ข้ามไปเนื้อหา

การบุกยิงชาร์ลีแอบโด

พิกัด: 48°51′33″N 2°22′13″E / 48.859246°N 2.370258°E / 48.859246; 2.370258
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การโจมตีในปารีส
ถนนที่เกิดเหตุการณ์บุกยิงหลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยมีผู้สื่อข่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจ และพาหนะฉุกเฉินมารวมอยู่ในภายหลัง
สถานที่การบุกยิงชาร์ลีแอบโด : เลขที่ 10 ถนนนีกอลา-อาแปร์ เขตที่ 11 ของกรุงปารีส[1]

การบุกยิงในมงรูฌ : สามแยกถนนปีแยร์ บรอซอแล็ต ตัดกับถนนเดอลาแป เขตเทศบาลมงรูฌ

การบุกยึด : บริษัทสิ่งพิมพ์ในเขตเทศบาลดามาร์แต็ง-อ็องกวล แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ และซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารยิวที่ปอร์ตเดอแว็งแซน กรุงปารีส
พิกัด48°51′33″N 2°22′13″E / 48.859246°N 2.370258°E / 48.859246; 2.370258
วันที่7 มกราคม พ.ศ. 2558 11:30 CET
9 มกราคม พ.ศ. 2558 18:35 CET (UTC+01:00)
เป้าหมายการบุกยิงชาร์ลีแอบโด : พนักงานของ ชาร์ลีแอบโด
การบุกยิงในมงรูฌ : เจ้าหน้าที่ตำรวจเทศบาล กลารีซา ฌ็อง-ฟีลิป (Clarissa Jean-Philippe)
การบุกยึดที่ปอร์ตเดอแว็งแซน : ลูกค้าซูเปอร์มาร์เก็ตอาหารยิว
ประเภทกราดยิง, ก่อการร้าย
อาวุธเอเค 47[2]
ปืนลูกซอง
อาร์พีจี[3][4][5][6]
ตาย12 คน
เจ็บ11 คน
ผู้ก่อเหตุซาอีด กัวชี, เชริฟ กัวชี และบางทีอาจจะมีบุคคลที่สาม (ผู้ต้องสงสัย)[7]

เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015 ที่เวลายุโรปกลางประมาณ 11:30 น. (เวลาสากลเชิงพิกัด 10:30 น.) มือปืนสวมหน้ากากสองคน ติดอาวุธปืนอาก้า, ปืนลูกซอง และเครื่องยิงจรวดอาร์พีจีได้บุกสำนักงาน ชาร์ลีแอบโด ซึ่งเป็นสำนักงานนิตยสารล้อเลียนฝรั่งเศสในกรุงปารีส และมักสร้างความสนใจจากทั่วโลกด้วยการเผยแพร่ภาพนบีมุฮัมมัดที่ล่อแหลมอยู่บ่อยครั้ง[3][4][5][6][8][9] การโจมตีดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ซึ่งได้แก่สเตฟาน "ชาร์บ" ชาร์บอนีเย ผู้เป็นบรรณาธิการ และพนักงานอื่น ๆ ของ ชาร์ลีแอบโด อีกแปดราย รวมไปจนถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติอีกสองคน[10] ในขณะที่คนอื่นอีก 11 รายได้รับบาดเจ็บ[11][12][13]

ในระหว่างการไล่ล่าผู้ต้องสงสัยทั้งสอง ผู้คนจำนวนหนึ่งถูกควบคุมตัวโดยตำรวจในความเชื่อมโยงกับการโจมตี[10] ผู้ต้องสงสัยรายที่สามได้ถูกตำรวจระบุชื่อขึ้นแต่ก็เข้ามอบตัว[10] ตำรวจได้เพิ่มระดับการเตือนภัยในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์และแคว้นปีการ์ดีสู่ระดับสูงสุด[10]

เมื่อวันที่ 9 มกราคม ตำรวจพบตัวผู้ก่อการในนิคมอุตสาหกรรมของเทศบาลดามาร์แต็ง-อ็อง-กวล (Dammartin-en-Goële) พร้อมตัวประกัน[14] และตำรวจได้เชื่อมโยงเหตุการณ์นี้เข้ากับการบุกยิงโดยผู้ต้องสงสัยรายที่ 4 ที่มงรูฌ (Montrouge) ซึ่งมือปืนรายนี้ก็ทำการจับตัวประกันไว้ที่ปอร์ตเดอแว็งแซน (Porte de Vincennes)[15] ในเวลาต่อมา ตำรวจได้จู่โจมสถานที่ทั้งสองพร้อมกัน โดยผู้ก่อการร้าย 3 คนถูกฆ่า ส่วนตัวประกันบางส่วนตายหรือได้รับบาดเจ็บ[16] ประธานาธิบดีฟร็องซัว ออล็องด์ ได้ออกมายืนยันว่ามีตัวประกัน 4 คนเสียชีวิตในการบุกยึดที่ปอร์ตเดอแว็งแซน[17]

ทีมงานที่เหลืออยู่ของ ชาร์ลีแอบโด ได้ประกาศว่าจะยังคงตีพิมพ์ต่อ โดยหนังสือพิมพ์ฉบับของสัปดาห์ถัดไปจะออกมาตามปกติ[18] แต่ครั้งนี้จะมีการจัดพิมพ์ถึงหนึ่งล้านฉบับ ซึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าที่เคยจัดพิมพ์เดิมที่ 60,000 ฉบับ[19]

เหตุการณ์

[แก้]

วันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015 เวลาประมาณ 11.30 น. ตามเวลายุโรปกลาง มือปืนสวมหน้ากากสองคน ติดอาวุธปืนอาก้า, ปืนลูกซอง และเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี ได้บุกเข้าสำนักงานใหญ่ของชาร์ลีแอบโดในปารีส[3][4][5][6][9][20] พวกเขาเปิดฉากถล่มยิงด้วยปืนออโตเมติกพร้อมกับตะโกนว่า อัลเลาะห์ อัคบาร์ ดังที่ถูกบันทึกได้ในวิดีโอ[21] มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 12 ราย และบาดเจ็บอีก 11 คน[11][22] โดยมีตำรวจสองรายเป็นผู้เสียชีวิตด้วย[23]

ก่อนหน้าเหตุการณ์ มือปืนได้เข้าไปที่ เลขที่ 6 ถนนนีกอลา-อาแปร์ ซึ่งเป็นหน่วยเก็บเอกสารของนิตยสารก่อน มือปืนได้ตะโกนถามว่า นี่คือชาร์ลีแอบโดใช่หรือไม่? ก่อนที่จะตระหนักว่ามาผิดที่และจากไป จากนั้นมือปืนจึงไปยังสำนักงานใหญ่ชาร์ลีแอบโด ที่เลขที่ 10 ถนนนีกอลา-อาแปร์[24]

นักเขียนการ์ตูน กอรีน "กอโก" แร (Corinne "Coco" Rey) รายงานว่าชายติดอาวุธและสวมหน้ากากสองคน ผู้พูดภาษาฝรั่งเศสได้อย่างยอดเยี่ยม ได้ข่มขู่เอาชีวิตลูกสาววัยหัดเดินของเธอที่เพิ่งรับกลับมาจากสถานรับเลี้ยง และบังคับให้เธอกรอกรหัสเปิดประตูเข้าสู่อาคาร[25][26] จากนั้นผู้ก่อการจึงขึ้นไปยังชั้นสอง ซึ่งพนักงานกำลังประชุมกันอยู่ประมาณ 15 คน[27] การบุกยิงยาวประมาณห้าถึงสิบนาที พยานรายงานว่ามือปืนขานชื่อพนักงานเป็นรายคน[28]ก่อนที่จะยิงในลักษณะประหาร[29] พยานคนอื่น ๆ รายงานว่ามือปืนบอกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของอัลกออิดะฮ์ในเยเมน[30]

นักข่าว ซีกอแลน แว็งซง (Sigolène Vinson) รายงานว่าหนึ่งในมือปืนเล็งปืนมาที่เธอแต่ตัดสินใจไว้ชีวิตเธอ พร้อมบอกว่า ผมจะไม่ฆ่าคุณ เพราะคุณเป็นผู้หญิง และเราไม่ฆ่าผู้หญิง แต่คุณต้องเปลี่ยนมานับถืออิสลาม อ่านอัลกุรอาน และสวมผ้าคลุมหน้าซะ จากนั้นก็จากไปพร้อมกับตะโกนว่า อัลเลาะห์ อัคบาร์ ไปด้วย[31][32][33]

มือปืนออกจากเหตุการณ์ โดยตะโกนว่า เราได้แก้แค้นแทนศาสดามุฮัมมัด เราได้ฆ่าชาร์ลีแอบโดแล้ว![34][35] โดยหนีออกจากเหตุการณ์ด้วยรถที่เตรียมมา โดยขับไปถึงบริเวณสถานีปอร์ตเดอป็องแต็ง (Porte de Pantin) ก่อนจะจี้รถคันใหม่[36][11] ระหว่างการหลบหนี ผู้ก่อการได้ชนคนเดินถนนล้ม และยิงตอบโต้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ[37]

ผู้เคราะห์ร้าย

[แก้]

เสียชีวิต

  • เฟรเดริก บัวโซ (Frédéric Boisseau), 42, เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรกายภาพจากบริษัทซอแด็กโซ (Sodexo), ถูกฆ่าในล็อบบี้
  • แฟรงก์ แบรงโซลาโร (Franck Brinsolaro), 49, เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วย SDLP ทำหน้าที่เป็นบอดี้การ์ดให้ชาร์บ[38]
  • ฌ็อง กาบูว์ (Jean Cabut), 76, นักวาดการ์ตูน
  • แอลซา กายา (Elsa Cayat), 54, นักจิตวิทยาและคอลัมนิสต์
  • สเตฟาน ชาร์บอนีเย (Stéphane Charbonnier) หรือชาร์บ (Charb), 47, นักวาดการ์ตูน คอลัมนิสต์ และบรรณาธิการใหญ่ของ ชาร์ลีแอบโด
  • ฟีลิป ออนอเร (Philippe Honoré), 74, นักวาดการ์ตูน
  • แบร์นาร์ มาริส (Bernard Maris), 68, นักเศรษฐศาสตร์ บรรณาธิการ และคอลัมนิสต์[39][40]
  • อาเหม็ด เมอราเบ็ต (Ahmed Merabet), 42, เจ้าหน้าที่ตำรวจมุสลิมเชื้อสายแอลจีเรีย[41][42] ถูกยิงที่หัวขณะนอนบาดเจ็บนอกอาคาร[28][43][44][45]
  • มุสตาฟา อูราด (Moustapha Ourrad), คนตรวจต้นฉบับชาวแอลจีเรีย[46][47][48][41]
  • มีแชล เรอโน (Michel Renaud), 69, แขกในที่ประชุม [49]
  • แบร์นาร์ แวร์ลยัก (Bernard Verlhac) หรือตีญุส (Tignous), 57, นักวาดการ์ตูน[50]
  • ฌอร์ฌ วอแล็งสกี (Georges Wolinski), 80, นักวาดการ์ตูน[51] เชื้อสายยิว เกิดในตูนิเซีย[52][53][54][55]

บาดเจ็บ

  • ซีมง ฟีเยสกี (Simon Fieschi), 31, เว็บมาสเตอร์, ถูกยิงเข้าที่ไหล่[56]
  • ฟีลิป ล็องซง (Philippe Lançon), นักข่าว, ถูกยิงเข้าที่ใบหน้า อาการสาหัส
  • ฟาบริส นีกอลีโน (Fabrice Nicolino), 59, นักข่าว, ถูกยิงเข้าที่ขา
  • โลร็อง "ริส" ซูรีโซ (Laurent "Riss" Sourisseau), 48, นักวาดการ์ตูน, ถูกยิงเข้าที่ไหล่[57]
  • เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทราบชื่อ[58][59][60]

มีสามคนในที่ประชุมที่ไม่ได้รับบาดเจ็บ เป็นพนักงานสองคนคือ ซีกอแลน แว็งซง และโลร็อง เลเฌ (Laurent Léger) และแขกอีกหนึ่งคนคือ เฌราร์ กายาร์ (Gerard Gaillard) ส่วนนักวาดการ์ตูนที่มาสายและถูกบังคับให้เปิดประตูให้มือปืนเข้าไปในอาคารคือกอรีน แร ไม่ได้รับบาดเจ็บเช่นกัน[61][62][63]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "En images : à 11 h 30, des hommes armés ouvrent le feu rue Nicolas-Appert". Le Monde. 7 January 2015.
  2. Helene Fouquet (7 January 2015). "Paris Killings Show Rise of Banned French 'Weapons of War'". Bloomberg.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Paris Charlie Hebdo attack: live". Telegraph.co.uk. 7 January 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 "12 dead in 'terrorist' attack at Paris paper". Yahoo News. 7 January 2015.
  5. 5.0 5.1 5.2 Ben Doherty. "Tony Abbott condemns 'barbaric' Charlie Hebdo attack in Paris". the Guardian.
  6. 6.0 6.1 6.2 Mejia, Paula (7 January 2015). "Four Victims of Charlie Hebdo Attack Identified". newsweek.com. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  7. "French police ID 3 suspects in attack on newspaper". Newsday. 8 January 2015.
  8. "BBC News – Charlie Hebdo: Major manhunt for Paris gunmen". BBC News. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  9. 9.0 9.1 Saul, Heather (9 January 2015). "Google pays tribute to Charlie Hebdo attack victims with black ribbon on homepage". The Independent. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Police converge on area north-east of Paris in hunt for Charlie Hebdo killers, The Guardian. Retrieved 8 January 2015.
  11. 11.0 11.1 11.2 Kim Willsher (7 January 2015). "Satirical French magazine Charlie Hebdo attacked by gunmen". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  12. "Gun attack on French magazine Charlie Hebdo kills 11". BBC News. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  13. "Charlie Hebdo attack: 12 dead in Paris, manhunt on". CNN. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  14. "Charlie Hebdo: major operation north-east of Paris in hunt for suspects – live updates". The Guardian. 9 January 2015.
  15. "EN DIRECT. Porte de Vincennes : 5 personnes retenues en otage dans une épicerie casher". Le Parisien. 9 January 2015.
  16. "EN DIRECT – Les frères Kouachi et le tireur de Montrouge abattus simultanément". Le Figaro.
  17. theguardian.com [1]
  18. "Charlie Hebdo will come out next week, despite bloodbath". The Times of India. 8 January 2015.
  19. Martinson, Jane; Sweney, Mark (8 January 2015). "Charlie Hebdo staff vow to print 1 m copies as French media support grows". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  20. "Paris Charlie Hebdo attack: live". The Daily Telegraph. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  21. "Les deux hommes criaient 'Allah akbar' en tirant". L'essentiel Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 2015-01-10.
  22. Kim Willsher et al (7 January 2015) Paris terror attack: huge manhunt under way after gunmen kill 12 The Guardian
  23. "Terrorists shoot officer in Paris during terrorist attack at Charlie Hebdo". LiveLeak. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  24. "Charlie Hebdo shooting: 12 people killed, 11 injured, in attack on Paris offices of satirical newspaper". ABC News. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  25. "Charlie Hebdo : Le témoignage de la dessinatrice Coco". L'Humanité (ภาษาฝรั่งเศส). 7 January 2015.
  26. "Charlie Hebdo Cartoonist Corrine Rey Says She Let Terrorists Inside And Hid Under Her Desk With Toddler Daughter". Inquisitr. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  27. "Charlie Hebdo shootings: 'It's carnage, a bloodbath. Everyone is dead'". The Guardian. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  28. 28.0 28.1 "Paris shooting: Manhunt after gunmen attack office of Charlie Hebdo, French satirical magazine". 7 January 2015.
  29. "Gunmen in Charlie Hebdo Attack Identified". ABC News. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ telegraph1
  31. "The Globe in Paris: Police identify three suspects". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  32. Chris Richards (8 January 2015). "Charlie Hebdo: Journalist spared death by terrorists during brutal attack at magazine office 'because she's a woman'". mirror. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  33. "Charlie Hebdo: ce qu'on sait de l'attentat et de l'enquête". Radio France Internationale. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  34. "En direct: Des coups de feu au siège de Charlie Hebdo" (ภาษาฝรั่งเศส). see comments at 13h09 and 13h47: "LeMonde.fr: @Antoine Tout ce que nous savons est qu'ils parlent un français sans accent." and "LeMonde.fr: Sur la même vidéo, on peut entendre les agresseurs. D'après ce qu'on peut percevoir, les hommes semblent parler français sans accent."
  35. "Deadly attack on office of French magazine Charlie Hebdo". BBC News. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  36. Duffin, Claire; Sinmaz, Emine; Kent Smith, Emily (7 January 2015). "They shouted out names... then fired: Minute by minute, how the horror unfolded in Paris magazine newsroom as terrorists slaughtered 12 innocent victims". Daily Mail. London. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  37. "12 dead in 'terrorist' attack at Paris paper". Yahoo! News. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  38. Attentat de Charlie Hebdo, l'un des policiers tués demeurait en Normandie. 7 January 2015 www.tendanceouest.com in French (Google translated)
  39. "En Direct. Massacre chez "Charlie Hebdo": 12 morts, dont Charb et Cabu". Le Point (ภาษาฝรั่งเศส).
  40. "Les dessinateurs Charb et Cabu seraient morts". L'Essentiel (ภาษาฝรั่งเศส). 7 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-07. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  41. 41.0 41.1 "Charlie Hebdo attack: All 12 victims are named". The Independent. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  42. "Attaque à "Charlie Hebdo": Une policière raconte Ahmed, "un superbe collègue, toujours volontaire"". 20 Minutes. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  43. "Charlie Hebdo terror attack: Sickening moment 'policeman executed by militants as he held up hands in surrender". Mirror.
  44. "Charlie Hebdo attack: What we know about the three gunmen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 2015-01-10.
  45. Polly Mosendz. "Police Officer Ahmed Merabet Shot During Charlie Hebdo Massacre". Newsweek.
  46. "« On va continuer à dessiner » répondent les caricaturistes algériens après l'attentat contre Charlie Hebdo". Le Monde. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  47. "Mustapha Ourad, une des victimes de la tuerie de "Charlie Hebdo"". Le Matin. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  48. "REPORTAGE. Á Aït Larba, village natal de Mustapha Ourrad, l'Algérien tué à Charlie Hebdo". TSA. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-09. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.
  49. Manuel Armand. "Michel Renaud, insatiable voyageur". Le Monde.
  50. "Charlie Hebdo victims". BBC. 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  51. "Attentat contre "Charlie Hebdo " : Charb, Cabu, Wolinski et les autres, assassinés dans leur rédaction". Le Monde (ภาษาฝรั่งเศส).
  52. http://www.haaretz.com/jewish-world/jewish-world-news/1.636147
  53. http://www.ynetnews.com/articles/0,7340,L-4612722,00.html
  54. http://www.foxnews.com/world/2015/01/07/fearless-murdered-french-cartoonists-welcomed-controversy/
  55. http://www.jta.org/2015/01/07/news-opinion/world/jewish-cartoonist-georges-wolinski-among-12-dead-in-paris-shooting
  56. "Paris attacks: Sydney woman's partner in coma after Charlie Hebdo shooting". The Sydney Morning Herald.
  57. "Attentat contre Charlie Hebdo. Témoignage de l'oncle de Riss, directeur de la rédaction Charlie Hebdo". Le Telegramme. 8 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2015. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.
  58. Translated text
  59. "En Direct. Attentat à Charlie Hebdo : 12 morts, les terroristes en fuite". Le Parisien (ภาษาฝรั่งเศส). France. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  60. "Charlie Hebdo shootings: 'It's carnage, a bloodbath. Everyone is dead'". The Guardian. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
  61. "The Globe in Paris: Police identify three suspects". The Globe and Mail.
  62. "Paris rampage live updates: 1 suspect reportedly surrenders; vigils held worldwide". Los Angeles Times. 8 January 2015.
  63. Alderman, Liz (8 January 2015). "Recounting a Bustling Office at Charlie Hebdo, Then a 'Vision of Horror'". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 9 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]