การปลดล็อกบูตโหลดเดอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพแสดงลูกเล่นเพิ่มเนื่องกับโปรแกรมปลุกเครื่องแอนดรอยด์ที่ปลดล็อกแล้ว

การปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ (อังกฤษ: bootloader unlocking, developer mode, OEM unlock, jailbreaking) เป็นวิธีการปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่อง (bootloader) การล็อกบูตโหลดเดอร์เป็นวิธีรักษาความปลอดภัยที่ปกติทำให้ปลุกเครื่อง (บูตเครื่อง) ได้อย่างปลอดภัย การปลดล็อกจะทำให้สามารถเปลี่ยนระบบที่ปกติจะทำไม่ได้ เช่น การติดตั้ง custom firmware (ที่เรียกว่า custom ROM สำหรับแอนดรอยด์) จริงๆ แล้ว ตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องบางอย่างก็ไม่ได้ล็อก บางอย่างก็ปลดล็อกได้ด้วยรายคำสั่งธรรมดา บางอย่างต้องขอความช่วยเหลือจากบริษัทผู้ผลิต บางอย่างก็ปลดล็อกไม่ได้โดยจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีจุดอ่อนในอุปกรณ์/ซอฟต์แวร์เท่านั้น

การปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ยังอาจทำเพราะเหตุผลทางนิติเวชอีกด้วย เช่น เพื่อหาหลักฐานดิจิทัลจากสมาร์ทโฟน โดยใช้อุปกรณ์เช่น Cellebrite UFED[1]

พื้นเพ[แก้]

การปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมการปลุกเครื่อง ปกติจะล้มเลิกประกันของผลิตภัณฑ์ และอาจทำให้อุปกรณ์ถูกขโมยข้อมูลได้ง่าย[2][3] สำหรับโครมบุ๊ก การเปิดโหมดผู้พัฒนา (developer mode) ซึ่งมีผลเหมือนกับการปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ จะทำให้ระบบปลอดภัยลดลงกว่าปกติ[4] สำหรับแอนดรอยด์และโครมโอเอส การปลดล็อกอาจทำให้เสียข้อมูล เพราะข้อมูลบางอย่างจะเก็บสำรองไม่ได้ถ้าไม่ได้สิทธิของรูต

การล็อกบูตโหลดเดอร์ในบางกรณีอาจจะไม่สมควร เช่น นักข่าวผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับคอมพ์คนหนึ่ง พิจารณาการล็อกบูตโหลดเดอร์สำหรับโทรศัพท์ในโปรแกรม Qualcomm Snapdragon Insiders ว่าเป็นความผิดพลาด เพราะโทรศัพท์มุ่งเฉพาะผู้ใช้ที่ชำนาญ[5]

แพลตฟอร์ม[แก้]

แอนดรอยด์[แก้]

การปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ มักจะทำเมื่อกำลังทำการเพื่อให้ได้สิทธิรูตจากเครื่อง หรือว่าเพื่อจะติดตั้ง custom ROM โดยไม่ต้องรูตเครื่อง

การปลดล็อกบูตโหลดเดอร์ของแอนดรอยด์เมื่อปี 2023[6]
ผู้ผลิต ระดับความยาก วิธี
กูเกิล ง่าย (แบบไม่ล็อกกับบริษัทโทรศัพท์) รายคำสั่ง (แบบที่ไม่ล็อกกับบริษัทโทรศัพท์ หรือแบบที่จ่ายเงินให้บริษัทโทรศัพท์ครบแล้ว)
ซัมซุง ง่าย (นอกทวีปอเมริกาเหนือ )
ทำไม่ได้ (อเมริกาเหนือ)
ใช้ค่าตั้งผู้พัฒนา (ยกเว้นโทรศัพท์ในอเมริกาเหนือ)
OnePlus ง่าย (เมื่อไม่ล็อกกับบริษัทโทรศัพท์)
ปานกลาง (เมื่อล็อกกับบริษัทโทรศัพท์)
รายคำสั่ง ยกเว้นแบบที่ล็อกกับบริษัทโทรศัพท์ ซึ่งจะต้องใช้โค้ดปลดล็อก
เสียวหมี่ ยาก/ง่าย สร้างบัญชี ให้เบอร์โทรศัพท์ ตั้งค่าโทรศัพท์ ดาวน์โหลดแอปแล้วขอโค้ดจากบริษัทโดยต้องอาจต้องรอจนถึง 30 วัน[7][8] ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ชิป Mediatek จะทำได้ง่ายด้วยโปรแกรมอันไม่ใช่ของบริษัท คือ MTKClient
โซนี่ ปานกลาง รายคำสั่ง โดยต้องขอโค้ดจากเว็บไซต์ของบริษัท
Fairphone ปานกลาง รายคำสั่ง โดยต้องขอโค้ดจากเว็บไซต์ของบริษัท
โมโตโรลา ปานกลาง รายคำสั่ง โดยต้องขอโค้ดจากเว็บไซต์ของบริษัท
Realme ยากระดับปานกลาง รายคำสั่ง หลังจากต้องติดตั้งแอปตรวจสอบ แล้วส่งข้อมูลให้บริษัท
Nothing ง่าย รายคำสั่ง
หัวเว่ย ทำไม่ได้
OPPO ทำไม่ได้
HMD-Nokia ทำไม่ได้
วีโว่ ทำไม่ได้
LG ทำไม่ได้[9]
Tecno ง่าย รายคำสั่ง
Infinix ทำไม่ได้
TCL ทำไม่ได้

ประวัติ[แก้]

ตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องของโทรศัพท์กูเกิล Nexus และ Pixel สามารถปลดล็อกได้โดยใช้รายคำสั่ง fastboot คือ fastboot oem unlock หรือ fastboot flashing unlock[10]

ในปี 2011 แม้โมโตโรลาจะแจกจำหน่ายตัวปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องสำหรับ Droid Razr แต่บริษัทโทรศัพท์ก็ได้เอาโปรแกรมนี้ออกจากรุ่นที่ตนใช้[11]

ปี 2011 โซนี่โมบายล์ได้แจกจำหน่ายซอฟต์แวร์ปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่อง[12] แต่ผู้ใช้จะต้องให้เลข IMEI แก่เว็บไซต์ของโซนี่[13] ในปี 2012 เอซุสได้แจกจำหน่ายโปรแกรมปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องสำหรับโทรศัพท์รุ่น Asus Transformer Prime TF201[14]

ในปี 2012 โมโตโรลาได้แจกจำหน่ายโปรแกรมปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องโดยมีข้อจำกัด[15] คือผู้ใช้จะต้องยอมรับเงื่อนไขสัญญาและสร้างบัญชีก่อนที่จะปลดล็อกโทรศัพท์รุ่น Moto G ได้[16]

โทรศัพท์ HTC มีล็อกพิเศษที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเรียกว่า "S-OFF/S-ON"

ตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องบางอย่างสามารถปลดล็อกได้ด้วยการแฮ็ก หรือใช้วิธีที่ผู้ผลิตระบุ วิธีหลังปกติจะลบข้อมูลออกจากอุปกรณ์ทั้งหมด[1] อนึ่ง ผู้ผลิตบางรายยังห้ามไม่ให้ปลดล็อกโทรศัพท์ที่ล็อกอยู่กับบริษัทโทรศัพท์ ส่วนโทรศัพท์และแท็บเล็ตของซัมซุงในสหรัฐหรือแคนาดา ไม่อนุญาตให้ปลดล็อกไม่ว่าจะล็อกอยู่กับบริษัทโทรศัพท์หรือไม่

ในปี 2018 ผู้พัฒนาโปรแกรมในกลุ่ม XDA Developers ได้เริ่มให้บริการปลดล็อกสำหรับสมาร์ทโฟนของโนเกียบางรุ่น[17] ต่อมาในปี 2021 ก็ได้ให้บริการปลดล็อกสำหรับโทรศัพท์ Samsung Galaxy S20 และ Samsung Galaxy S21[18]

ในปี 2019 หัวเว่ยประกาศว่าจะให้ผู้ใช้ปลดล็อกโทรศัพท์ชุด Mate 30 แต่ตอนหลังก็เปลี่ยนใจ[19] และก็ไม่ได้ให้โค้ดสำหรับปลดล็อกอีกเลยตั้งแต่ปี 2018[20] โปรแกรมเจาะช่องโหว่ชื่อว่า checkm30 ได้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ปลดล็อกโทรศัพท์หัวเว่ยที่ใช้ชิป HiSilicon[21]

ในปี 2021 เมื่อปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องของ Samsung Galaxy Z Fold 3 กล้องก็จะทำงานผิดปกติ ซึ่งสามารถแก้ไขโดยล็อกตัวโหลดอีก[22] ต่อมาซัมซุงก็ได้แก้ไขปัญหา[23]

อื่นๆ[แก้]

ไมโครซอฟท์[แก้]

โปรแกรม WPInternals สามารถใช้ปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องของโทรศัพท์ Nokia Lumia ที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน แต่ก็ใช้กับโทรศัพท์ Alcatel Idol 4 หรือ HP Elite x3 ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการเดียวกันไม่ได้[24][25] รุ่น 1.0 ได้แจกจำหน่ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015[26] ในเดือนตุลาคม 2018 ก็ได้เปลี่ยนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เมื่อผู้พัฒนาหลัก (คือ René Lergner ผู้มีนามแฝงว่า HeathCliff74) ได้ลาออกจากโปรเจ็กต์นี้[27]

ตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่องของ Windows RT สามารถปลดล็อกได้ด้วยการใช้ช่องโหว่ แต่ต่อมาไมโครซอฟท์ก็ได้อัปเดตปิดช่องโหว่นี้ในปี 2016[28] ระบบ x86 ปกติจะใช้ตัวโหลด UEFI Secure Boot ซึ่งทั่วไปสามารถปลดล็อกได้

แอปเปิล[แก้]

ระบบป้องกัน ROM ปลุกเครื่องในอุปกรณ์ไอโอเอสที่มีหน่วยประเมินผลกลาง A11 หรือเก่ากว่านั้นสามารถปลดได้ด้วยช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่รู้จักกันว่า checkm8 จึงทำให้สามารถใช้ระบบปฏิบัติการอื่นๆ บนเครื่องได้[29]

แมคอินทอชที่ใช้ชิป Apple Silicon สามารถปลดล็อกได้[30] แต่อุปกรณ์อื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอโฟนและไอแพดก็ไม่สามารถปลดล็อกได้แม้จะใช้ชิปชุดเดียวกัน

กูเกิล[แก้]

โหมดผู้พัฒนา (developer mode) ของโครมบุ๊กจะคล้ายๆ กับการปลดล็อกตัวโหลดโปรแกรมปลุกเครื่อง[31] โครมบุ๊กใช้บูตโหลดเดอร์ที่สามารถเปลี่ยนหรือเขียนทับโดยเอานอตป้องกันการเขียนออก[32]

ในปี 2013 บูตโหลดเดอร์ทของโครมคาสต์ (Chromecast) ถูกแฮ็กโดยอาศัยจุดอ่อนอย่างหนึ่ง[33] ต่อมาในปี 2021 ก็ถูกแฮ็กอีกอาศัยช่องโหว่อย่างอื่น[34]

สเปซเอ็กซ์[แก้]

ในเดือนสิงหาคม 2020 นักวิจัยทางด้านความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ได้ใช้การโจมตีแบบ voltage fault injection ซึ่งทำเมื่อบูตโหลดเดอร์กำลังทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบเฟิร์มแวร์ของจานดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์[35]

การล็อกคืน[แก้]

แอนดรอยด์บางรุ่นอาจล็อกบูตโหลดเดอร์คืนได้[36]

การปิดบริการออนไลน์[แก้]

ในต้นปี 2018 หัวเว่ยได้ระงับการให้โค้ดสำหรับปลดล็อกบูตโหลดเดอร์[37] ในปลายปี 2021 LG ได้เลิกบริการเว็บไซต์ที่ให้โค้ดสำหรับปลดล็อกบูตโหลดเดอร์[38]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Afonin, Oleg (2016). Mobile Forensics ' Advanced Investigative Strategies (1 ed.). Packt Publishing. ISBN 978-1-78646-408-8. OCLC 960040717.
  2. Tamma, Rohit; Donnie Tindall (2015). Learning Android forensics: a hands-on guide to Android forensics, from setting up the forensic workstation to analyzing key forensic artifacts. Birmingham, UK. ISBN 978-1-78217-444-8. OCLC 910639389.
  3. Hoffman, Chris (2016-09-22). "The Security Risks of Unlocking Your Android Phone's Bootloader". How-To Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  4. Porup, J. M. (2017-06-19). "How to install Linux on a Chromebook (and why you should)". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  5. "Qualcomm Smartphone for Snapdragon Insiders Review". PCMag (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  6. Wokke, Arnoud (2021-08-28). "Custom roms voor Android - Hoe zijn installatie en gebruik anno nu?". Tweakers (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  7. "Install PixelExperience on miatoll". Install PixelExperience on miatoll - PixelExperience Wiki. 2023-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
  8. "Install LineageOS on miatoll". LineageOS Wiki. 2023-11-26. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-11-27.
  9. "Termination of LG Mobile Developer website service". developer.lge.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  10. "Factory Images for Nexus and Pixel Devices | Google Play services". Google Developers (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-07.
  11. Ingraham, Nathan (2011-10-24). "GSM Motorola RAZR hits the FCC; Verizon model has locked bootloader". The Verge (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  12. By (2011-04-14). "Sony Ericsson Promotes Android Bootloader Unlocking". Hackaday (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  13. Kotipalli, Srinivasa Rao; Mohammed A. Imran (2016). Hacking Android: explore every nook and cranny of the Android OS to modify your device and guard it against security threats. Birmingham, UK. ISBN 978-1-78588-800-7. OCLC 957298786.
  14. Tiefenthäler, Ronald (2012-02-22). "Asus: Bootloader Unlock Tool für Tablet Transformer Prime TF201 verfügbar". Notebookcheck (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  15. Rodgers, Evan (2012-08-17). "Motorola unveils Android bootloader unlocking tool with limited device support". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-19. สืบค้นเมื่อ 2021-09-10.
  16. Viscomi, Rick; Andy Davies; Marcel Duran (2015). Using WebPageTest: web performance testing for novices and power users. Sebastopol, CA. ISBN 978-1-4919-0281-3. OCLC 927108295.
  17. Rox, Ricci (2018-04-02). "Nokia users can now unofficially unlock their bootloaders but the methodology is as sketchy as it gets". Notebookcheck (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  18. "Android[UNSAMLOCK]". 2021-01-08.
  19. "Huawei Mate 30 will not have an unlocked bootloader". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2019-09-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-26. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  20. "Huawei will no longer offer bootloader unlock codes for its Android devices". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  21. "Checkmate Mate 30 - Attack the bootrom of Huawei smartphones" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-06.
  22. Clark, Mitchell (2021-08-24). "Samsung will let you unlock your Z Fold 3's bootloader, but at the cost of your cameras". The Verge (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  23. "Unlocking the bootloader no longer kills the Galaxy Z Fold 3's cameras". xda-developers (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-12-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  24. "Tool van Nederlandse ontwikkelaar kan custom roms op alle Lumia's flashen". Tweakers (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  25. "Windows Phone Internals 2.2 Unlocks the Bootloader on all Windows 8 & 10 Lumia Smartphones". xda-developers (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2017-12-04. สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  26. Andrew Orlowski. "Rooting and modding a Windows Phone is now child's play". The Register (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  27. "Windows 10 Mobile's bootloader unlocker is now open source". Neowin (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-14.
  28. Francisco, Shaun Nichols in San. "Microsoft silently kills dev backdoor that boots Linux on locked-down Windows RT slabs". www.theregister.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  29. Lundberg, Anders. "16-year-old runs Linux on iPhone 7". Macworld UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  30. January 2021, Michelle Ehrhardt 19 (2021-01-19). "Linux is Finally on Apple M1...Kind Of". Tom's Hardware (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-08-04.
  31. December 2014, Lucian Armasu 31 (2014-12-31). "You Can Now Run Full Linux Apps Inside A Chrome OS Window". Tom's Hardware (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  32. Robert, Foss (2017-03-08). "Quick hack: Removing the Chromebook Write-Protect screw". Collabora (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-09-04.
  33. "Chromecast bootloader exploit surfaces, opens up plenty of possibilities (video)". Engadget (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  34. "Modders ontgrendelen bootloader van Google Chromecast met Google TV". Tweakers (ภาษาดัตช์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-09-06.
  35. Hardcastle, Jessica Lyons. "Starlink satellite dish cracked on stage at Black Hat". The Register (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-11-22.
  36. Wilde, Damien (2021-09-09). "How to downgrade from Android 12 Beta to Android 11 on Google Pixel [Video]". 9to5Google (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-09-28.
  37. "Huawei stopt met het uitdelen van codes om bootloader vrij te geven". Tweakers (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.
  38. "LG stopt eind dit jaar met tool voor unlocken van smartphonebootloaders". Tweakers (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 2023-05-07.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]