การเฝ้าระวัง (ยุทธวิธีทางทหาร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทหารเรนเจอร์กองทัพบกสหรัฐ ติดอาวุธด้วยปืนกลเบา M249 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบบเฝ้าระวังเป้าหมายระหว่างปฏิบัติภารกิจในอิรัก พ.ศ. 2549

การเฝ้าระวัง[1] หรือ การเฝ้าตรวจ[1][a] (อังกฤษ: overwatch) เป็นยุทธวิธีป้องกันกำลังรบในการสงครามสมัยใหม่ โดยหน่วยทหาร, ยานพาหนะทางทหาร หรืออากาศยานทางการทหารขนาดเล็กหน่วยหนึ่งสนับสนุนหน่วยที่เป็นมิตรอีกหน่วยหนึ่ง ในขณะที่หน่วยหลังกำลังดำเนินยุทธวิธีการยิงประกอบการเคลื่อนที่ คำนี้ถูกบัญญัติไว้ในหลักนิยมทางทหารของสหรัฐในคริสต์ทศวรรษ 1950[2]

หน่วยเฝ้าระวังมักจะเข้าประจำในตำแหน่งที่ได้เปรียบ (ปกติจะเป็นพื้นที่สูงหรือโครงสร้างที่สูงพร้อมกับการกำบังที่ดี) ซึ่งสามารถสังเกตภูมิประเทศที่อยู่ข้างหน้าได้ โดยเฉพาะตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของศัตรู ซึ่งจะทำให้สามารถทำหน้าที่เป็นระบบเตือนภัยจากการรุกรานของศัตรู และจัดให้มีการยิงคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพสำหรับหน่วยเดียวกันที่กำลังทำการรุกคืบ

รถถัง เอ็ม1 เอบรามส์ ของนาวิกโยธินสหรัฐ ที่ได้รับมอบหมายให้กับกองร้อยเดลต้า กองพันรถถังที่ 1 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยแบบเฝ้าระวังเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการไดนามิกพาร์ทเนอร์ชิป ในเมืองชูราเคย์ จังหวัดเฮลมันด์ อัฟกานิสถาน เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หมายเหตุ[แก้]

  1. ในพจนานุกรมทางทหาร คำว่า overwatch สามารถให้ความหมายทางทหารได้ทั้งการเฝ้าระวัง และการเฝ้าตรวจ ในขณะที่คำว่าการเฝ้าตรวจเป็นความหมายโดยตรงของคำว่า Surveillance

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 คู่มือศัพท์ และ คำย่อทางทหาร (PDF). มณฑลทหารบกที่ 16. 2547. pp. 3–135.[ลิงก์เสีย]
  2. William Safire (14 October 2007). "On Language - Overwatch". New York Times. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.