การถ่ายภาพเคอร์เลียน
การถ่ายภาพเคอร์เลียน (Kirlian photography) คือ ชุดของเทคนิคการถ่ายภาพที่ใช้ในการจับภาพของปรากฏการณ์โคโรนา หรือ การปล่อยประจุแบบโคโรน่าทางไฟฟ้า มันเป็นชื่อนามสกุลคำหลังของนาย เซมยอน เคอร์เลียน (Semyon Kirlian) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ค้นพบวิธีการนี้โดยบังเอิญในปี ค.ศ. 1939 โดยเขาพบว่าถ้าวัตถุที่วางอยู่บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพถูกเชื่อมต่อกับแหล่งกำเนิดแรงดันไฟฟ้าแรงสูง, ภาพของวัตถุจะถูกถ่ายภาพออกมาได้บนแผ่นเพลตสำหรับถ่ายภาพ [1] เป็นเทคนิควิธีการที่รู้จักกันหลากหลายลักษณะต่าง ๆ กันมากมายที่มีชื่อเรียกกัน เช่น "ภาพถ่ายทางไฟฟ้า" (electrography), [2] "เทคนิคการถ่ายภาพด้วยไฟฟ้า" (electrophotography), [3] "เทคนิคการถ่ายภาพการปล่อยประจุแบบโคโรน่า" (corona discharge photography) (CDP), [4] "การถ่ายภาพทางไฟฟ้าชีวะ" (bioelectrography), [5] "การสร้างภาพการปล่อยประจุก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV), [6] "การสร้างภาพทางไฟฟ้าเชิงแสง" (electrophotonic imaging) (EPI), [7] และ, ในวรรณกรรมรัสเซีย, "ภาพถ่ายเคอร์เลียน" เป็นต้น
การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประเด็นหัวข้อเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์กระแสหลัก, การวิจัยทางด้านปรจิตวิทยา (parapsychology) (ตามความรู้สึกของคนไทยเรา มันมักจะหมายถึงเรื่อง "พลังจิต") และทางด้านศิลปะ
ภาพรวม[แก้]

การถ่ายภาพเคอร์เลียนเป็นเทคนิคการสร้างภาพถ่ายของวัตถุโดยใช้ไฟฟ้าแรงสูงส่งผ่านแผ่นฟิล์มที่อยู่เหนือแผ่นเหล็กสำหรับการคายประจุและอยู่ติดกับวัตถุที่ถูกถ่ายภาพ กระแสไฟฟ้าแรงสูงจะถูกจ่ายเป็นระยะเวลาสั้นๆไปยังแผ่นเหล็ก ทำให้เกิดภาพที่เกิดจากการปรากฏการณ์โคโรนาระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กถูกถ่ายทอดลงฟิล์มที่อยู่ระหว่างกลางกลายเป็นภาพถ่ายเคอร์เลียน
โดยปกติ ฟิล์มถ่ายภาพสีจะถูกปรับไว้ให้ได้ภาพที่สมจริงในสภาวะแสงปกติ ปรากฏการณ์โคโรนาจะมีปฏิสัมพันธ์ชั่วขณะกับแต่ละชั้นแผ่นแม่สีของฟิล์มที่แตกต่างกันไป อันจะทำให้สีที่ได้มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการคายประจุ[8] ทั้งฟิล์มและเทคนิคการถ่ายภาพแบบดิจิตอลล้วนบันทึกภาพจากโฟตอนที่ถูกปล่อยออกมาจากปรากฏการณ์โคโรนา(โปรดดู กลศาสตร์ของปรากฏการณ์โคโร).
ภาพถ่ายจากสิ่งไม่มีชีวิตเช่นเหรียญ กุญแจ หรือใบไม้ สามารถสร้างภาพอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยต่อทางไฟฟ้ากับสายดินลงพื้นดิน ในท่อน้ำเย็นหรือขั้วตรงข้ามของแหล่งไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายให้วัตถุ อันจะทำให้ปรากฏการณ์โคโรนารุนแรงยิ่งขึ้น[9]
การถ่ายภาพเคอร์เลียนไม่จำเป็นต้องใช้กล้องหรือเลนส์เพราะแผ่นรับภาพสัมผัสกับวัตถุโดยตรง จึงสามารถใช้แผ่นตัวนำโปร่งแสงวางคั่นกลางระหว่างวัตถุกับแผ่นเหล็กเพื่อให้สามารถบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูปหรือกล้องวิดิโอได้[10]
นักศิลปะการถ่ายภาพเช่น Robert Buelteman,[11] Ted Hiebert,[12] และ Dick Lane[13] เคยถ่ายภาพเคอร์เลียนเพื่อสร้างภาพถ่ายทางศิลปะของวัตถุหลากหลายชนิด นักถ่ายภาพเคอร์เลียน Mark D. Roberts ผู้ทำงานกับภาพถ่ายเคอร์เลียนมานานกว่า 40 ปี ได้เผยแพร่ชุดผลงานของภาพถ่ายพืชโดยใช้ชื่อว่า "Vita occulta plantarum" หรือ "ความลับแห่งชีวิตของพืช" ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2012 ที่พิพิธภัณฑ์แบ็คเค็นในมินเนทาโพลิส
การวิจัย[แก้]
การถ่ายภาพเคอร์เลียน ได้ถูกจัดให้เป็นหัวใจหลักในเรื่องของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์, การวิจัยทางด้านจิตศาสตร์ซึ่งมีสาขาเฉพาะทางที่เรียกว่าวิชา "ปรจิตวิทยา" ซึ่งพวกเราคนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า "พลังจิต" (parapsychology research) และการกล่าวอ้างเกี่ยวกับเรื่องราวของ วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscientific) [14][15] ส่วนใหญ่ของการวิจัยทางด้านนี้ ได้ถูกริเริ่มดำเนินการขึ้นเมื่อราวประมาณกลางศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นในยุคสมัยอดีตของโลกทางฝ่ายกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ก่อนการสิ้นสุดลงของสงครามเย็น (cold war) และยังไม่ได้ถูกยกระดับขึ้นเพื่อการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามมาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวดของโลกฝ่ายตะวันตก[ต้องการอ้างอิง]
การวิจัยทางวิทยาศาสตร์[แก้]
จากผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เมื่อปี 1976 ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายภาพเคอร์เลียนของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิต (จากปลายนิ้วของมนุษย์) พบว่าส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในความยาวของลำแสงของการปล่อยแบบโคโรนา, ความหนาแน่น, ความโค้งงอ และ สี สามารถถูกพิจารณาได้โดยสภาพความชื้นบนพื้นผิวและภายในของเนื้อเยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่เหล่านั้น [16] นักวิทยาศาสตร์ที่อยู่นอกเหนือจากในสหรัฐอเมริกา ต่างก็ได้ดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน
คอนสแตนติน โครอทคอฟ (Konstantin Korotkov) ได้พัฒนาเทคนิคคล้ายกับการถ่ายภาพเคอร์เลียน เรียกว่า "การสร้างภาพการปล่อยประจุของก๊าซ" (gas discharge visualization) (GDV) [17][18][19] ระบบกล้องโครอทคอฟ GDV (Korotkov's GDV camera system) ประกอบด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะบันทึกข้อมูลโดยตรง, เพื่อทำการประมวลผลและแปลความหมายของภาพ GDV ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ของโครอทคอฟ ได้โฆษณาส่งเสริมอุปกรณ์และการวิจัยของเขาในบริบททางการแพทย์ [20][21] อิซาเบลลา ไชสิเอลสกา (Izabela Ciesielska) แห่งสถาบันสถาปัตยกรรมสิ่งทอในประเทศโปแลนด์ ได้ใช้กล้องโครอทคอฟ GDV เพื่อประเมินผลกระทบของการสัมผัสของมนุษย์กับสิ่งทอต่าง ๆ เกี่ยวกับปัจจัยทางชีวภาพ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต, ตลอดจนถึงภาพถ่ายการปล่อยประจุแบบโคโรน่า
ดูเพิ่ม[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Julie McCarron-Benson in Skeptical - a Handbook of Pseudoscience and the Paranormal, ed Donald Laycock, David Vernon, Colin Groves, Simon Brown, Imagecraft, Canberra, 1989, ISBN 0-7316-5794-2, p11
- ↑ Konikiewicz, Leonard W. (1978). Introduction to electrography: A handbook for prospective researchers of the Kirlian effect in biomedicine. Leonard's Associates.
- ↑ Lane, Earle (1975). Electrophotography. And/Or Press (San Francisco).
- ↑ Boyers, David G. and Tiller, William A. (1973). "Corona discharge photography". Journal of Applied Physics. 44 (7): 3102–3112. doi:10.1063/1.1662715.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Konikiewicz, Leonard W. and Griff, Leonard C. (1984). Bioelectrography, a new method for detecting cancer and monitoring body physiology. Leonard Associates Press (Harrisburg, PA).
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Bankovskii, N. G.; Korotkov, K. G.; Petrov, N. N. (Apr 1986). "Physical processes of image formation during gas-discharge visualization (the Kirlian effect) (Review)". Radiotekhnika i Elektronika. 31: 625–643.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Wisneski, Leonard A. and Anderson, Lucy (2010). The Scientific Basis of Integrative Medicine. ISBN 978-1-4200-8290-6.
{{cite book}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ David G. Boyers และ William A. Tiller (1973). "Corona discharge photography". Journal of Applied Physics. 44 (7): 3102–3112. doi:10.1063/1.1662715.
- ↑ Iovine, John (June 2000). "Kirlian Photography, Part Deux". Poptronics (16): 20.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Iovine, John (May 2000). "Kirlian Photography: Part 1". Poptronics (15): 15.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ "Photographer Robert Buelteman Shocks Flowers With 80,000 Volts Of Electricity". Huffington Post. 23 July 2012. สืบค้นเมื่อ 22 August 2012.
- ↑ Blennerhassett, Patrick (9 March 2009). "Electrifying photography". Victoria News.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Puente, Veronica (9 March 2009). "Photographer Dick Lane gets really charged up about his work". Fort Worth Star-Telegram.
{{cite news}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อStenger
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSkrabanek
- ↑ Pehek, John O. (15 October 1976). "Image Modulatic Corona Discharge Photography". Science. 194 (4262): 263–270. doi:10.1126/science.968480.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Korotkov K.G., Krizhanovsky E.V. et al. (2004) The Dynamic of the Gas Discharge around Drops of Liquids. In book: Measuring Energy Fields: State of the Science, Backbone Publ.Co., Fair Lawn, USA, pp. 103–123.
- ↑ Korotkov K., Korotkin D. (2001) Concentration Dependence of Gas Discharge around Drops of Inorganic Electrolytes, Journal of Applied Physics, 89, 9, pp. 4732–4737.
- ↑ Korotkov K. G., Kaariainen P. (1998) GDV Applied for the Study of a Physical Stress in Sportsmens, Journal of Pathophysiology, Vol. 5., p. 53, Saint Petersburg.
- ↑ Katorgin, V. S., Meizerov, E. E. (2000) Actual Questions GDV in Medical Activity, Congress Traditional Medicine, Federal Scientific Clinical and Experimental Center of Traditional Methods of Treatment and Diagnosis, Ministry of Health, pp 452–456, Elista, Moscow, Russia.
- ↑ Korotkov, Konstantin. "EPC/GDV CAMERA by Dr. Korotkov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-16. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
GDV CAMERA by Dr. Korotkov provides non-invasive, painless and almost immediate evaluation which can highlight potential health abnormalities prior to even the earliest symptoms of an underlying condition, and suggests courses of action
อ่านต่อ[แก้]
- Becker, Robert and Selden, Gary, The Body Electric:Electromagnetism and the Foundation of Life, (Quill/Williams Morrow, 1985)
- Krippner, S. and Rubin, D., Galaxies of Life, (Gordon and Breach, 1973)
- Ostrander, S. and Schroeder, L., Psi Discoveries Behind the Iron Curtain, (Prentice-Hall 1970)
- Iovine, John Kirlian Photography - A Hands on Guide , (McGraw-Hill 1993)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: การถ่ายภาพเคอร์เลียน |
- Kirlian Photography and the "Aura", Dr. Rory Coker, Professor of Physics at the University of Texas at Austin
- Bioenergetic Fields เก็บถาวร 2016-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Victor J. Stenger, University of Hawaii at Manoa
- Dr. Ignatov's methodic for Color Coronal (Kirlian) spectral analysis เก็บถาวร 2014-07-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Sofia, Bulgaria
- Kirlian Effect in the Study of the Properties of Water, Oleg Mosin, Doctor in Chemistry