การสนทนากลุ่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การสนทนากลุ่ม (focus group) เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสอบถามบุคคลในกลุ่มเพื่อให้ได้มาถึงความคิดเห็น ความเชื่อ หรือทัศนคติ ต่อสินค้า บริการ หรือแนวคิด โดยคำถามจะถูกถามในรูปแบบของการปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมมีโอกาสพูดคุยและแสดงความเห็นได้อย่างอิสระระหว่างผู้ร่วมวิจัยหรือผู้เข้าร่วมด้วยกันเอง โดยในขณะเดียวกันผู้ทำวิจัยทำการจดบันทึกการสนทนาที่เกิดขึ้น

การสนทนากลุ่มจำเป็นต้องคัดเลือกลุ่มอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการ

จุดเด่นของการสนทนากลุ่ม[แก้]

  • การสนทนากลุ่มสามารถนำข้อมูลเชิงลึกให้แก่ผู้ร่วมวิจัยได้ ส่วนใหญ่เกิดจากการนำเสนอแนวคิดของผู้หนึ่งไปกระตุ้นแนวคิด ความจำ หรือประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในกลุ่ม ทำให้มีแนวคิดที่หลากหลายเกิดขึ้นระหว่างการสนทนากลุ่ม โดยจะเกิดขึ้นในลักษณะลูกโซ่ได้[1]
  • การสนทนากลุ่ม ช่วยเปิดโอกาสให้มีการพูดถึงในเรื่องที่หลายคนอาจไม่อยากพูดถึง เช่น การละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ที่ผู้เข้าร่วมรู้สึกไม่ควรพูดถึง[2]

การสนทนากลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ[แก้]

การสนทนากลุ่มมีรูปแบบที่หลากหลายโดยมีแนวทางดำเนินการที่สามารถให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้โดย[3]

  • มีผู้ดำเนินรายการที่ดี ที่สามารถเชิญชวนให้ทุกคนมีส่วนร่วม และกล้าที่จะเสนอความเห็นและยังคงรักษาเป้าหมายของการวิจัยนั้นได้
  • มีการวางคำถามที่เหมาะสมให้ตรงประเด็นหัวข้องานวิจัย โดยคำถามประกอบด้วย คำถามเริ่มต้นที่ช่วยให้ผู้เข้าร่วมรู้สึกคุ้นเคยกับหัวข้อ คำถามวิจัยช่วยให้ผู้วิจัยได้คำตอบตามที่ต้องการ และคำถามสิ้นสุดที่ช่วยให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรผิดพลาดหรือหลุดรอด
  • จำนวนคำถามไม่ควรมีมากเกินไป และระยะเวลาในการทำการสนทนากลุ่มไม่ควรเกิน 90 นาที เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถมีสมาธิกับคำถามได้[3]

ข้อจำกัดและปัญหาที่เกิดขึ้น[แก้]

ปัญหาของการสนทนากลุ่มประกอบด้วยสองส่วนหลักคือการอคติของกลุ่ม[4] และการโอนเอียงของผู้ดำเนินรายการที่มีการชี้นำตามเป้าของการวิจัย ซึ่งแตกต่างจากการเก็บข้อมูลการทำวิจัยเชิงคุณภาพประเภทอื่นที่ผู้มีส่วนร่วมไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน

ปัญหาที่มักจะเกิดในระหว่างการสนทนาคือการไม่มีส่วนร่วม หรือไม่กล้ามีส่วนร่วมที่เกิดจากการจัดกลุ่มสนทนาไม่ดี อาทิ จับกลุ่มหัวหน้ากับลูกน้องมาร่วมแสดงความเห็นกันและกัน

ตัวอย่างการสนทนากลุ่มที่ล้มเหลวที่เห็นได้ชัดคือ New Coke ในปี พ.ศ. 2523 ที่เป็นการชี้นำคำถามเพื่อให้ได้มาถึงผลลัพธ์ที่ต้องการจากเหตุผลด้านใดด้านหนึ่ง[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lindlof, T. R., & Taylor, B. C. (2002). Qualitative Communication Research Methods, 2nd Edition. Thousand Oaks, CA: Sage.
  2. Tracy, S. J., Lutgen-Sandvik, P., & Alberts, J. K. (2006). Nightmares, demons and slaves: Exploring the painful metaphors of workplace bullying. Management Communication Quarterly, 20, 148-185.
  3. 3.0 3.1 "Guidelines for Conducting a Focus Group" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-01.
  4. Nachmais, Chava Frankfort; Nachmais, David. 2008. Research methods in the Social Sciences: Seventh Edition New York, NY: Worth Publishers
  5. Rushkoff, Douglas, Get back in the box : innovation from the inside out, New York : Collins, 2005