การอำพรางแบบวาบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การอำพรางแบบวาบ (อังกฤษ: flash suppression) เป็นปรากฏการณ์ของการรับรู้อารมณ์[1]ทางตา ที่รูปหนึ่ง ๆ แสดงให้ตาข้างหนึ่ง แต่ถูกอำพรางโดยการแสดงชั่วแวบหนึ่งของอีกรูปหนึ่ง ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง

เพื่อที่จะสังเกตการณ์การอำพรางแบบวาบ ก่อนอื่น แสดงรูปเล็ก ๆ รูปหนึ่งให้แก่ตาข้างหนึ่งเป็นเวลา 1 วินาที แล้วแสดงรูปเปล่าให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง ต่อจากนั้น แสดงรูปเล็ก ๆ ที่ต่างกันอย่างฉับพลัน คือ แสดงชั่วแวบ ให้แก่ตาอีกข้างหนึ่ง (ที่ตอนแรกได้รับการแสดงรูปเปล่า) ในเขตของจอตาที่สมนัยกันกับรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก เมื่อได้ทำอย่างนี้ การเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรกจะหายไป แม้ว่า รูปนั้นยังแสดงอยู่ และรูปใหม่เท่านั้นที่ได้รับการเห็น ฉะนั้น รูปใหม่ที่แสดงให้แก่ตาที่สองจะอำพรางการเห็นรูปที่แสดงให้แก่ตาแรก ตัวอย่างเช่น ถ้าแสดงรูปรถคันหนึ่งให้แก่ตาข้างซ้ายเป็นเวลา 1 วินาที ต่อจากนั้น แสดงใบหน้าหนึ่ง ๆ ให้แก่ตาข้างขวาโดยฉับพลัน คนดูจะเห็นรถที่แสดงให้แก่ตาข้างซ้ายก่อน หลังจากนั้น จึงเห็นใบหน้าที่แสดงให้แก่ตาข้างขวา ให้สังเกตว่า คนดูเห็นใบหน้านั้นแม้รูปรถจะยังดำรงอยู่ ถ้าลำดับของการแสดงกลับกัน ลำดับของการรับรู้อารมณ์ก็กลับกันเช่นกัน

ดูเหมือนว่า ปรากฏการณ์การอำพรางแบบวาบจะเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว แม๊คดูกอลพรรณนาถึงปรากฏการณ์นี้ในปี ค.ศ. 1901 (หน้า 598) และแลนซิงใช้ปรากฏการณ์นี้ในการทดลองด้วยอีอีจี (อังกฤษ: electroencephalogram) เมื่อปี ค.ศ. 1964 ต่อมาในปี ค.ศ. 1984 เจเรมี โวลฟ์ ก็ได้แสดงลักษณะเฉพาะของการอำพรางแบบวาบในงานวิจัยจิตวิทยาวัตถุกระตุ้น (อังกฤษ: psychophysics) อย่างเป็นระบบ[2]

การอำพรางแบบวาบเป็นตัวอย่างของเทคนิคการลวงตาที่ทำให้รูปที่ปกติเห็นได้ชัด กลายเป็นรูปที่มองไม่เห็น เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิจัยกลไกการปฏิบัติการของสมองทั้งที่มีการรับรู้และไม่มีการรับรู้ ต่อสิ่งกระตุ้นทางตา[3] เทคนิคการลวงตาที่เกี่ยวข้องกันรวมทั้ง

มูลเหตุทางสมองที่ทำให้เกิดการอำพรางแบบวาบได้รับการวิจัยโดยใช้ไมโครอีเล็คโทรดบันทึกสัญญาณในสมองส่วนสายตาของลิงมาคาก[4] และในสมองกลีบขมับส่วนกลางของมนุษย์[5]

หมายเหตุ[แก้]

  1. อารมณ์ ในที่นี้หมายถึง "สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น เสียงเป็นอารมณ์ของหู" ดู วิกิพจนานุกรม
  2. โวลฟ์, ค.ศ. 1984
  3. คอชฮ์, ค.ศ. 2004
  4. โลโกเธทิส, ค.ศ. 1994
  5. โวลฟ์ คอชฮ์ และเพื่อน, ค.ศ. 2002

อ้างอิง[แก้]

ทั่วไป[แก้]

  • Koch, C. (2004) The Quest for Consciousness: A Neurobiological Approach, Roberts, Englewood, Colorado
  • Kim, C.Y., and Blake, R. (2005) Psychophysical magic: rendering the visible 'invisible'. Trends Cogn Sci 9, 381-388
  • Lin, Z., He, S., Seeing the invisible: The scope and limits of unconscious processing in binocular rivalry, Progress in Neurobiology (2007), [ลิงก์เสีย] doi:10.1016/j.pneurobio.2008.09.002.
  • Logothetis, N.K. (1998) Single units and conscious vision. Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci 353, 1801-1818

การอำพรางแบบวาบ[แก้]

  • J.M. Wolfe (1984) Reversing ocular dominance and suppression in a single flash. Vision Res 24, 471 478,
  • Sheinberg, D.L., and Logothetis, N.K. (1997) The role of temporal cortical areas in perceptual organization. Proc Natl Acad Sci U S A 94, 3408-3413
  • Kreiman, G., et al. (2002) Single-neuron correlates of subjective vision in the human medial temporal lobe. Proc Natl Acad Sci U S A 99, 8378-8383
  • Tsuchiya, N., et al. (2006) Depth of interocular suppression associated with continuous flash suppression, flash suppression, and binocular rivalry. J Vis 6, 1068-1078

การอำพรางแบบวาบแบบกว้าง ๆ[แก้]

  • Wilke, M., et al. (2003) Generalized flash suppression of salient visual targets. Neuron 39, 1043-1052
  • Wilke, M., et al. (2006) Local field potential reflects perceptual suppression in monkey visual cortex.. Proc Natl Acad Sci U S A 103, 17507-17512

กาอำพรางแบบวาบแต่ต่อเนื่อง[แก้]

  • Tsuchiya, N., and Koch, C. (2004) Continuous flash suppression. Vision Sciences Society, 4th annual meeting. Sarasota, FL.
  • Tsuchiya, N., and Koch, C. (2005) Continuous flash suppression reduces negative afterimages. Nat Neurosci 8, 1096-1101
  • Fang, F., and He, S. (2005) Cortical responses to invisible objects in the human dorsal and ventral pathways. Nat Neurosci 10, 1380-1385
  • Jiang, Y., et al. (2006) A gender- and sexual orientation-dependent spatial attentional effect of invisible images. Proc Natl Acad Sci U S A 103, 17048-17052
  • Jiang, Y., and He, S. (2006) Cortical Responses to Invisible Faces: Dissociating Subsystems for Facial-Information Processing. Curr Biol 16, 2023-2029
  • Kanai, R., et al. (2006) The scope and limits of top-down attention in unconscious visual processing. Curr Biol

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

http://www.scholarpedia.org/article/Flash_suppression บทความการอำพรางแบบวาบบนสารานุกรมเปิด (สคอลาร์พีเดีย)