การเลิกระดมสรรพกำลัง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเลิกระดมสรรพกำลัง[1] (อังกฤษ: demobilisation) บ้างเรียกว่า การเลิกระดมพล[2] คือขั้นตอนการจัดการให้กองทัพของชาติออกจากสภาวะพร้อมรบ ซึ่งอาจเป็นผลจากการได้รับชัยชนะในสงคราม หรือเพราะวิกฤตการณ์คลี่คลายแล้ว การดำรงและการใช้กำลังรบจึงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

สหประชาชาตินิยามการเลิกระดมสรรพกำลังไว้ว่า "เป็นขั้นตอนหลากหลายแง่มุม ซึ่งรับรองอย่างเป็นทางการถึงการเปลี่ยนสถานภาพของบุคคล จากการเป็นสมาชิกของกลุ่มกำลังทางทหารหรือกลุ่มที่คล้ายคลึงกัน สู่การเป็นพลเรือน"[3] บุคคลผู้อยู่ภายใต้การเลิกระดมสรรพกำลัง (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลทหาร) จะถูกทำให้พ้นจากการควบคุมบังคับบัญชาของหน่วยทหารและกองทัพ แล้วถูกปรับทัศนคติให้ละทิ้งวิธีคิดแบบทหารไปสู่วิธีคิดแบบพลเรือน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้บรรดาพลรบจะหมดความเป็นทหารเมื่อได้รับเอกสารปลด แต่สัมพันธ์ทางใจต่อโครงสร้างบัญชาการของกองทัพก็ยังคงอยู่ ดังนั้นเพื่อป้องกันมิให้พลรบกลับเข้าร่วมกองทัพ จึงต้องเตรียมการสำคัญอีกหลายอย่างเพื่อสร้างความมั่นใจว่าบรรดาพลรบที่ปลดจากกองทัพ จะสามารถผสมผลานเข้ากับสังคมพลเรือน ตลอดจนสามารถดำรงชีพในฐานะพลเรือน ซึ่งในขั้นตอนนี้ ภาคพลเรือนมีความสำคัญมากในการช่วยให้พลรบกลับคืนสู่ชีวิตแบบพลเรือน

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดในปี 1945 กองทัพสหรัฐเริ่มการเลิกระดมสรรพกำลัง ส่งผลให้ภายในเวลาเพียงสองปี กำลังพลของกองทัพสหรัฐลดลงจาก 12,209,238 นายเหลือเพียง 1,566,000 นาย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย. พจนานุกรมศัพท์ทหารอังกฤษ-ไทย ฉบับใช้ร่วมสามเหล่าทัพ หน้า 146
  2. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน 17 ส.ค. 2544
  3. "United Nations Operational Guide to the Integrated Disarmament, Demobilization and Reintegration Standards" (PDF). United Nations Peacekeeping. 2010. สืบค้นเมื่อ 2022-05-21.
  4. "Demobilization" http://www.history.army.mil/books/AMH/AMH-24.htm เก็บถาวร 2013-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed 3 Oct 2013