ข้ามไปเนื้อหา

การจุดไฟเผาตัวเอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทิก กว๋าง ดึ๊ก จุดไฟเผาตัวตายเพื่อประท้วงการกดขี่พุทธศาสนิกชนในเวียดนามใต้เมื่อ 11 มิถุนายน 1963

การเผาตัวเอง หรือ การจุดไฟเผาตัวเอง (อังกฤษ: Self-immolation) เป็นการกระทำที่มักทำไปในฐานะการประท้วงหรือเพื่อสละชีพเพื่อความเชื่อ มักมีเป้าหมายทางการเมืองหรือทางศาสนา เนื่องด้วยธรรมชาติของการฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้ซึ่งมีความน่ากลัวและทารุณ วิธีการนี้มักถือเป็นการประท้วงวิธีที่สุดขั้วมากที่สุดวิธีหนึ่ง[1] ในการจุดไฟเผาตัวเอง บ่อยครั้งมักมีการเพิ่มสารเร่งไฟไปด้วย เมื่อรวมกับธรรมชาติของผู้กระทำการจุดไฟเผาตนเองที่ไม่ปฏิเสธที่จะโดนไฟลุกลาม มักทำให้เกิดเพลิงไหม้ที่ลุกลามมากกว่าปกติ[2]

มีการบรรยายถึงการจุดไฟเผาตนเองว่าเป็นการกระทำที่เจ็บปวดอย่างมาก เมื่อการลุกไหม้ดำเนินไปปลายประสาทจะเริ่มถูกเผาไหม้ และทำให้สูญเสียความรู้สึกในส่วนที่ถูกไฟเผาไปในที่สุด การเสียชีวิตสามารถเกิดขึ้นได้ขณะไฟยังลุกอยู่ ซึ่งสามารถเป็นได้จากการหายใจเอาอากาศที่ร้อน ผลิตภัณฑ์จากการสันดาป และเปลวเพลิงเข้าไป[3] เมื่อการเผาไหม้กินพื้นที่ของพื้นผิวร่างกายมากกว่า 25% ร่างกายจะตอบสนองโดยการอักเสบต่อการสูญเสียของเหลวและเลือดซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะช็อกและเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาในสถานพยาบาลสำหรับผู้ป่วยผิวหนังไหม้ภายใน 4 ชั่วโมง อัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ 50% ในกรณีที่ผิวหนังไหม้น้อยกว่า 80% และอายุน้อยกว่า 40 ปี และหากผิวหนังไหม้ไปมากกว่า 80% อัตราการรอดชีวิตจะลดลงถึง 20%[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Dvorak, Petula (May 30, 2019). "Self-immolation can be a form of protest. Or a cry for help. Are we listening?". The Washington Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2019. สืบค้นเมื่อ August 29, 2021.
  2. Santa Maria, Cara (9 April 2012). "Burn Care, Self-Immolation: Pain And Progress". Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  3. Tvaruzkova, Lucie (26 April 2003). "What does death by burning mean?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.
  4. Alpert, Emily (15 February 2012). "What happens after people set themselves on fire?". The Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021.