วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำขอที่ลี้ภัยในรัฐสหภาพยุโรปและสมาคมการค้าเสรียุโรประหว่าวันที่ 1 มกราคมถึง 30 มิถุนายน 2558 ตามข้อมูลของยูโรสแตต

วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป หรือ วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2558 จากการที่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจ[1]เพิ่มขึ้นจากพื้นที่อย่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้[2][3] ทวีปแอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก[4]หลั่งไหลสู่สหภาพยุโรปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และสมัครขอที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากประเทศซีเรีย อัฟกานิสถานและเอริเตรีย มีการใช้คำนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558[5] เมื่อเรืออย่างน้อยห้าลำที่บรรทุกผู้ย้ายถิ่นมุ่งทวีปยุโรปเกือบสองพันคนล่มในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมียอดผู้เสียชีวิตรวมประเมินไว้กว่า 1,200 คน

วิกฤตการณ์นี้เกิดในบริบทความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในประเทศแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางหลายประเทศ ตลอดจนรัฐบาลสหภาพยุโรปหลายแห่งที่ปฏิเสธสมทบตัวเลือกช่วยเหลือปฏิบัติการมาเรนอสตรัม (Operation Mare Nostrum) ที่ประเทศอิตาลีดำเนินการ ซึ่งปฏิบัติการไทรทันของฟรอนเท็กซ์ (Frontex) รับช่วงต่อในเดือนพฤศจิกายน 2557 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 รัฐบาลสหภาพยุโรปตกลงอุดหนุนปฏิบัติการตระเวนชายแดนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นสามเท่าเพื่อให้เท่ากับขีดความสามารถของปฏิบัติการมาเรนอสตรัมก่อนหน้า แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลพลันวิจารณ์การสั่งการของสหภาพยุโรปที่ไม่ "ขยายพื้นที่ปฏิบัติการของไทรทัน" ไปพื้นที่ซึ่งเดิมครอบคลุมในมาเรนอสตรัม หลายสัปดาห์ต่อมา สหภาพยุโรปตัดสินใจเริ่มปฏิบัติการใหม่ซึ่งมีฐานที่กรุงโรม ชื่อว่า อียูเนฟฟอร์เมด (EU Navfor Med) ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกชาวอิตาเลียน เอนรีโก กรีเดนดีโน

ตามข้อมูลของยูโรสแตด รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปได้รับคำขอที่ลี้ภัย 626,000 ครั้งในปี 2557 เป็นจำนวนสูงสุดนับแต่คำขอ 672,000 ครั้งที่ได้ในปี 2535[6] ในปี 2557 การตัดสินใจเรื่องคำขอที่ลี้ภัยในสหภาพยุโรปในชั้นต้นส่งผลให้ผู้ขอที่ลี้ภัยกว่า 160,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครอง ขณะที่อีก 23,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครองระหว่างอุทธรณ์ (on appeal) อัตราการรับรองผู้ขอที่ลี้ภัยอยู่ที่ 45% ในชั้นต้นและ 18% ในชั้นอุทธรณ์ สี่รัฐ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี สวีเดน อิตาลีและฝรั่งเศสได้รับคำขอที่ลี้ภัยราวสองในสามของสหภาพยุโรปและให้สถานภาพคุ้มครองเกือบสองในสามในปี 2557 ขณะที่สวีเดน ฮังการีและออสเตรียติดประเทศที่รับคำขอที่ลี้ภัยของสหภาพยุโรปต่อหัวมากที่สุด เมื่อปรับกับประชากรของตนแล้ว[7][8]

สถิติด้านประชากรศาสตร์[แก้]

ก่อนปี 2557 จำนวนการยื่นขอที่ลี้ภัยในสหภาพยุโรปในปี 2535 ยอด (672,000), 2544 (424,000) และ 2556 (431,000) และในปี 2557 มีมากถึง 626,000 ตามรายงานของ UNHCR, ประเทศในสหภาพยุโรปที่มีตัวเลขที่ใหญ่ที่สุดของผู้ลี้ภัยที่ได้รับการยอมรับในปลายปี 2557 เป็นฝรั่งเศส (252,264), เยอรมนี (216,973), สวีเดน (142,207) และสหราชอาณาจักร (117,161)

อ้างอิง[แก้]

  1. "UNHCR viewpoint: 'Refugee' or 'migrant' – Which is right?". UNHCR."The majority of people arriving this year in Italy and Greece especially have been from countries mired in war or which otherwise are considered to be 'refugee-producing' and for whom international protection is needed. However, a smaller proportion is from elsewhere, and for many of these individuals, the term 'migrant' would be correct."
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ origins
  3. "Europe's Migration Crisis". Council on Foreign Relations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-23. สืบค้นเมื่อ 2015-12-20.
  4. "Migrant crisis: Explaining the exodus from the Balkans". BBC News. สืบค้นเมื่อ 19 September 2015.
  5. "Europe migrant crisis". BBC News.
  6. "Asylum statistics". EUROSTAT. สืบค้นเมื่อ 4 September 2015.
  7. "euronews – Data raises questions over EU's attitude towards asylum seekers". euronews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-28. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
  8. "Which Countries Are Under the Most Strain in the European Migration Crisis?". The New York Times. 28 August 2015. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.