การพิชิตอียิปต์ของชาวมุสลิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การพิชิตอียิปต์ของมุสลิม
ส่วนหนึ่งของ สงครามสงครามอาหรับ-ไบแซนไทน์

โรงละครโรมันในเมืองอะเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
วันที่ค.ศ. 639 – ค.ศ. 646
สถานที่
ผล รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนได้รับชัยชนะ และอียิปต์รับวัฒนธรรมอาหรับและนับถือศาสนาอิสลาม
ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนได้ผนวกดินแดนอียิปต์, ไซรีไนกา และตริโปลิเตเนีย
คู่สงคราม
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

การพิชิตอียิปต์ของชาวมุสลิม ซึ่งนำโดยกองทัพของอัมร์ อิบน์ อัลอาศ[1] โดยเกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 639 ถึง ค.ศ. 646 และอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน[2] เป็นจุดสิ้นสุดระยะเวลาเจ็ดศตวรรษที่ยาวนานของการปกครองของจักรวรรดิโรมันเหนืออียิปต์ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนการปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์ภายในถูกสั่นคลอน เนื่องจากอียิปต์ถูกพิชิตและยึดครองเป็นเวลาหนึ่งทศวรรษโดยจักรวรรดิซาเซเนียน ในปี ค.ศ. 618 – ค.ศ. 629 ก่อนที่จักรพรรดิเฮราคลิอุสแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์จะทรงฟื้นตัวการปกครอง รัฐเคาะลีฟะฮ์จึงใช้ประโยชน์จากความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิไบแซนไทน์และเข้ายึดอียิปต์ได้หลังจากการพิชิตอียิปต์โดยจักรวรรดิเฮราคลิอุสสิบปี

ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 630 ชาวโรมันได้สูญเสียพื้นที่บริเวณเลวานไทน์และพันธมิตรชาวกัซซานิดในบริเวณอาระเบียให้กับรัฐเคาะลีฟะฮ์ไปแล้ว การสูญเสียมณฑลอันรุ่งเรืองของอียิปต์และความพ่ายแพ้ของกองทัพจักรวรรดิไบแซนไทน์จึงส่งผลให้จักรวรรดิอ่อนแอลงอย่างมาก ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียดินแดนเพิ่มเติมในอีกหลายศตวรรษข้างหน้า[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sijpesteijn 2007, p. 440.
  2. Sijpesteijn 2007, p. 437,441.
  3. Haykal 1944, ch. 18

บรรณานุกรม[แก้]

  • Sijpesteijn, Petra M. (2007). "The Arab conquest of Egypt and the beginning of Muslim rule". ใน Bagnall, Roger S. (บ.ก.). Egypt in the Byzantine world, 300-700. ISBN 9780521871372.
  • Haykal, Muhammad Husayn (1944). Al Farooq, Umar.