กาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์
ปกเกมกาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์
ผู้พัฒนาเอสเอ็นเค
ผู้จัดจำหน่ายเอสเอ็นเค
เครื่องเล่นเกมตู้
ดรีมแคสต์
เพลย์สเตชัน 2
เอกซ์บอกซ์ไลฟ์อาร์เคด
วางจำหน่าย11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999
แนวเกมต่อสู้
รูปแบบเลือกเล่นได้สองคนพร้อมกัน
ระบบอาร์เคดนีโอจีโอ เอ็มวีเอส (ตลับ 688 เมกะบิต)

กาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ (ญี่ปุ่น: 餓狼, MARK OF THE WOLVES; อังกฤษ: Fatal Fury: Mark of the Wolves) เป็นเกมต่อสู้ที่จัดทำสำหรับระบบดรีมแคสต์ ใน ค.ศ. 1999 โดยบริษัทเอสเอ็นเค เพลย์มอร์ ซึ่งเคยเป็นเกมสำหรับระบบนีโอจีโอมาก่อน และถือเป็นเกมลำดับที่เก้าจากซีรีส์ตำนานกาโร ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเสียชีวิตของกีส โฮวาร์ด เป็นช่วงระยะเวลาสิบปี เกมนี้ยังเป็นที่รู้จักในด้านการสร้างสรรค์กราฟิกที่ดีที่สุดสำหรับเครื่องนีโอจีโอ ตลอดจนการวาดตัวละครที่ลงตัวและเทคนิคการเล่นที่แพรวพราวในช่วงนั้น

เนื้อเรื่องย่อ[แก้]

ภายหลังจากการเสียชีวิตของกีส โฮวาร์ด มาเป็นระยะเวลาสิบปี เมืองเซาท์ทาวน์จึงกลับมาสงบอีกครั้ง ในชื่อที่รู้จักใหม่ว่าเซคันด์เซาท์ทาวน์ (ภายหลังจากที่ได้รับความเสียหายจากกีส) อย่างไรก็ตามยังมีชายที่ชื่อ คาอิน อาร์.ไฮน์ไลน์ ต้องการล้างแค้นให้กับกีสเพื่อเด็กคนหนึ่ง และมุ่งหมายที่จะเป็นผู้มีอิทธิพลของเมืองเซาท์ทาวน์แห่งนี้อย่างรุนแรงยิ่งกว่ากีส

จากความต้องการที่จะค้นหาบุตรชายของกีส ซึ่งมีชื่อว่าร็อค โฮวาร์ด โดยทราบว่าเป็นทายาทคนสำคัญของเขา คาอินจึงจัดการแข่งขันในรายการที่ใช้ชื่อว่า "คิงออฟไฟท์เตอร์ส: แมกซิมัมเมเฮม" ขึ้น โดยใช้ศึกการแข่งขันพร้อมกับข่าวที่เกี่ยวข้องกับมารดาของร็อคนี้เป็นเครื่องมือให้ร็อคได้เข้ามาสืบหาความจริงที่เกิดขึ้น

รูปแบบการเล่น[แก้]

การต่อสู้ในแนวสองระนาบที่เคยมีอยู่ในภาคเก่าได้ถูกตัดออก และได้เพิ่มเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า "Tactical Offense Position" (T.O.P.) ขึ้นมาซึ่งเป็นพื้นที่พิเศษที่ปรากฏอยู่บนไลฟ์เกจ (แถบพลังชีวิต) เมื่อเกจพลังเลื่อนมาอยู่ในแถบนี้ ตัวละครก็จะเข้ามาอยู่ในโหมด T.O.P. ซึ่งเป็นการยอมให้ตัวละครสามารถฟื้นพลังความเสียหายที่ได้รับจากการโจมตี เช่นเดียวกับเกมชุดก่อนหน้านี้ ผู้เล่นสามารถได้รับการจัดอันดับภายหลังจากเส็จสิ้นแต่ละยก หากผู้เล่นสามารถชนะทุกยกในโหมดอาเขตด้วยอันดับสุดท้ายที่ "AAA" ผู้เล่นจะสามารถเผชิญหน้ากับ คาอิน อาร์.ไฮน์ไลน์ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เล่นได้แม้ว่าสามารถกำจัดเขาลงได้แล้วก็ตาม หากไม่ต้องการที่จะพบ แกรนท์จะเป็นบอสสุดท้ายแทนซึ่งจะไม่สามารถเห็นฉากจบแบบพิเศษได้ นอกจากนี้ หากสามารถเล่นผ่านโหมดอาเขตก่อนที่จะเผชิญหน้ากับแกรนท์ ผู้เล่นจะพบกับบอสกลางซึ่งแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับตัวละครที่ผู้เล่นเลือกมา

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครหลัก[แก้]

  • ร็อค โฮวาร์ด - เป็นบุตรชายแท้ ๆ ของ กีส โฮวาร์ด และ เทอร์รี่ โบการ์ดได้รับเขามาเลี้ยงดู ซึ่งการต่อสู้ของร็อคมีลักษณะผสมระหว่างรูปแบบของเทอร์รี่กับกีสรวมกัน
  • เทอร์รี่ โบการ์ด - ตัวละครหลักจากเกมตำนานกาโร่
  • เควิน ไรอัน - นายตำรวจแห่งเมืองเซคันท์เซาท์ ผู้ซึ่งเป็นสหายของเทอร์รี่และร็อค
  • โบนนี เจเนท - โจรสลัดสาวซึ่งดูเหมือนว่าเธอกำลังตามหาสมบัติที่ซุกซ่อนอยู่ในเมืองเซคันท์เซาท์
  • คิม ดอง ฮวน - ผู้สืบทอดวิชาเทควันโด้จากบิดาของเขานามว่า คิม คัพฟาน โดยรูปแบบการต่อสู้ได้ผสานพลังแห่งแสงสว่าง และมีน้องชายชื่อคิม แจ ฮุน
  • คิม แจ ฮุน - ผู้สืบทอดวิชาเทควันโด้จากบิดาของเขานามว่า คิม คัพฟาน โดยรูปแบบการต่อสู้ได้ผสานพลังแห่งเปลวเพลิง และมีพี่ชายชื่อคิม ดอง ฮวน
  • คาโต - นักสู้ผู้เสาะแสวงหาคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่งกว่าตน และเป็นพี่ชายของโฮตารุ ฟุบาตะ
  • โฮตารุ ฟุบาตะ - น้องสาวของกาโต้ เธอออกเดินทางท่องยุทธภพเพื่อตามหาพี่ชาย และมีสัตว์เลี้ยงเป็นตัวเซเบิลซึ่งมีชื่อว่าอิโตคัตสึ
  • โฮคุโตะ มารุ - ผู้ได้รับการฝึกฝนวิชานินจามาจากแอนดี้ โบการ์ด ทั้งยังเป็นนักสู้ที่มีความคล่องแคล่วว่องไวและเจ้าเล่ห์
  • มาร์โก โรดริเกซ หรือในชื่อเวอร์ชันอเมริกัน คัชนูด บัตต์ - เป็นนักคาราเต้ชาวบราซิลผู้มีท่าไม้ตายที่คล้ายคลึงกับ เรียว ซากาซากิ ซึ่งเป็นตัวละครเอกจากเกมอาร์ทออฟไฟท์ติ้ง
  • กริฟฟอนมาสค์ หรือในชื่อเวอร์ชันอเมริกัน ทีซอค - นักมวยปล้ำอาชีพแห่งเมืองเซคันท์เซาท์ผู้เป็นวีรบุรุษในสายตาของเด็กๆ
  • ฟรีแมน - นักสู้ลึกลับชาวอังกฤษที่ไม่มีใครทราบชื่อจริงของเขา ผู้ซึ่งเคยสังหารเพื่อนของเควิน ไรอัน แต่เขาเองก็เคยพ่ายแพ้ต่อคิม คัพฟาน ทั้งนี้ ท่าไม้ตายของฟรีแมนล้วนได้แรงดลบันดาลใจมาจากวงดนตรีเฮฟวีเมทัล อย่างเช่น ไนท์แมร์, มอร์บิด แองเจิล, โอเวอร์คิล และวิชัน ออฟดิสออร์เดอร์

ตัวละครบอส[แก้]

  • แกรนท์ - ชื่อจริงของเขาคือ อาเบล คาเมรอน ผู้ใช้วิชาศาสตร์คาราเต้สายอังโคคุด้านมืด เขาเป็นทั้งเพื่อนสนิทและเป็นบอดี้การ์ดของคาอิน อาร์.ไฮน์ไลน์
  • คาอิน อาร์.ไฮน์ไลน์ - ผู้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันศึก "คิงออฟไฟท์เตอร์ส: แมกซิมัมเมเฮม" และเป็นน้องชายของแมรี่ โฮเวิร์ด (ภรรยาของกีส โฮเวิร์ด และเป็นมารดาของร็อค โฮวาร์ด) คาอินจึงมีศักดิเป็นน้าของร็อค

การจัดจำหน่าย[แก้]

กาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ได้จัดให้บริการครั้งแรกในรูปของเกมตู้วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999[1] และได้จัดจำหน่ายในระบบนีโอจีโอวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 และในระบบดรีมแคสต์วันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2001[2] ในพอร์ตดรีมแคสต์ยังได้รับการติดฉลาก "SNK Best." เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 ด้วยเช่นกัน ส่วนเวอร์ชันดรีมแคสต์ชุดแรกที่จำหน่ายเฉพาะภูมิภาคอเมริกาเหนือจัดจำหน่ายวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 โดยให้ชื่อใหม่เป็น Fatal Fury: Mark of the Wolves[3] นอกจากนี้ยังได้จัดจำหน่ายเกมสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 2 ในญี่ปุ่นวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2005 แต่ไม่ได้มีการจัดจำหน่ายเกมสำหรับระบบนี้ในอเมริกาเหนือแต่อย่างใด โดยเกมที่จัดจำหน่ายในญี่ปุ่นสำหรับระบบเพลย์สเตชัน 2 ให้ชื่อว่า "นีโอจีโอออนไลน์ คอลเลคชั่น" กับ "ลิมิเต็ด อิดิชั่น" ในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 2005 และในวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ก็ได้จัดจำหน่ายเกมนี้อีกครั้งในรูปของ "SNK เบสท์คอลเลคชั่น"[4] ทางไมโครซอฟท์และ SNK Playmore ได้ประกาศในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2009 ว่าจะมีการจัดทำลงสู่ระบบเอกซ์บอกซ์ไลฟ์[5] และได้ปรากฏเวอร์ชันนี้สู่สายตาสาธารณชนวันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2009[6]

การวางจำหน่าย[แก้]

กาโร: มาร์กออฟเดอะวูฟส์ ได้รับการเปิดตัวสำหรับเกมตู้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999 [7] และจัดลงสู่ระบบนีโอจีโอในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 และลงสู่ระบบดรีมแคสต์ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2001 [8] ส่วนการเปิดตัวในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 เป็นการจัดจำหน่ายภายใต้ป้ายชื่อของ "SNK Best" สำหรับดรีมแคสต์เวอร์ชันออริจินอลเป็นรุ่นที่จัดจำหน่ายในอเมริกาเหนือในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2001 เท่านั้น โดยในรุ่นดังกล่าวได้ทำการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ฟาทัลฟูรี: มาร์คออฟเดอะวูล์ฟ[9]

ภาคต่อ[แก้]

ในงานเดอะคิงออฟไฟท์เตอร์ 2005 ปาร์ตี้ ทางฟาลคูนซึ่งเป็นผู้วาดภาพประกอบได้กล่าวว่าภาคต่อของเกมนี้ได้เสร็จสมบูรณ์ไปแล้วเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์สำหรับระบบนีโอจีโอโดยทีมงานเอสเอ็นเค ฟาลคูนยังยืนยันอีกด้วยว่าหนึ่งในตัวละครใหม่ที่จะปรากฏตัวนี้ จะเป็นลูกศิษย์รายหนึ่งของโจ ฮิงาชิ ซึ่งเคยเป็นตัวละครที่มีบทบาทในทุกภาคของซีรีส์นี้[10] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 พวกเขายังรายงานต่อว่าพวกเขายังคงสร้างภาคต่อ และกล่าวอีกด้วยว่าจะใช้กราฟิกความละเอียดสูงแทนที่ระดับคุณภาพความละเอียดที่เห็นในเกมภาคแรก[11] ในช่วงการสัมภาษณ์เดือนมีนาคม ค.ศ. 2008 ทางทีมพัฒนาของสหรัฐ ได้ให้ความเห็นว่า ไม่มีผู้คนต้องการเกมนี้อย่างเป็นรูปธรรมรวมถึงแผนภาคต่อที่มีการใช้เทคโนโลยีใหม่แต่อย่างใด[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. "餓狼 MARK OF THE WOLVES" (ภาษาญี่ปุ่น). SNK Playmore. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  2. "Garou Mark of the Wolves (NG)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  3. "Fatal Fury: Mark of the Wolves (DC)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.[ลิงก์เสีย]
  4. "Garou: Mark of the Wolves (PS2)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.[ลิงก์เสีย]
  5. "Microsoft Japan Media Conference Liveblog Report". 1UP.com. 20 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  6. "報道関係者各位" (ภาษาญี่ปุ่น). SNK Playmore. 2009-06-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-23. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  7. "餓狼 MARK OF THE WOLVES" (ภาษาญี่ปุ่น). SNK Playmore. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  8. "Garou Mark of the Wolves (NG)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.
  9. "Fatal Fury: Mark of the Wolves (DC)". GameSpot. สืบค้นเมื่อ 2009-04-21.[ลิงก์เสีย]
  10. "2005 KOF-party". SNK Playmore. สืบค้นเมื่อ 2009-01-24.
  11. "SNK Talking About the Future". psxtreme.com. 2006-07-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-09. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.
  12. "Interviewed at the SNK Offices in Wall, New Jersey on March 7th, 2008". snk vs. capcom. 2008-03-07. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-22. สืบค้นเมื่อ 2009-03-12.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]