ข้ามไปเนื้อหา

การจำยอมสละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เนวิล เชมเบอร์ลิน กับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในการพบปะที่บัดก็อทเอสแบร์ก (Bad Godesberg) ในเยอรมนี เมื่อ 24 กันยายน ค.ศ. 1938 ซึ่งฮิตเลอร์ต้องการผนวกดินแดนบริเวณเขตชายแดนของเช็กเกียโดยเร็ว

การจำยอมสละ (อังกฤษ: Appeasement) เป็นนโยบายทางการทูตที่มุ่งหลีกเลี่ยงสงครามโดยการยอมให้แก่ประเทศก้าวร้าว นักประวัติศาสตร์ พอล เคนเนดี นิยามว่าเป็น "นโยบายระงับการวิวาทระหว่างประเทศโดยการยอมรับและสนองความเดือดร้อนผ่านการเจรจาและการประนีประนอมอย่างมีเหตุผล ฉะนั้นจึงหลีกเลี่ยงการหันไปถึ่งการขัดกันด้วยอาวุธซึ่งจะมีราคาแพง นองเลือดและอาจอันตราย"[1] ประเทศประชาธิปไตยยุโรป ซึ่งปรารถนาจะหลีกเลี่ยงสงครามกับเผด็จการเยอรมนีและอิตาลี ในคริสต์ทศวรรษ 1930 ใช้การจำยอมสละ ด้วยนึกถึงความน่าสะพรึงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

คำนี้มักใช้กับนโยบายต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีเนวิล เชมเบอร์ลิน ต่อนาซีเยอรมนีระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง 1939 นโยบายหลีกเลี่ยงสงครามกับเยอรมนีของเขาเป็นหัวข้อการถกเถียงเข้มข้นเป็นเวลากว่าเจ็ดสิบปีในหมู่นักวิชาการ นักการเมืองและนักการทูต การประเมินของนักประวัติศาสตร์มีตั้งแต่ประณามว่าปล่อยให้เยอรมนีของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เติบโตเข้มแข็งเกินไป ไปจนถึงตัดสินว่าเขาไม่มีทางเลือกอื่นและทำเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของสหราชอาณาจักรในขณะนั้น การยอมให้เหล่านี้ถูกมองในเชิงบวกอย่างกว้างขวาง และความตกลงมิวนิกที่สรุปเมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1938 โดยเยอรมนี, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส และอิตาลี ทำให้เชมเบอร์ลินประกาศว่าเขาได้รักษา "สันติภาพแห่งยุคของเรา"[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kennedy, Paul M. (1983). Strategy and Diplomacy, 1870–1945: Eight Studies. London: George Allen & Unwin. ISBN 0-00-686165-2.
  2. Hunt, The Makings of the West p.861