การระรานกลุ่มแอลจีบีที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บางรัฐในสหรัฐได้บังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมการระรานภายในโรงเรียน
  กฎหมายว่าด้วยการห้ามเลือกปฏิบัติต่อนักเรียนเนื่องจากรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
  กฎระเบียบของโรงเรียนหรือหลักจริยธรรมสำหรับครูที่กล่าวถึงการเลือกปฏิบัติและ/หรือการระรานนักเรียนเนื่องจากรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
  กฎหมายว่าด้วยการห้ามเลือกปฏิบัติต่อนักเรียนจากรสนิยมทางเพศเท่านั้น
  กฎระเบียบของโรงเรียนหรือหลักจริยธรรมสำหรับครูที่กล่าวถึงการเลือกปฏิบัติและ/หรือการรังแกนักเรียนเนื่องจากรสนิยมทางเพศเท่านั้น
  กฎหมายว่าด้วยการห้ามระรานนักเรียนจากรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
  กฎหมายว่าด้วยการห้ามไม่ให้โรงเรียนในท้องถิ่นมีนโยบายต่อต้านการระรานที่ระบุชั้นเรียนของนักเรียนที่ได้รับการคุ้มครอง
  กฎหมายว่าด้วยการห้ามการระรานกันในโรงเรียนแต่ไม่มีภาคการคุ้มครอง
  ไม่มีการบัญญัติกฎหมายทั้งรัฐว่าด้วยการห้ามการระรานกันในโรงเรียนโดยเฉพาะ

การระรานกลุ่มคนอย่างเกย์, เลสเบียน, รักร่วมสองเพศ, หรือกะเทย (แอลจีบีที), โดยเฉพาะในกลุ่มของเยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ เป็นการกระทำโดยเจตนาต่อเหยื่อโดยการกระทำเชิงลบต่อเนื่องโดยบุคคลคนหนึ่งต่อบุคคลอื่น เพื่อให้ส่งผลต่อความไม่สมดุลทางกายและจิตใจ[1]

เยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศมักรายงานพฤติกรรมการถูกระรานมากกว่าเยาวชนผู้ไม่มีความหลากหลายทางเพศ[2] จากการศึกษาหนึ่งพบว่า เด็กชายที่ถูกล้อเลียนว่าเป็นเกย์จะส่งผลกระทบต่อจิตใจและต้องทนทุกข์จากการถูกกลั่นแกล้งโดยมีผลกระทบเชิงลบมากกว่าเด็กชายที่ถูกล้อเลียนเรื่องอื่น[3] นักวิจัยบางคนแนะนำให้รวมกลุ่มเยาวชนที่ตั้งคำถามถึงเพศสภาพของตัวเองในการวิจัยการถูกระรานของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ เพราะว่าอาจส่งผลกระทบจากการอ่อนไหวในฐานะเป็นนักเรียนผู้มีความหลากหลายทางเพศ[4][5][6]

เยาวชนผู้มีความหลากหลายทางเพศมักรายงานการถูกระรานอย่างมากภายในโรงเรียน เหยื่อของการถูกระรานมักรู้สึกไม่ปลอดภัย รวมไปถึงซึมเศร้าและวิตกกังวล รวมถึงอัตราการอัตวินิตบาตกรรมและความพยายามกระทำอัตวินิตบาตกรรมที่เพิ่มมากขึ้น นักเรียนผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องพยายามแปลงตัวเป็นเพศตรงข้ามเพื่อหลีกหนีการถูกระราน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความเครียดและการแยกตัวจากกลุ่มที่แนวคิดเดียวกับตัว มีหลายองค์กรสนับสนุนการป้องกันการถูกระรานของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศและช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ บางเขตอำนาจศาลได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเหยื่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศจากการถูกระราน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Bullying Myths and Facts". US Dept of Education. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 25, 2010. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2, 2010.
  2. Berlan, ED; Corliss, HL; Field, AE; และคณะ (April 2010). "Sexual Orientation and Bullying Among Adolescents in the Growing Up Today Study". Journal of Adolescent Health. 46 (4): 366–71. doi:10.1016/j.jadohealth.2009.10.015. PMC 2844864. PMID 20307826.
  3. Swearer, SM; Turner, RT; Givens, JE (2008). ""You're so gay!": Do different forms of bullying matter for adolescent males?". School Psychology Review. 37 (2): 160–173. doi:10.1080/02796015.2008.12087891. S2CID 6456413.
  4. Swearer, S. M.; Turner, R. K.; Givens, J. E.; Pollack, W. S. (2008). "You're So Gay!": Do Different Forms of Bullying Matter for Adolescent Males?". School Psychology Review. 37 (2): 160–173. doi:10.1080/02796015.2008.12087891. S2CID 6456413.
  5. Russell, S. T.; Joyner, K. (2001). "Adolescent Sexual Orientation and Suicide Risk: Evidence From a National Study". American Journal of Public Health. 91 (8): 1276–1281. doi:10.2105/ajph.91.8.1276. PMC 1446760. PMID 11499118.
  6. Williams, T.; Connolly, J.; Pepler, D.; Craig, W. (2005). "Peer Victimization, Social Support, and Psychosocial Adjustment of Sexual Minority Adolescents" (PDF). Journal of Youth and Adolescence. 34 (5): 471–482. CiteSeerX 10.1.1.459.218. doi:10.1007/s10964-005-7264-x. S2CID 56253666. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ August 8, 2017. สืบค้นเมื่อ November 1, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

 บทความนี้รวมข้อความจากงานที่มีเนื้อหาเสรี (free content) ลิขสิทธิ์ภายใต้ CC-BY-SA IGO 3.0 คำชี้แจงสิทธิ์การใช้งาน/การอนุญาตในวิกิมีเดียคอมมอนส์ ข้อความนำมาจาก Out in the Open: Education sector responses to violence based on sexual orientation and gender identity/expression, 26, UNESCO, UNESCO. UNESCO.