การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะพอลโลฮอสพิทอลส์ในเจนไน
ว็อกฮาดต์ทาวเวอส์เป็นสำนักงานใหญ่ของว็อกฮาดต์ฮอสพิทอลส์
โรงพยาบาลฟอร์ติสในนอยดา

การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นภาคส่วนที่กำลังเติบโตประเทศอินเดีย ในช่วงกลาง ค.ศ. 2020 ภาคการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของอินเดียคาดว่าจะมีมูลค่า 5–6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] โดยใน ค.ศ. 2017 มีผู้ป่วย 495,056 รายเดินทางไปอินเดียเพื่อรับการรักษาพยาบาล ตามรายงานของ ค.ศ. 2019 โดยสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมอินเดียรวมถึงเอินส์ทแอนด์ยัง นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่เดินทางมาถึงอินเดียส่วนใหญ่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ตะวันออกกลาง แอฟริกา และภูมิภาคสมาคมเอเชียใต้เพื่อความร่วมมือระดับภูมิภาค[2] นอกจากนี้ ประเทศอินเดียยังรับนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จำนวนมากจากออสเตรเลีย, แคนาดา, จีน, รัสเซีย, สหราชอาณาจักร และสหรัฐ[3] ส่วนเมืองเจนไนเป็นที่รู้จักในฐานะเมืองหลวงด้านการดูแลสุขภาพของอินเดีย

เพื่อส่งเสริมการสมัครและลดขั้นตอนการเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ทางรัฐบาลได้ขยายระบบวีซ่าท่องเที่ยวอิเล็กทรอนิกส์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ซึ่งระยะเวลาพำนักสูงสุดภายใต้วีซ่านี้คือ 6 เดือน[4] โดยตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป ชาวต่างชาติสามารถรับการรักษาพยาบาลใด ๆ ในประเทศอินเดียได้ ยกเว้นการปลูกถ่ายอวัยวะโดยไม่ต้องมีวีซ่าทางการแพทย์[2]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2023 กระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลอินเดียได้ประกาศการสร้างประเภทวีซ่าอายุษสำหรับชาวต่างชาติ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในประเทศอินเดีย[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Medical tourism companies turn to telemedicine in wake of Covid-19". Hindustan Times. สืบค้นเมื่อ July 10, 2020.
  2. 2.0 2.1 Mabiyan, Rashmi (November 20, 2019). "Is India doing enough to carve a niche in medical tourism?". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ July 10, 2020.
  3. Katz, Alexandra (April 16, 2015). "India emerges as new destination for Russian medical tourists". สืบค้นเมื่อ February 12, 2020.
  4. "Centre liberalises e-Visa regime to make it more tourist friendly". The Economic Times. 2019-02-15. สืบค้นเมื่อ 2019-03-14.
  5. https://www.news9live.com/knowledge/explained-what-is-ayush-visa-that-aims-at-promoting-medical-tourism-in-india-2240198

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]