การเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงการเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์
การเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์ซึ่งเกิดจากรูรับแสงวงกลม

การเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์ (Fraunhofer diffraction) เป็นรูปแบบ การเลี้ยวเบนที่เกิดขึ้นในระยะห่างที่เพียงพอจากวัตถุ (เช่น รูรับแสง) ที่ทำให้ลำแสงเลี้ยวเบน ตั้งชื่อตาม โยเซ็ฟ ฟ็อน เฟราน์โฮเฟอร์

ในขณะเดียวกัน ในกรณีที่จุดสังเกตอยู่ในระยะที่ใกล้จะเรียกว่าการเลี้ยวเบนแฟรแนล

การคำนวณ[แก้]

พิจารณาการแจกแจงแอมพลิจูด u (x′, y′) บนหน้าจอที่อยู่ห่างออกไปเป็นระยะทาง R เมื่อคลื่นระนาบของแสงเอกรงค์ที่มีเลขคลื่น k ผ่านรูรับแสงที่แสดงโดยฟังก์ชัน f (x, y) การพิจารณาให้แสงตกกระทบเป็นคลื่นระนาบแบบนี้จะเหมือนกับการพิจารณาจุดกำเนิดแสงที่ระยะอนันต์

การเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์เป็นการประมาณเมื่อระยะทาง r จากจุดศูนย์กลางของรูรับแสงถึงจุด (x′, y′) บนหน้าจอมากเพียงพอ นั่นคือสำหรับจุดใด ๆ (x, y) บนรูรับแสงแล้ว

โดยที่ λ คือความยาวคลื่นของแสง ในที่นี้ระยะห่างจากจุด (x, y) ในรูรับแสงถึงจุด (x′, y′) บน 1/r จะเป็น

แล้วแอมพลิจูดของสนามไฟฟ้าบนหน้าจอจะได้เป็น

ได้เป็นสูตรสำหรับการเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์

จากสมการจะได้ว่า แอมพลิจูด u (x′, y′) ของคลื่นที่ก่อให้เกิดการเลี้ยวเบนเฟราน์โฮเฟอร์โดยวัตถุซึ่งแสดงด้วยฟังก์ชัน f (x, y) นั้นจะสอดคล้องกับการแปลงฟูรีเยของฟังก์ชัน f (x, y)

อ้างอิง[แก้]