การกราดยิงเลียนแบบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การกราดยิงเลียนแบบ (อังกฤษ: mass shooting contagion) เป็นทฤษฎีที่ศึกษาลักษณะและผลลัพธ์ของการนำเสนอของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการกราดยิงหมู่ ซึ่งน่าจะมีส่วนให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบมากขึ้น[1] ในระยะหลังมีการศึกษาทางวิชาการเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มากขึ้น เนื่องจากเหตุการณ์กราดยิงหลายครั้ง โดยเฉพาะในสหรัฐ มักอ้างถึงเหตุการณ์ก่อนหน้าว่าเป็นแรงบันดาลใจ ทั้งยังปรากฏความมุ่งประสงค์ที่จะมีชื่อเสียงผ่านการใช้ความรุนแรง[2] เหตุการณ์กราดยิงเหตุการณ์แรกที่ได้รับการนำเสนออย่างกว้างขวางอย่างต่อเนื่อง คือ การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ เมื่อ พ.ศ. 2542 ทำให้บุคคล 2 รายที่เป็นผู้ก่อเหตุได้รับชื่อเสียงขึ้นอย่างฉับพลัน และนักวิจัยมักเสนอว่า ลักษณะนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการเลียนแบบ[3]

เหตุกราดยิงที่สยามพารากอน ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2566 ก็มีผู้นำเสนอว่า เป็นพฤติกรรมเลียนแบบเหตุการณ์ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ดังกล่าว เนื่องจากผู้ก่อเหตุในประเทศไทยเจาะจงแต่งตัวและใช้อาวุธเหมือนผู้ก่อเหตุที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์[4][5]

อ้างอิง[แก้]

  1. Murray, Jennifer (January 2017). "Mass Media Reporting and Enabling of Mass Shootings". Cultural Studies ↔ Critical Methodologies. 17 (2): 114–124. doi:10.1177/1532708616679144. S2CID 151618772.
  2. Lankford, Adam (February 2016). "Fame-Seeking Rampage Shooters: Initial Findings and Empirical Predictions". Aggression and Violent Behavior. 27: 122–129. doi:10.1016/j.avb.2016.02.002.
  3. Weissmueller, Zach (16 September 2022). "Are the Media Making Mass Shootings Worse?". reason.com. Reason. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2022. สืบค้นเมื่อ 21 September 2022.
  4. Chanoknun (2023-10-04). "เปรียบเทียบชุด มือยิงพารากอน – กราดยิงโรงเรียนอเมริกา 15 ศพ บังเอิญหรือเลียนแบบ?". Thaiger.
  5. "ชาวเน็ตคาดอีกสาเหตุ เด็ก 14 ยิงกลางพารากอน เป็นพฤติกรรมเลียนแบบต่างชาติ". ทีนิวส์. 2023-10-04.