นาฏศิลป์ภาคใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก การละเล่นภาคใต้)

รำมโนราห์[แก้]

รำมโนราห์เป็นการแสดงกึ่งเล่าเรื่อง โดยมีทั้งหมด 6 ตอน เรื่องที่เล่าคือเรื่องของนางมโนราห์ และพระสุธน นางมโนราห์ผู้ซึ่งมีลักษณะเป็นกึ่งคนกึ่งนก ได้ถูกจับมาให้เป็นภรรยาของพระสุธนแต่ด้วยเหตุที่นางมโนราห์เป็นที่เกลียดชังของปุโรหิตย์ ดังนั้น ปุโรหิตจึงออกอุบายกลั่นแกล้งนางมโนราห์โดยการบูชายัญนางมโนราห์ แต่ด้วยความฉลาด นางมโนราห์จึงของปีกและหางเพื่อร่ายรำตามแบบฉบับกินรี ท่ารำมโนราห์บูชายัญจึงมีท่วงท่าและลีลาของนกประกอบอยู่ด้วยความเป็นมา โนรา หรือ มโนห์รา (เขียนเป็น มโนรา หรือ มโนราห์ ก็ได้) เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบ ทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร้อง การรำ บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วน แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม

โนราเป็นศิลปะพื้นเมืองภาคใต้เรียกว่า โนรา แต่ คำว่า โนราห์ หรือ มโนห์รา นั้น เป็นคำที่เกิด ขึ้นมาเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยการนำเอา เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ มาแสดงเป็นละครชาตรี จึงมีคำเรียกว่า มโนราห์ ส่วนกำเนิดของโนรานั้น สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลจากการ ร่ายรำของอินเดียโบราณก่อนสมัยศรีวิชัย ที่มา จากพ่อค้าชาวอินเดีย สังเกตได้จากเครื่องดนตรีที่ เรียกว่า เบ็ญจสังคีตซึ่งประกอบโหม่ง ฉิ่ง ทับ กลอง ปี่ใน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีโนรา และท่ารำของโนรา อีกหลายท่าที่ละม้ายคล้ายคลึงกับการร่ายรำของ ทางอินเดีย และเริ่มมีโนราเป็นกิจลักษณะขึ้นเมื่อ ประมาณปี พุทธศักราชที่ ๑๘๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสุโขทัยตอนต้น เชื่อกันว่าโนราเกิดขึ้นครั้งแรกที่ หัวเมืองพัทลุง ปัจจุบันคือ ตำบล บางแก้ว จังหวัด พัทลุง แล้ว แพร่ขยายไปยังหัวเมืองอื่นๆของภาคใต้ จน ไปถึงภาคกลาง และกลายเป็นละครชาตรี และจังหวะ ตะลุง ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดนี้ โนรา เกิดขึ้นในราชสำนักของพัทลุงซึ่งมีตำนานเล่า กันมาว่า เจ้าเมืองพัทลุง มีชื่อว่า พระยา สายฟ้าฟาด มีลูกสาวที่ชื่อ ศรีมาลา ซึ่ง มีความสามารถในการร่ายรำมาก ได้เกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน เชื่อกันว่า ตั้งท้องกับเทวดา พระยาสายฟ้าฟาดเห็นดังนั้นก็โกรธมาก สั่งให้นำนางศรีมาลาไป ลอยแพในทะเล ( คือ ทะเลสาบสงขลา) และ แพได้ไปติดที่เกาะใหญ่ นางศรีมาลาก็ ได้ให้กำเนิดลูกชาย โดยตั้งชื่อว่า เทพสิงหล ซึ่งมีนัยความว่า ลูกของเทวดา นางศรีมาลา ได้ฝึกให้เทพสิงหลฝึกร่ายรำ ซึ่งเทพสิงหล ก็สามารถร่ายรำได้สวยงามมาก และร่ายรำ มีชื่อเสียงมากที่เกาะใหญ่ จนรู้ไปถึง หูพระยาสายฟ้าฟาด ซึ่งพระยาสายฟ้าฟาดก็ยังไม่รู้ว่าหลานตัวเอง ก็ได้ เชิญไปรำในราชสำนัก ฝ่ายนางศรีมาลานั้น ก็น้อยเนื้อต่ำใจเมื่อครั้งที่ถูกลอยแพ ก็บอกกับคนที่มาติดต่อว่า โนราคณะ นี้จะไปรำได้ แต่ต้องปูผ้าขาวตั้ง แต่ริมฝั่งที่ลงจากเรือจนไปถึงตำหนัก พระยาสายฟ้าฟาดก็ตอบตกลง อุปกรณ์และวิธีเล่น

การแสดงโนรา เป็นการละเล่นที่มีทั้งการร่ายรำ บทร้องประกอบดนตรี บทเจรจา และบางทีก็มีการแสดงเรื่องด้วย เครื่องดนตรีของโนราคล้ายกับเครื่องดนตรีของหนังตะลุง คือมี ทับ กลอง ปี่ โหม่ง ฉิ่ง และแตระ เครื่องดนตรีเหล่านี้จะใช้ประกอบจังหวะและเสียงร้องให้เข้ากันกับการรำ

การแสดงจะเริ่มด้วยการโหมโรงและกาดครู (ไหว้ครู)ก่อนตัวแสดงจะออกมาร่ายรำหน้าเวที มีการกล่าวบทหน้าม่านที่เรียกว่า "กำพรัดหน้าม่าน" โดยใช้ลีลากลอนหนังตะลุง ต่อจากนั้นตัวแสดงแต่ละตัวจะออกมาร่ายรำ เสร็จแล้วเข้าไปนั่งที่พนักซึ่งแต่เดิมทำด้วยไม้ไผ่ แต่ปัจจุบันใช้เก้าอี้แทน ว่า บทร่ายแตระ แล้วทำบท "สีโต ผันหน้า" โดยร้องบทและตีท่าตามบทนั้น ๆ หลังจากรำบทร่ายแตระเสร็จแล้ว ก็จะว่ากลอนสี่ กลอนหก กลอนแปด กล่าวกับผู้ชาย หรือว่าเรื่องอื่น ๆ โดยมีลูกคู่รับ แต่หากเป็นการแข่งโนราประชันโรง ก็จะมีวิธีการซับซ้อนกว่านี้

โอกาสที่เล่น[แก้]

โดยทั่วไปมักจะแสดงในงานเทศกาลนักขัตฤกษ์ งานมงคลทั่วไป หรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ บางโอกาสก็แสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรมเพื่อแก้บนหรือ "แก้เหฺมฺรย" ใน พิธีโรงครู ของครอบครัวที่มีเชื้อสายตายายโนรา

คุณค่า[แก้]

โนราเป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ ซึ่งมีมาแต่โบราณ และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย นิยมเล่นกันมากทั่วภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดพัทลุงนิยมเล่นโนราไม่แพ้หนังตะลุงบรมครูโนราที่ชาวภาคใต้และชาวพัทลุงยกย่อง และรู้จักเป็นอย่างดี คือ ขุนอุปถัมภ์นรากร (พุ่มเทวา) ก็เป็นชาวอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปัจจุบันแม้ว่าโนราไม่ได้เป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างในอดีต แต่โนราก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่กลุ่มชนพื้นบ้านได้ร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อสนองความต้องการของชีวิตและสังคม โนราจึงมีความผูกพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมาช้านาน ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านและความเป็นไปของสังคมไว้เกือบทุกแง่ทุกมุม เพราะนอกจากโนราจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นสื่อบันเทิงแล้ว ยังมีบทบาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับความเชื่อของชาวบ้านอีกด้วย ฉะนั้นวิถีชีวิตของชาวบ้านจึงมีความเกี่ยวข้องกับโนราอย่างแยกไม่ออก ที่น่าอัศจรรย์ คือ ท่ารำของโนราห์ มีส่วนใกล้เคียงกับ ท่ารำโมงครุ่ม ในพิธีพราหมณ์ ท่าฤๅษีดัดตนและท่าไหว้ครูรำมวยไทย จึงพออนุมานได้ว่าศิลปะพื้นบ้านแขนงนี้ได้มีการประสมประสานกันกับพิธีกรรม ความเชื่อ ของชนชาวสยามมาแต่โบราณ

รำซัดชาตรี[แก้]

รำซัดชาตรีเป็นการแสดงของทางภาคใต้ ซึ่งได้ปรับปรุงท่ารำมาจากโนราห์ชาตรีให้สวยงามยิ่งขึ้น โดยแต่งท่ารำให้มีผู้แสดงชายและหญิง ประกอบกับท่วงท่าที่ใช้รำมีความรวดเร็วและสอดคล้องกับทำนองดนตรีของทางภาคใต้


โนราที่ดังในภาคใต้คือ

เอกชัย ศรีวิชัย,วิเชียร ศรชัย,สร้อยเพชร ดาวรุ่ง,สมพงศ์น้อย ดาวรุ่ง,ฯลฯ