ข้ามไปเนื้อหา

การปะทุของเขาตัมโบรา ค.ศ. 1815

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่ประมาณการพื้นที่ที่มีเถ้าภูเขาไฟตกระหว่างการระเบิดใน ค.ศ. 1815 พื้นที่สีแดงซึ่งมีความเข้มสีต่างกันแสดงปริมาณเถ้าภูเขาไฟ สังเกตว่าเถ้าภูเขาไฟลอยไปตกไกลถึงเกาะชวา บอร์เนียว และซูลาเวซี (ความหนา 1 ซม.)

เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1815 เขาตัมโบราบนเกาะซุมบาวาของประเทศอินโดนีเซีย (ในขณะนั้นยังเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์) ได้เกิดระเบิดขึ้น[1] เป็นการปะทุของภูเขาไฟครั้งรุนแรงที่สุดในโลกครั้งหนึ่งเท่าที่มีการบันทึก โดยมีระดับความรุนแรง 7 ตามดัชนีวัดความรุนแรงของการปะทุ (VEI)[2]

แรงระเบิดทำให้เกิดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวได้ยินไกลไปถึง 850 กิโลเมตร ชาวบ้านได้รายงานว่า ต้นไม้บนเกาะล้มระเนระนาด และลาวาไหลนองท่วมพื้นบริเวณรอบภูเขาไฟ ทำให้ทุ่งนาถูกทำลาย และท้องฟ้าในบริเวณนั้นมืดมัว เพราะไร้แสงอาทิตย์นานถึง 2 วัน การปะทุของเขาตัมโบราในครั้งนั้นได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดินฟ้าอากาศกับการระเบิดของภูเขาไฟดียิ่งขึ้น เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้รายงานว่า หลังจากที่เขาตัมโบราปะทุได้ไม่นานผิวโลกก็ได้รับแสงอาทิตย์น้อยลงถึงร้อยละ 20 และอุณหภูมิของอากาศในแถบซีกโลกเหนือได้ลดลงมาก เพราะในบรรยากาศเหนือโลกมีฝุ่น และละอองภูเขาไฟปะปนมากมาย ซึ่งเถ้าถ่านเหล่านี้ต้องใช้เวลานานหลายปีจึงจะตกสู่โลกหมด[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Earth Observatory
  2. Briffa, K.R.; Jones, P.D.; Schweingruber, F.H.; Osborn, T.J. (1998). "Influence of volcanic eruptions on Northern Hemisphere summer temperature over 600 years". Nature. 393 (6684): 450–455. Bibcode:1998Natur.393..450B. doi:10.1038/30943.