การสังหารหมู่ที่จัลเลียนวลาบาฆ
การสังหารหมู่ที่อมฤตสระ พ.ศ. 2462 | |
---|---|
![]() เส้นทางไปยังทางเข้าของสวนจัลเลียนวลาบาฆ | |
ที่ตั้งของอมฤตสระในอินเดีย | |
สถานที่ | อมฤตสระ, ปัญจาบ, บริติชราช |
พิกัด | 31°37′13.87″N 74°52′49.55″E / 31.6205194°N 74.8804306°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 31°37′13.87″N 74°52′49.55″E / 31.6205194°N 74.8804306°E |
วันที่ | 13 เมษายน 1919 17:37 น. (IST) |
เป้าหมาย | กลุ่มผู้ประท้วง กับผู้แสวงบุญไวสาขีที่ จัลเลียนวลาบาฆ, อมฤตสระ |
ประเภท | การสังหารหมู่ |
อาวุธ | ปืนไรเฟิลรุ่นลี-เอ็นฟิลด์ |
ตาย | 379-1,000[1][2] |
เจ็บ | ~ 1,500[2] |
ผู้ก่อการ | มือปืนของ Gurkha Rifles, the 54th Sikhs and the 59th Sind Rifles, ทหารบริติชราช |
ผู้สมรู้ | 50 |

การสังหารหมู่ที่จัลเลียนวลาบาฆ หรือ การสังหารหมู่ที่อมฤตสระ พ.ศ. 2462 เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่สะเทือนขวัญ เป็นการสังหารหมู่ชาวอินเดียที่สวนสาธารณะจัลเลียนวลาบาฆ
สาเหตุ[แก้]
การสังหารหมู่ครั้งแรกเกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติโรว์แลตต์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2461 ให้อำนาจรัฐบาลจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าจะก่อจลาจลได้ โดยไม่ต้องสอบสวนหรือให้ศาลพิพากษา ทำให้ชาวอินเดียโดยทั่วไปไม่พอใจ มหาตมะ คานธีได้นำหลักสัตยาเคราะห์มาใช้ในการต่อต้านพระราชบัญญัตินี้ ด้วยการนัดหยุดงานทั่วประเทศ อดอาหารและสวดมนต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2461 ชาวอินเดียเข้าร่วมกับคานธีเป็นจำนวนมาก แต่ในวันแรก มีชาวอินเดียบางส่วนยังไม่เข้าใจการต่อสู้แบบสัตยาเคราะห์ จึงเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหารในเดลี มีผู้เสียชีวิต 8 คน
การสังหารหมู่[แก้]
เหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นที่เมืองอมฤตสระ คิชลู และสัตยปาล ผู้นำชาตินิยมแห่งมณฑลปัญจาบได้เรียกร้องให้ประชาชนในลาฮอร์ออกมา มหาตมะ คานธีได้เตรียมเดินทางมาเพื่อปราศรัยกับมวลชนที่นี่ แต่ถูกจับกุมที่สถานีชายแดนรัฐปัญจาบและส่งตัวกลับไปบอมเบย์ ต่อมา วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2462 คิชลูและสัตยปาลก็ถูกจับกุม เมื่อประชาชนมาเดินขบวนเรียกร้องให้ปล่อยตัวคนทั้งสอง ก็ถูกทหารอังกฤษยิงจนบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมาก ชาวเมืองที่โกรธแค้นจึงไปรวมตัวที่เมืองอมฤตสระ เผาทำลายธนาคารและสังหารชาวอังกฤษหลายคน นายพล อาร์ อี เอช ไดเออร์ ได้สั่งให้นำทหาร 1,000 คนเข้าไปควบคุมสถานการณ์ให้กลับสู่สภาวะปกติ
ในวันที่ 13 เมษายน ไดเออร์ได้นำทหาร 50 คนพร้อมอาวุธเข้าไปในสวนสาธารณะจัลเลียนวลาบาฆ และยิงกราดเข้าไปในฝูงชนจำนวน 10,000 คน โดยไม่ประกาศเตือนล่วงหน้า ทำให้มีผู้เสียชีวิต 400 คน บาดเจ็บ 1,200 คน การกระทำของไดเออร์ได้รับการรับรองจากอังกฤษ แม้จะมีชาวอินเดียร้องเรียนเป็นจำนวนมาก แต่เขาก็เพียงได้รับคำสั่งให้พ้นจากหน้าที่ในแคว้นปัญจาบด้วยข้อหาทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ เมื่อเดินทางกลับอังกฤษ เขาก็ได้รับการต้อนรับจากชาวอังกฤษเยี่ยงวีรบุรุษ ซึ่งผลที่ตามมา ทำให้ชาวอินเดียสายกลางรวมทั้งมหาตมะ คานธีเกิดความรู้สึกชาตินิยม ต่อต้านอังกฤษเพิ่มขึ้น
ดูเพิ่ม[แก้]
- ปฏิบัติการดาวน้ำเงิน - เหตุการณ์สังหารหมู่อีกครั้งที่เกิดขึ้นที่เมืองอมฤตสระ เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2527
อ้างอิง[แก้]
- ปิยนาถ บุนนาค. "เหตุการณ์ที่อมฤตสาร์." ใน สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่: เอเชีย เล่ม 1 อักษร A–B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน. 2539, หน้า 135–137.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- An NPR interview with Bapu Shingara Singh – the last known surviving witness.
- Churchill's speech after the incident.
- Amritsar Massacre at Jallianwala Bagh Listen to the Shaheed song of the Amritsar Massacre at Jallian Wala Bagh.
- A description of the Jallianwala Bagh Massacre
- Amritsar Massacre as a turning point in the British Raj – Description and analysis of the Jallianwala Bagh Massacre.