ข้ามไปเนื้อหา

การถ่ายภาพขยาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การถ่ายภาพขยายเพื่อให้ได้ภาพมด

การถ่ายภาพขยาย หรือ การถ่ายภาพมหัพภาค (macrophotography[1], photomacrography[2][3] หรือ macrography[4]) เป็นวิธีการถ่ายภาพแบบหนึ่ง โดยเป็นการถ่ายวัตถุที่ระยะใกล้ โดยจับภาพให้ขยายเห็นรายละเอียดของวัตถุขนาดเล็กอย่างชัดเจน

ภาพรวม

[แก้]

การถ่ายภาพขยายนั้นส่วนใหญ่จะใช้สำหรับการถ่ายภาพวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดอกไม้ และ แมลง ในระยะใกล้ เนื่องจากช่วงความชัดค่อนข้างตื้นในระยะใกล้ ฉากหลังและพื้นหน้าจะเป็นภาพเบลอ

วิธีการต่อไปนี้มักใช้เพื่อทำการถ่ายภาพขยาย

ใช้เลนส์เฉพาะ

[แก้]

เลนส์ถ่ายภาพที่ออกแบบมาสำหรับการถ่ายภาพขยาย เช่น เลนส์ที่เรียกว่า เลนส์มหัพภาค (macro lens) ซึ่งใช้ใน กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว นอกจากนี้ยังอาจใช้ตัวแปลงเลนส์ที่เรียกว่าเลนส์ถ่ายใกล้ (close-up lens) ติดอยู่ที่ส่วนปลายของเลนส์ที่มีอยู่เดิม

หากใช้เลนส์สำหรับการถ่ายภาพทั่วไป (ส่วนใหญ่เป็นเลนส์มาตรฐาน) ติดเข้ากับตัวกล้องโดยใส่กลับด้านผ่านวงแหวนต่อ อาจสามารถใช้เลนส์นี้เป็นเลนส์สำหรับถ่ายภาพขยายที่มีประสิทธิภาพเชิงแสงค่อนข้างดีได้

ใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพเฉพาะ

[แก้]

นอกจากการใช้เลนส์ข้างต้นแล้ว การถ่ายภาพระยะใกล้ยังสามารถทำได้โดยการใส่กระบอกต่อ (extension tube) หรือ ส่วนพับยืด (bellows) ระหว่างเลนส์ที่มีอยู่กับตัวกล้อง

ใช้ฟังก์ชันเฉพาะที่ติดตั้งในกล้อง

[แก้]

ทุกวันนี้มีกล้องถ่ายภาพหลายแบบที่มีฟังก์ชันการถ่ายภาพขยาย (โหมดมหัพภาค) พร้อมกับฟังก์ชันซูม อย่างไรก็ตาม กำลังขยายในการถ่ายภาพและคุณภาพของภาพจะด้อยกว่าเลนส์มหัพภาคโดยเฉพาะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Webster, Merriam (1996). Collegiate Dictionary, 10th Ed. Merriam-Webster, Inc. p. 698. ISBN 0-87779-711-0.
  2. Thomas Clark (2011). Digital Macro and Close-Up Photography For Dummies. John Wiley & Sons. p. 29. ISBN 978-1-118-08920-0.
  3. Freeman, Michael (2010). Mastering Digital Photography. UK: ILEX Press. p. 336. ISBN 978-1-907579-00-4.
  4. Graham Saxby (2010). The Science of Imaging: An Introduction (2nd ed.). CRC Press. p. 269. ISBN 978-1-4398-1286-0.