การประท้วงในประเทศเอสวาตินี พ.ศ. 2564
การประท้วงในประเทศเอสวาตินี พ.ศ. 2564 | |||
---|---|---|---|
วันที่ | 20 มิถุนายน ค.ศ. 2021 – ปัจจุบัน | ||
สถานที่ | ทั่วประเทศเอสวาตินี, โพ้นทะเลบางส่วนในประเทศแอฟริกาใต้ | ||
สาเหตุ |
| ||
เป้าหมาย |
| ||
วิธีการ |
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
ความสูญเสีย | |||
การประท้วงในประเทศเอสวาตินีที่ดำเนินอยู่มีเป้าหมายเพื่อต่อต้านสถาบันกษัตริย์และเรียกร้องการปฏิรูปการปกครองของประเทศสู่ระบอบประชาธิปไตย ดำเนินมาตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน 2021 โดยเริ่มต้นเป็นการประท้วงโดยสันติก่อนจะทวีขึ้นเป็นความรุนแรงในวันที่ 25 มิถุนายน การประท้วงพุ่งเป้าไปที่สถาบันกษัตริย์เอสวาตินี และนายกรัฐมนตรีที่มาจากการแต่งตั้งโดยกษัตริย์ ผู้ประท้วงเรียกร้องนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแทนที่การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เป็นอยู่
การประท้วงสงบเริ่มกลายเป็นความรุนแรง ตำรวจและกองทัพตอบโต้โดยใช้การโจมตีที่ส่งผลให้ผู้ประท้วงเสียชีวิตบางส่วนและได้รับบาดเจ็บมากกว่า 250 คน[7] รวมถึงมีการตัดขาดอินเทอร์เน็ตในประเทศ[6]
ปูมหลัง
[แก้]ประเทศเอสวาตินี เป็นประเทศเดียวในแอฟริกาที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีกษัตริย์อึมสวาตีที่ 3 เป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเอสวาตินีตั้งแต่ปี 1986 พรรคการเมืองในประเทศถูกห้ามให้มีอยู่นับตั้งแต่ปี 1973 เป็นต้นมา ภายใต้การปกครองของกษัตริย์องค์ก่อนหน้า Sobhuza II และ "สภาวะฉุกเฉิน" ที่ประกาศใช้มาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงกฎหมาย "ต่อต้านก่อการร้าย" ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน นายกรัญมนตรีเอสวาตินีเป็นตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยกษัตริย์[8] ถึงแม้ว่าการประท้วงในประเทศเอสวาตินีจะพบได้ยากมาก[9] แต่ก็เคยมีการประท้วงในปี 2018 และ 2019 เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการใช้ชีวิตของอึมสวาตีที่ 3 ที่หรูหรา และการนำงบประมาณสาธารณะไปใช้ในทางที่ผิดของพระองค์[10][11] การพูดคุยหลายครั้งที่จัดขึ้นโดยสหประชาชาติในปี 2020 แสดงให้เห็นถึงความต้องการของประชาชนที่จะได้รัฐที่เป็นลักษณะเป็นประชาธิปไตยและกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ[12]
ต้นเหตุแรกเริ่มของการประท้วงเริ่มจากสมาชิกรัฐสภาของฝ่ายค้านจำนวนสามคนที่สนับสนุนประชาธิปไตยเสนอระบอบที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นสู่สภา[13][12] นอกจากนี้ยังมีกรณีการเสียชีวิตอย่างปริศนาของนักศึกษาที่เคยประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในเดือนพฤษภาคมที่เชื่อว่าเกิดจากฝีมือของตำรวจ ยังก่อให้เกิดความตึวเครียดอยู่ก่อนหน้าแล้ว[12]
ผลตอบรับ
[แก้]พรรคการเมืองผู้นำของประเทศแอฟริกาใต้ในปัจจุบัน พรรคคองเกรสแห่งชาติแอฟริกัน ประกาศสนับสนุนการปฏิรูปสู่ประชาธิปไตย[12] ในวันที่ 3 กรกฎาคม ประชาคมเพื่อการพัฒนาแอฟริกาใต้ประกาศว่าจะส่งกลุ่มรัฐมนตรีเข้าไปคลี่คลายเหตุการณ์[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Manzini, Staff and agencies in (29 June 2021). "Armed forces open fire in crackdown on anti-monarchy protests in Eswatini". the Guardian. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ https://morningstaronline.co.uk/article/w/cp-swaziland-call-for-uprising
- ↑ 3.0 3.1 https://sdnewsweek.wordpress.com/2021/06/24/tinkhundla-government-is-useless-mp-timothy-tells-residents-eff-swadepa-2/
- ↑ 4.0 4.1 "Southern Africa Bloc to Send Team to Eswatini to Discuss Unrest". www.bloomberg.com. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03.
- ↑ "S.Africa, UK urge restraint after deadly unrest in Eswatini". news.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.
- ↑ 6.0 6.1 "Tensions run high in Eswatini as pro-democracy protests continue". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.
- ↑ 7.0 7.1 "Eswatini: Anti-monarchy protests rock African kingdom". DW.COM. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ "Swaziland: Africa′s last absolute monarchy". Deutsche Welle. 14 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
- ↑ "Clashes at Eswatini anti-monarchy protests". Daily Times Pakistan. AFP. 26 June 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ "Eswatini: Anti-government protest June 29". GardaWorld. สืบค้นเมื่อ 2021-06-29.
- ↑ Welle (www.dw.com), Deutsche, South Africa: Protests in the Kingdom of eSwatini – โดยทาง www.dw.com
- ↑ 12.0 12.1 12.2 12.3 Eligon, John (2 July 2021). "Africa's Last Absolute Monarchy Convulsed by Mass Protests". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-07-03 – โดยทาง NYTimes.com.
- ↑ "Q&A: What's driving the protests in Eswatini?". 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-07-01.