประสาท (อังกฤษ: Neurogenesis) เป็นกระบวนการที่เซลล์ประสาท (หรือนิวรอน) เกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิด (neural stem cell) และ progenitor cell กลไกทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงจะเป็นตัวกำหนดชะตาของเซลล์ โดยทั้งนิวรอนแบบเร้าและแบบยับยั้งมากมายหลายประเภท ก็จะเกิดจากเซลล์ประสาทต้นกำเนิดที่ต่าง ๆ กัน[1]

กำเนิดประสาทจะเกิดในช่วงการเกิดเอ็มบริโอในสัตว์ทั้งหมด และเป็นกระบวนการสร้างนิวรอนทั้งหมดในสัตว์[2] โดยก่อนช่วงกำเนิดประสาท เซลล์ประสาทต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนมีจำนวน progenitor cell ที่พอเพียง ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทต้นกำเนิดหลักของสมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่เรียกว่า radial glial cell จะอยู่ในเขตเริ่มก่อตัวที่เรียกว่า ventricular zone ซึ่งอยู่ข้างโพรงสมองที่กำลังพัฒนาขึ้น[3][4] เซลล์ต้นกำเนิดจะแบ่งตัวจนกระทั่งกลายเป็นนิวรอนลูก (daughter neuron) ที่ไม่แบ่งตัวอีก และดังนั้น นิวรอนทั้งหมดจะอยู่ในสภาพ post-mitotic (คือจะไม่แบ่งตัวอีก) และนิวรอนในระบบประสาทกลางมนุษย์โดยมากจะดำรงอยู่ตลอดชีวิตของบุคคล

ปัจจัยระดับโมเลกุลและทางพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อกำเนิดประสาท ที่เด่น ๆ รวมวิถีการส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ที่เรียกว่า Notch pathway จึงมียีนเป็นจำนวนมากที่สัมพันธ์กับการควบคุมวิถีการส่งสัญญาณนี้[5][6]

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กำเนิดประสาทในผู้ใหญ่ (adult neurogenesis) พบว่าเกิดในเขตหลัก ๆ 3 เขตในสมอง คือ dentate gyrus ของฮิปโปแคมปัส, subventricular zone ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผนังด้านข้างตลอดโพรงสมองข้าง, และ olfactory bulb ซึ่งเป็นโครงสร้างประสาทเกี่ยวกับการได้กลิ่น[7] แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่าง กำเนิดประสาทเพื่อทดแทนเซลล์เก่าก็เกิดได้ด้วยเหมือนกัน[8] และโดยนัยเดียวกัน ยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างพบว่าเพิ่มอัตรากำเนิดประสาทในฮิปโปแคมปัส[9][10]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Gilbert, Scott (2013). Developmental Biology (Tenth ed.). Sinauer Associates Inc. ISBN 978-1605351926.
  2. Kandel, Eric R, บ.ก. (2006). Principles of neural science (5th ed.). Appleton and Lange: McGraw Hill. ISBN 978-0071390118.
  3. Rakic, P (October 2009). "Evolution of the neocortex: a perspective from developmental biology". Nature reviews. Neuroscience. 10 (10): 724–35. doi:10.1038/nrn2719. PMC 2913577. PMID 19763105.
  4. Lui, JH; Hansen, DV; Kriegstein, AR (2011-07-08). "Development and evolution of the human neocortex". Cell. 146 (1): 18–36. doi:10.1016/j.cell.2011.06.030. PMC 3610574. PMID 21729779.
  5. Kageyama, R; Ohtsuka, T; Shimojo, H; Imayoshi, I (November 2008). "Dynamic Notch signaling in neural progenitor cells and a revised view of lateral inhibition". Nature Neuroscience. 11 (11): 1247–51. doi:10.1038/nn.2208. PMID 18956012.
  6. Rash, BG; Lim, HD; Breunig, JJ; Vaccarino, FM (2011-10-26). "FGF signaling expands embryonic cortical surface area by regulating Notch-dependent neurogenesis". The Journal of neuroscience : the official journal of the Society for Neuroscience. 31 (43): 15604–17. doi:10.1523/jneurosci.4439-11.2011. PMID 22031906.
  7. Ming, GL; Song, H (2011-05-26). "Adult neurogenesis in the mammalian brain: significant answers and significant questions". Neuron. 70 (4): 687–702. doi:10.1016/j.neuron.2011.05.001. PMC 3106107. PMID 21609825.
  8. Alunni, A; Bally-Cuif, L (2016-03-01). "A comparative view of regenerative neurogenesis in vertebrates". Development. 143 (5): 741–753. doi:10.1242/dev.122796.
  9. Hanson, Nicola D.; Owens, Michael J.; Nemeroff, Charles B. (2011-12-01). "Depression, Antidepressants, and Neurogenesis: A Critical Reappraisal". Neuropsychopharmacology (ภาษาอังกฤษ). 36 (13): 2589–2602. doi:10.1038/npp.2011.220. ISSN 0893-133X. PMC 3230505. PMID 21937982.
  10. Santarelli, Luca; Saxe, Michael; Gross, Cornelius; Surget, Alexandre; Battaglia, Fortunato; Dulawa, Stephanie; Weisstaub, Noelia; Lee, James; Duman, Ronald (2003-08-08). "Requirement of Hippocampal Neurogenesis for the Behavioral Effects of Antidepressants". Science (ภาษาอังกฤษ). 301 (5634): 805–809. doi:10.1126/science.1083328. ISSN 0036-8075. PMID 12907793.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]