การกวดวิชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในแวดวงศึกษาศาสตร์ การกวดวิชา (หรือการติว/การท่องสอบ) เป็นการพยายามจดจำข้อมูลปริมาณมากในเวลาน้อยอย่างอุกอาจ นักเรียนมักใช้วิธีกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเพื่อให้ได้ผลสอบที่ดีขึ้นในเวลาสั้นๆ ในระยะยาวแล้ว นักศึกษาศาสตร์ไม่แนะนำวิธีดังกล่าวเพราะว่าพยายามจำจดเนื้อหาในเวลาสั้นๆจะทำให้ลืมเนื้อหาเร็วขึ้นและไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจในระยะยาว ในกวดวิชาได้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของสังคมไทยไปแล้วโดยมีโรงเรียนกวดวิชาเป็นจำนวนมาก ไม่เฉพาะแต่นักเรียนที่กำลังจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย การกวดวิชาเพื่อสอบเข้ารับราชการหรือรับตำแหน่งอื่นๆก็มี

สถานการณ์ที่พบการกวดวิชา[แก้]

การกวดวิชาพบมากก่อนการสอบในระยะเวลาสั้นๆ บางครั้ง นักเรียนอาจเลือกที่จะอ่านหนังสือท่องสอบเพียงแค่คืนเดียวก่อนการสอบ ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในเครือจักรภพ มีการกวดวิชาหรือท่องหนังสืออย่างหนักในช่วงหนึ่งสัปดาห์ก่อนการสอบ (revision week) ในประเทศไทย มีการกวดวิชาตามโรงเรียนกวดวิชาทั่วไปตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีการจ้างครูสอนพิเศษมากวดวิธีตามบ้านหรือสถานที่ต่างๆทั่วไป ผู้ปกครองอาจกวดวิชาให้บุตรหลานตนเอง นักเรียนก็อาจจะ "ติวสอบ" ตัวเองในช่วงก่อนการสอบสำคัญ เช่นการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา

การกวดวิชาในรูปแบบของวิธีการเรียน[แก้]

ในหนังสือ 'คำสาบของการศึกษา (The Curse of Education)' โดย H.E. Gorst การมีการกล่าวว่าการกวดวิชาหากทำไปพร้อมกับการเรียนอย่างสม่ำเสมอจะส่งผลที่ไม่ดีไม่แย่

ถึงแม้ว่าการกวดวิชาจะไม่ใช่วิธีเรียนที่ได้รับคำแนะนำแต่การกวดวิชาก็พบเห็นได้มากขึ้นเรื่อยๆเมื่อนักเรียนหรือนักศึกษาได้รับแรงกดดันให้เรียนดีในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา แรงกดดันด้านต่างๆ เช่นการที่นักเรียนต้องร่วมกิจกรรมมากมายนอกหลักสูตรหรือการที่ผู้เรียนมีภาระหน้าที่อื่นๆด้วยนั้น ส่งผลให้การกวดวิชาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น การกวดวิชาหรือการท่องหนังสือสอบจึงเป็นวิธีที่ใช้บ่อยในการเตรียมสอบหรือการวัดผลอื่นๆ

ในการเรียนของนักเรียนมัธยม การกวดวิชาคือการท่องจำหรือหาสูตรลัดในการทำข้อสอบในเวลาสั้นๆ เหตุที่ต้องกวดวิชาเป็นเพราะว่าบริหารจัดการเวลาไม่ดี ทั้งนี้ อาจมีสูตรลัดหรือวิธีจำที่สถาบันกวดวิชาพัฒนาใช้ได้ผลกับนักเรียนบางรายอีกด้วย