ข้ามไปเนื้อหา

การยอมระงับความกังขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์ เป็นนักปรัชญาและนักเขียนผู้ที่มีอิทธิพลสำคัญในแวดวงวรรณกรรมอังกฤษ และเป็นผู้ที่บัญญัติวลีนี้ขึ้นมาพร้อมกับความหมายและวิธีใช้โดยละเอียด

การยอมระงับความกังขา[1] (อังกฤษ: suspension of disbelief) เป็นการหลีกเลี่ยงความคิดเชิงวิพากษ์และความสมเหตุสมผลในการทำความเข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นจริงหรือเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง เช่น การเลือกที่จะเชื่อถือเหตุการณ์บางอย่างในจินตนิยายที่ขาดความสมเหตุสมผล เพื่อที่จะได้เข้าถึงและคล้อยตามไปกับกรรมวิธีการเล่าเรื่องของบทละครนั้น ๆ[2] จุดกำเนิดของแนวคิดนี้มีพื้นเพมาจากบทละครของชาวกรีกและชาวโรมัน กล่าวคือผู้ชมจะต้องมองข้ามความไม่สมเหตุสมผลของเนื้อหาในบันเทิงคดีเรื่องนั้น ๆ เพื่อที่จะได้เคลิบเคลิ้ม (catharsis) ไปกับประสบการณ์อันเป็นบทบาทและผลจากการกระทำของตัวละครนั้น ๆ เอง[3] ผู้ที่บัญญัติและเรียบเรียงวลีนี้ขึ้นมาคือ แซมมวล เทย์เลอร์ คอเลริดจ์ นักกวีและนักปรัชญาชาวอังกฤษ โดยได้ระบุคำนี้ไว้ในงานอัตชีวประวัติ (Biographia Literaria) ของเขาเมื่อ ค.ศ. 1817 ว่า "ความเต็มใจที่จะระงับความไม่เชื่อไว้ชั่วขณะหนึ่ง เป็นการแสดงให้เห็นถึงศรัทธาในความเป็นบทกวีอย่างสุดซึ้ง"[4]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสภา (แก้ไขเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 260.
  2. "suspend disbelief (phrase)". Oxford Dictionaries (Online ed.). Oxford University Press. 2018. OCLC 656668849. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  3. Safire, William (2007-10-07). "William Safire - On Language". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2019-10-28.
  4. "Suspension of disbelief". Oxford Reference. Oxford University Press. สืบค้นเมื่อ 30 October 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]