ข้ามไปเนื้อหา

การปฏิวัติเชิงปริมาณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปฏิวัติเชิงปริมาณ (อังกฤษ: quantitative revolution) คือการเปลี่ยนผ่านกระบวนทัศน์ซึ่งพยายามที่จะพัฒนาระเบียบวิธีสำหรับสาขาวิชาภูมิศาสตร์ให้เป็นระบบและเคร่งครัดมากขึ้น การปฏิวัติเชิงปริมาณเข้ามาเติมเต็มการอธิบายพลวัตเชิงพื้นที่โดยทั่วไปซึ่งภูมิศาสตร์ภูมิภาคอธิบายได้ไม่ครบถ้วน ข้อเรียกร้องสำคัญของการปฏิวัติเชิงปริมาณคือการสร้างการเปลี่ยนผ่านจากภูมิศาสตร์ที่เน้นการพรรณนาไปสู่ภูมิศาสตร์ที่เน้นการสร้างกฎเชิงประจักษ์ การปฏิวัติเชิงปริมาณเกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 และได้สร้างการเปลี่ยนแปลงระเบียบวิธีเบื้องหลังการวิจัยทางภูมิศาสตร์อย่างรวดเร็วจากภูมิศาสตร์ภูมิภาคไปสู่วิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่[1][2]

ในประวัติศาสตร์ของภูมิศาสตร์ การปฏิวัติเชิงปริมาณเป็นหนึ่งในสี่จุดเปลี่ยนสำคัญของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ โดยอีกสามอย่างคือนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ภูมิภาคและภูมิศาสตร์เชิงวิพากษ์

การปฏิวัติเชิงปริมาณของภูมิศาสตร์เกิดขึ้นภายหลังการปฏิวัติเชิงปริมาณในสาขาเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา เกิดขึ้นพร้อมกับสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ด้านอื่น ๆ และเกิดขึ้นก่อนหน้าสาขาประวัติศาสตร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The ‘Quantitative Revolution’", GG3012(NS) Lecture 4, University of Aberdeen, 2011, webpage: AB12 เก็บถาวร 2018-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. Gregory, Derek; Johnston, Ron; Pratt, Geraldine; Watts, Michael J.; Whatmore, Sarah (2009). The Dictionary of Human Geography (5th ed.). US & UK: Wiley-Blackwell. pp. 611–12.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Science, Philosophy and Physical Geography. Robert Inkpen, Routledge, ISBN 0-415-27954-2.
  • Explanation in Geography, David Harvey, E Arnold, ISBN 0-7131-5464-0.
  • Key Thinkers on Space and Place, Phil Hubbard, Rob Kitchin, Gill Valentine, Sage Publications Ltd, ISBN 0-7619-4963-1.
  • Social Justice and the City, Ira Katznelson (Foreword), David Harvey, Blackwell Publishers, ISBN 0-631-16476-6.
  • The Geographical Tradition: Episodes in the History of a Contested Enterprise, David N. Livingstone, Blackwell Publishers ISBN 0-631-18586-0.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]