การวางแผนสงครามของฝรั่งเศส ค.ศ. 1920-1940

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนไดล์-เบรดา/แผนเบรดา
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง
การทัพแนวรบด้านตะวันตก, ค.ศ. 1940
ขอบเขตปฏิบัติการยุทธศาตร์
ตำแหน่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของเนเธอร์แลนด์, ภาคกลางของเบลเยียม, ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส
50°51′00″N 04°21′00″E / 50.85000°N 4.35000°E / 50.85000; 4.35000
วางแผนเมื่อค.ศ. 1940
โดยมอริส กาเมอแล็ง
ผู้บังคับบัญชาอาลฟงส์ ฌอร์ฌ
วัตถุประสงค์การป้องกันเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส
วันที่10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 (1940-05-10)
ผู้ลงมือกองทัพกลุ่มฝรั่งเศสที่ 1
กองกำลังรบนอกประเทศบริติช
กองทัพบกเบลเยียม
ผลลัพธ์พ่ายแพ้

แผนไดล์ หรือ แผนดี เป็นแผนการของผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพบกฝรั่งเศส พลเอกทหารบก(Général d'armée) มอริส กาเมอแล็ง เพื่อเอาชนะเยอรมันที่กำลังพยายามจะรุกรานฝรั่งเศสผ่านทางเบลเยียม แม่น้ำไดล์(ไดเลอ) มีความยาวประมาณ 86 กม.(53 ไมล์) จาก Houtain-le-Val ผ่านทางเฟลมิชบราบันต์และแอนต์เวิร์ป กาเมอแล็งตั้งใจที่จะให้กองกำลังทหารฝรั่งเศส อังกฤษ และเบลเยียมทำการหยุดยั้งกองกำลังเยอรมันผู้รุกรานตามแนวแม่น้ำ ข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศส-เบลเยียมใน ค.ศ. 1920 ได้พยายามประสานงานร่วมกันทางด้านการสื่อสารและเสริมกำลังป้องกันของทั้งสองกองทัพ ภายหลังจากเยอรมันส่งทหารกลับเข้าไรน์ลันท์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1936 รัฐบาลเบลเยียมได้ยกเลิกข้อตกลงดังกล่าวและใช้นโยบายวางตัวเป็นกลางอย่างเข้มงวด ในขณะที่กองทัพบกเยอรมัน(Heer) อยู่บนชายแดนเยอรมัน-เบลเยียม

ฝรั่งเศสเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับกองทัพเบลเยียมได้นำไปสู่ความไม่มั่นใจว่ากองกำลังทหารฝรั่งเศสจะเคลื่อนที่ได้เร็วพอในการเข้าสู่เบลเยียมหรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการสู้รบปะทะและต่อสู้ในการรบป้องกันจากตำแหน่งที่ถูกเตรียมไว้ แผนการแอ็สโก/แผนอี และแผนไดล์/แผนดีได้ถูกออกแบบมาสำหรับการป้องกันล่วงหน้าในเบลเยียม พร้อมกับแปรขบวนเท่าที่จะเป็นไปได้ที่ชายแดนฝรั่งเศส-เบลเยียมถึงเดิงแกร์ก  กาเมอแล็งได้เลือกแผนแอ็สโก จากนั้นถูกแทนที่ด้วยแผนดี เพื่อรุกคืบไปยังแนวของแม่น้ำไดล์ ซึ่งสั้นกว่า 43-50 ไมล์(70-80 กิโลเมตร) เจ้าหน้าที่นายทหารบางส่วนที่ Grand Quartier Général (GQG-กองบัญชาการนายพลแห่งกองทัพบกฝรั่งเศส) ตั้งข้อสงสัยว่าฝรั่งเศสน่าจะไปถึงก่อนพวกเยอรมัน

ฝ่ายเยอรมันรู้สึกไม่ชอบใจกับฟัลเก็ลพ์(กรณีเหลือง) แผนการในการทัพต่อสู้รบกับฝรั่งเศส เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ได้ถูกเพิ่มเติมในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1939-1940 เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 1940 เครื่องบินของเยอรมันได้ลงจอดที่มาสเมเคอเลินในเบลเยียม โดยมีแผนการสำหรับการรุกรานถูกบรรจุมาด้วย อุบัติการณ์เมเคอเลินเป็นแรงกระตุ้นทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับฟัลเก็ลพ์ และนำไปสู่แผนมันชไตน์ เป็นการเดิมพันที่แทบจะบ้าบิ่นและกล้าหาญสำหรับการโจมตีทางใต้ที่ไกลออกไปผ่านทางป่าอาร์แดน การโจมตีต่อกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำกลายเป็นตัวล่อเพื่อล่อลวงให้กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรไปทางเหนือ และง่ายกว่าที่จะโอบล้อมพวกเขาจากทางใต้

ในช่วงฤดูหนาว ค.ศ. 1939-1940 กาเมอแล็งได้เปลี่ยนแผนดีมาเป็นแผนเบรดา คือการเคลื่อนทัพเข้าสู่เนเธอร์แลนด์ไปยังเมืองเบรดาในจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ กองทัพที่เจ็ดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทรงพลังที่สุดของกองกำลังสำรองทางยุทธศาสตร์ฝรั่งเศส ถูกรวมเข้ากับกลุ่มกองทัพที่ 1 ซึ่งใกล้ชิดกับชายฝั่ง เพื่อเร่งรุดไปยังปากแม่น้ำสเกลต์ เข้าสมทบกับกองทัพดัตช์ที่ติลบืร์คหรือเบรดา บางส่วนของกองพลที่ดีที่สุดของกองทัพบกฝรั่งเศสได้ถูกโยกย้ายไปทางเหนือ เมื่อหน่วยอีลิสต์ของกองทัพบกเยอรมันได้ถูกย้ายไปยังทางใต้สำหรับฟัลเก็ลพ์เวอร์ชันใหม่ ซึ่งเป็นการรุกรานผ่านทางป่าอาร์แดน