ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง
ส่วนหนึ่งของ การประท้วงต่อต้านแอมานุแอล มาครง
กลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองที่แบลฟอร์ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561
วันที่17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน
สถานที่ ฝรั่งเศส
ประเทศอื่น:
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • ลดค่าภาษีน้ำมันและเครื่องยนต์[32]
  • ปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ[33]
  • เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ[34]
  • ให้ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครงกับคณะของเขาลาออก
  • หยุดมาตรการความเข้มงวด[33]
  • ความโปร่งใสและความรับผิดชอบของรัฐบาล[33]
  • ปรับปรุงบริการของรัฐสำหรับพื้นที่ชนบท[33]
  • ริเริ่มข้อเสนอตามรัฐธรรมนูญสำหรับการ เช่น ที่ตั้งขึ้น, ยกเลิก, การเรียกคืนและการริเริ่มทางกฎหมาย[35]
วิธีการ
สถานะ
  • ยังดำเนินต่อ
การยอมผ่อนปรน
  • ยกเลิกภาษีน้ำมันและและเลื่อนการชำระหนี้ดีเซลกับแก๊สโซลีนอีกหกเดือน[43]
  • สัญญาว่าจะเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ €100 ต่อเดือนภายในปี 2019[44]
  • ประกาศว่าค่าภาษีศุลกากรของการไฟฟ้าฝรั่งเศสจะไม่เพิ่มขึ้นก่อนเดือนมีนาคม ค.ศ.2019[45]
  • กำจัดภาษีสำหรับค่าล่วงเวลาและโบนัสสิ้นปี[46]
คู่ขัดแย้ง
ชิเลฌูล
ผู้นำ
ผู้นำไม่รวมศูนย์

ฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง
ประธานาธิบดีของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส เอดัวร์ ฟีลิป
นายกรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส Christophe Castaner
กระทรวงมหาดไทย ฝรั่งเศส Richard Lizurey
Head of the National Gendarmerie

ฝรั่งเศส Bruno Le Maire
Minister of Economy
จำนวน
ผู้ประท้วง 287,710 คน(สูงสุด)[48]
ตำรวจ 8,000 นาย(15 ธ.ค. ค.ศ.2018: ปารีส)
ความเสียหาย
เสียชีวิต15 คน (12 คนในฝรั่งเศส[50] และ 3 คนในเบลเยียม[51])
บาดเจ็บ1,843+ คน
เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บ ~1,048+ คน[49]
ถูกจับกุม1,600 คน (ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.2018)[52]
มากกว่า 2,300 คน (ในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.2018)[53]
มากกว่า 8,000 คน (ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019)[54]
การชุมนุมที่ฝรั่งเศส
เสื้อกั๊กสีเหลืองสะท้อนแสง เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของกลุ่มผู้ประท้วงในครั้งนี้

ขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง (ฝรั่งเศส: Mouvement des gilets jaunes) เป็นเหตุการณ์เดินขบวนครั้งใหญ่ในรอบสิบปี และเป็นการประท้วงที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี เริ่มขึ้นในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เป็นการชุมนุมต่อต้านนโยบายขึ้นภาษีน้ำมันที่จะมีผลให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น รัฐบาลตั้งใจจะใช้มาตรการนี้ลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากซากดึกดำบรรพ์และระดมทุนสนับสนุนพลังงานสะอาด จนถึงปัจจุบัน (24 ธันวาคม พ.ศ. 2561) มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 10 ราย[55] ในจำนวนนี้เสียชีวิตที่ สทราซบูร์ 4 ราย จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล 1 ราย มีผู้ชุมนุมกว่า 3 แสนราย ผู้ประท้วงบางส่วนเรียกร้องให้ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง ลาออก ผู้ที่ออกมาชุมนุมประท้วงครั้งนี้ได้รับการขนานนามว่า "กลุ่มเสื้อกั๊กเหลือง" กลุ่มผู้ประท้วงปิดกั้นถนนสำคัญหลายเส้นทางทั่วประเทศ สกัดการเข้าถึงโรงกลั่นและโกดังเก็บน้ำมัน ทำให้การจราจรติดขัดในหลายเมืองใหญ่ รวมทั้งกรุงปารีส เมืองมาร์แซย์ทางใต้ และเมืองลีลทางเหนือของประเทศ มีการปล้นร้านค้า เผารถยนต์ ทุบกระจก และทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีรายงานการปิดถนนในหลายเมืองทั่วประเทศกว่า 2,000 จุด[56][57]การประท้วงเกิดขึ้นที่ เมืองบอร์โด (Bordeaux), เมืองตูลูซ (Toulouse), และเมืองมาร์แซย์ (Marseille)[58] แบลฟอร์, สทราซบูร์, เรอูนียง, ลียง, นองต์, เบอซ็องซง, น็องซี, แซ็งเตเตียน[59]โดยมีศูนย์กลางการประท้วงที่ ปารีส

การประท้วงที่เรอูนียง มีการปิดถนนสายสำคัญบนเกาะ[60] ทำให้ท่าอากาศยาน โรลังด์ การ์รอส ต้องปิดก่อนเวลา

ภายหลังกกลุ่มผู้ประท้วงได้เสนอให้ พลเอก ปีแยร์ เดอ วีลีเย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บริหารประเทศ[61] อาน อีดาลโก นายกเทศมนตรีกรุงปารีส บอกสื่อท้องถิ่นว่าการชุมนุมเมื่อวันเสาร์ ทำให้เกิดความเสียหายมูลค่าประมาณ 3–4 ล้านยูโร (ประมาณ 111–148 ล้านบาท) ผู้ค้าปลีกบางรายพบว่ายอดจำหน่ายสินค้าลดลงร้อยละ 20–40 ระหว่างการชุมนุม ขณะที่ร้านอาหารบางแห่งต้องสูญเสียรายได้ไปถึงร้อยละ 20–50 ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงมากกว่า 400 คน มีผู้บาดเจ็บ 130 ราย เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 23 ราย[62] ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561 อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล ปิดซ่อมแซมโดยไม่มีกำหนดมีรายงานว่าประตูชัยฝรั่งเศสถูกพ่นสี และอาคารถูกเผากว่า 6 หลัง[63] วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561 การชุมนุมประท้วงยังขยายไปที่กลุ่มนักเรียนในฝรั่งเศสที่ลงมือเผาอาคารของโรงเรียน[64] เพื่อแสดงความคัดค้านระบบการสมัครสอบเข้ามหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการฝรั่งเศส จนมีการจับกุมผู้ก่อเหตุราว 140 ราย เฉพาะที่กรุงปารีสมีรถยนต์ถูกเผากว่า 100 คัน[65]

ต่อมา ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ทางการเตรียมตำรวจปราบจลาจล จำนวน 89,000 ราย และสั่งให้รถหุ้มเกราะออกปฏิบัติการ พร้อมสั่งปิดหอไอเฟล,[66] พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย, พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, ช็องเซลีเซ, อาร์กเดอทรียงฟ์เดอเลตวล, กร็องปาแล และปาร์กเดแพร็งส์[67] เพื่อรับมือการประท้วงที่จะเกิดขึ้น[68] การประท้วงเริ่มขึ้นโดยกลุ่มผู้ประท้วงได้เผารถยนต์ ขว้างปาก้อนหิน และปล้นร้านค้าและร้านอาหาร ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงกว่า 1,723 คน ในจำนวนนี้ถูกควบคุมตัวไว้สอบปากคำ 1,220 คน มีการประมาณการตัวเลขผู้ประท้วงที่ 136,000 คน[69] วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561 เกิดเหตุยิงกันในสทราซบูร์ พ.ศ. 2561

ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ทางการได้สั่งปิด พระราชวังแวร์ซาย[70]วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2561 การชุมนุมยังเกิดใน บอร์โด น็องต์ ปารีส โดยมีการจุดไฟเผารถยนต์เผาทำลายแนวกั้นและมีการปะทะกับตำรวจโดยมีผุ้ได้รับบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาหลายรายและจับกุมรวม 57 ราย[71]วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2562 กลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกรุกสำนักงานโฆษกรัฐบาลของประเทศฝรั่งเศส มีการปาระเบิดเพลิง จุดไฟเผารถจักรยานยนต์ เผาเรือในแม่น้ำ[72]วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2562 เกิดเหตุแก๊สระเบิดที่กรุงปารีสมีผู้เสียชีวิต 4 ราย[73]ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2562 ได้เกิดเหตุมีกลุ่มผู้ชุมนุมผ้าพันคอแดง ออกมาปะทะกับขบวนการเสื้อกั๊กเหลือง[74]

ภายหลังเหตุเพลิงไหม้อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส ขบวนการเสื้อกั๊กเหลืองได้วิพากษ์วิจารณ์การบริจาคเงินเพื่อบูรณะซ่อมแซมว่ากลุ่มคนรวยในประเทศฝรั่งเศส บริจาคเงินเพื่อที่จะได้ลดภาษี[75]

วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีคำสั่งปลดผู้บัญชาการตำรวจปารีส[76]

วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส มีประกาศเตือนนักท่องเที่ยวและประชาชนชาวไทย ว่า มีการชุมนุมครั้งที่ 29 ที่ เมืองปารีส ณ จตุรัส Denfert-Rochereau เวลา 11.00 น.

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 มีกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากแอฟริกาตะวันตก หรือ กลุ่มเสื้อกั๊กดำ ประท้วงที่ วิหารแพนธีออน ณ กรุงปารีส ประมาณ 300 คน [77]

เบื้องหลัง[แก้]

การประท้วงประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2560
สถานที่ชุมนุมในเดือนมิถุนายน2562

ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นดินแดนแห่งผู้ลี้ภัยในยุโรป[78]ประมาณการผู้อพยพชาวต่างชาติในฝรั่งเศส 1.5 ล้านคน วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้แรงงานในประเทศฝรั่งเศสเป็นชาวต่างชาติมากขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติรายงานว่ามี ชาวซีเรียอพยพมาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส 20,348 คน[79]

ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่เก็บภาษีคนรวยในอัตราที่สูงมาก[80] ประธานาธิบดีแอมานุแอล มาครง ได้พยายามยกเลิกการเก็บภาษีนี้

การประท้วงเพื่อต่อต้านรัฐบาลและประธานาธิบดีเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[81] ภายหลังการดำรงตำแหน่งของ เลือกตั้งประธานาธิบดีเพียง 1 วัน

วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2561 สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานครั้งใหญ่กว่า 2 แสนคน[82] ที่จังหวัดโอด ประเทศฝรั่งเศส มีผู้ก่อการร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนยิง จนมีผู้เสียชีวิต 4 ราย[83]

ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีการประท้วงเพื่อการต่อต้านนโยบายปฏิรูปแรงงาน[84] ตำรวจได้จับกุมผู้ประท้วงกว่า 200 ราย มีผู้บาดเจ็บรวม 4 ราย

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 มีการประท้วงประธานาธิบดีเพื่อต่อต้านนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจที่กลุ่มผู้ชุมนุมระบุว่าเป็นการเอื้อต่อคนรวย[85]

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 การชุมนุมเพื่อฉลองชัยชนะในฟุตบอลโลกกลายเป็นการจลาจลมีผู้เสียชีวิต 2 ราย[86] บาดเจ็บ 3 ราย

การว่างงานในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2561 อยู่ในอัตราร้อยละ 10[87]

อ้างอิง[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cour1
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Monde_Wallonie
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lci.fr
  4. 4.0 4.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ france1
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Reiger
  6. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Croatia
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ talouselämää-yellow-vests
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rfi11
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NBCiraq
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ iri11
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ JPost
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Italy
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Taylor
  14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ abc11
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Netherlands
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PAGE
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Portugal
  18. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Russia
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Neda Kurjački
  20. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bah11
  21. "Yellow Vests continue protests across Europe". Anadolu Agency. 2 February 2019.
  22. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cnn11
  23. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ alar11
  24. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ busybees
  25. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Spire
  26. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lemo11
  27. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ local3010
  28. 28.0 28.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ radar
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ atla11
  30. "In their own words: France's yellow vests explain their grievances and goals". The Local. 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
  31. Durand, Cédric (14 December 2018). "A Movement With a Future". Jacobin. สืบค้นเมื่อ 18 February 2019. The second path is that of the Left and the social movements, a direction clearly developed in the critique of neoliberalism since the 1990s. Among the gilets jaunes, demands for social justice, wage increases, defense of public services, and hostility to the oligarchy have been fueled by several decades of criticism of globalized and financialized capitalism. The centrality of demands for the restoration of the wealth tax, and the circulation of videos of François Ruffin or Olivier Besancenot, testify to the strength of this left wing of the movement.
  32. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Mercury
  33. 33.0 33.1 33.2 33.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ 42_Directives
  34. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fr234
  35. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rioting
  36. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nc2411
  37. "Anarchists, butchers and finance workers: A look at the Paris rioters". The Local. December 5, 2018. สืบค้นเมื่อ March 10, 2019.
  38. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ forb0212
  39. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ arson
  40. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ tele11
  41. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ thelocal0312
  42. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ theguardian
  43. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbcSpeech
  44. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ durand
  45. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ npr11
  46. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ran231
  47. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ R1
  48. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bfm9874983
  49. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Telegraph181222
  50. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ SudinfoBelga
  51. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ libr11
  52. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cnn12
  53. "« Gilets jaunes » : plus de 8 000 arrestations depuis le début du mouvement, selon le ministre de l'intérieur". Le Monde. 14 February 2019.
  54. "'Yellow vest' protests: Scattered demonstrations seen in France". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  55. สำนักงาน ก.พ. การชุมนุมประท้วงรัฐบาลด้วยการปิดถนนในหลายเมืองทั่วฝรั่งเศส -
  56. "blocage17novembre.com". www.blocage17novembre.com.
  57. "ก้าวไปข้างหน้า (En Marche) หรือควรถอยมาสักก้าว ฝรั่งเศสจะทำอย่างไรต่อ เมื่อประท้วงเสื้อกั๊กเหลืองยังดุเดือด | THE MOMENTUM" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-12-10.
  58. "ม็อบเสื้อกั๊กเหลืองประท้วงรอบที่ 5 ยอดหดกว่าครึ่ง". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
  59. "กลุ่มคน 'เสื้อกั๊กเหลือง' ชุมนุมประท้วง ป่าวร้องว่าฝรั่งเศสกำลังขัดข้อง | THE MOMENTUM" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-11-23.
  60. "ม็อบเสื้อกั๊กเหลืองจี้มาครงลาออก ให้อดีต ผบ.สส. บริหารแทน". BBC News ไทย. สืบค้นเมื่อ 2022-01-05.
  61. "เหตุจลาจล "เสื้อกั๊กเหลือง" ใน Paris กระทบหนักการท่องเที่ยวฝรั่งเศส". Forbes Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-12-03.
  62. "'มาครง'ดูพื้นที่พบ'ปารีส'เสียหายยับ สั่งนายกฯนัดเจรจาม็อบ'เสื้อกั๊กเหลือง'". mgronline.com. 2018-12-03.
  63. "นร.ฝรั่งเศสจุดไฟประท้วง 100 แห่ง ค้านระบบสมัครเข้ามหาวิทยาลัย". Thai PBS. 2018-12-05.
  64. Marie - (2018-12-03). "ANALYSIS: The savage violence in Paris was not a protest, it was an insurrection". The Local France (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  65. ฝรั่งเศสเครียด ปิดหอไอเฟล 8 ธ.ค. หวั่นม็อบเสื้อกั๊กเหลือง ประท้วงแรง - ไทยรัฐ
  66. https://www.bbc.com/thai/international-46482397
  67. ระดมตำรวจแสนนาย - รถเกราะ รับมือผู้ชุมนุมฝรั่งเศส : PPTVHD36
  68. http://daily.bangkokbiznews.com/detail/353644
  69. สถานทูตเตือนคนไทยในฝรั่งเศส เลี่ยงที่ชุมนุมตามเมืองใหญ่ 22 ธ.ค.นี้
  70. ฝรั่งเศส-เสื้อกั๊กเหลืองประท้วงขับไล่ ปธน.มาครง ส่งท้ายปี
  71. ฝรั่งเศสเดือด!ม็อบเสื้อกั๊กเหลืองปะทะตำรวจอีก-บุกพังสำนักงานโฆษกรัฐบาล
  72. 4 ศพสังเวยแก๊สระเบิดกลางกรุงปารีส 'มาครง' ยกย่อง 2 ดับเพลิงฮีโร่สละชีพ
  73. [https://www.matichon.co.th/foreign/news_1337776 ม็อบชนม็อบ! ‘ผ้าพันคอแดง’ นับหมื่นเดินขบวนต้าน ‘กั๊กเหลือง’ ในปารีส
  74. กลุ่มเสื้อกั๊กเหลืองโจมตีเศรษฐีบริจาคเงินฟื้นนอเทรอดาม
  75. ฝรั่งเศสสั่งปลดผู้ชัญชาการตำรวจปารีส
  76. ปารีสวุ่นไม่หยุด ‘เสื้อกั๊กดำ’ บุกมหาวิหารแพนธีออน เรียกร้องสิทธิที่จะอยู่ในฝรั่งเศส
  77. http://www.ces.in.th/main/PTT/academicseminar_krisana_2007.ppt
  78. https://www.bbc.com/thai/international-43440129
  79. http://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=41736[ลิงก์เสีย]
  80. Protests in Paris a day after Macron is elected French president
  81. ยืดเยื้อ! ชาวฝรั่งเศส 2 แสนคนประท้วงใหญ่ กระทบเที่ยวบินรถไฟโรงเรียน
  82. ก่อการร้ายฝรั่งเศส: มีผู้เสียชีวิตรวม 4 คน บาดเจ็บ 16 คน - BBC News บีบีซีไทย
  83. ฝรั่งเศสจับ 200 ผู้ประท้วงปิดหน้า ก่อจลาจลวันแรงงาน - BBC News บีบีซีไทย
  84. ฝรั่งเศสนับหมื่นเดินขบวนประท้วงนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจ ‘มาครง’ ไม่สนเดินหน้าต่อ
  85. เศร้าในสุข! ฝรั่งเศส มีเหตุตาย 2 เจ็บอีก 3 สังเวยฉลองแชมป์ฟุตบอลโลก - ข่าวสด
  86. ปธน. ฝรั่งเศสแนะคนตกงาน "แค่ข้ามถนนไปก็ได้งานทำแล้ว" - BBC News บีบีซี