การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์

พิกัด: 39°36′12″N 105°04′29″W / 39.60333°N 105.07472°W / 39.60333; -105.07472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์
หอสมุดโฮปโคลัมไบน์เมโมเรียล
สร้างขึ้นหลังเกิดเหตุ
สถานที่โคลัมไบน์ รัฐโคโลราโด สหรัฐ
พิกัด39°36′12″N 105°04′29″W / 39.60333°N 105.07472°W / 39.60333; -105.07472
วันที่20 เมษายน 1999; 25 ปีก่อน (1999-04-20)
11:19 – 12:08 น. (MDT (UTC−6))
เป้าหมายนักเรียนและคณาจารย์โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์; อาสากู้ชีพ
ประเภทการสังหารหมู่, การยิงสังหารในโรงเรียน, การฆาตกรรม-ฆ่าตัวตาย, การพยายามลอบวางระเบิด
ตาย15 ราย (รวมผู้ก่อเหตุ)
เจ็บ24 ราย (ถูกยิง 21 ราย)
ผู้ก่อเหตุเอริก แฮร์ริสและดีแลน คลีโบลด์
เหตุจูงใจยังไม่สรุป; พบหลักฐานการเป็นไซโคพาธในแฮร์ริส และโรคซึมเศร้าในคลีโบลด์
คำบอกเล่าของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์

การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ เป็นเหตุยิงสังหารและพยายามลอบวางระเบิดในโรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์ รัฐโคโลราโด สหรัฐ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2542 เมื่อเอริก แฮร์ริสและดีแลน คลีโบลด์ นักเรียนเกรด 12 พยายามจะวางระเบิดในโรงอาหารแต่ระเบิดไม่ทำงาน ทั้งสองจึงใช้ปืนกราดยิงนักเรียนและคณาจารย์ ก่อนจะย้ายไปที่หอสมุด ที่ซึ่งพวกเขาสังหารนักเรียน 10 คนและยิงสู้กับตำรวจก่อนจะยิงตัวตายทั้งคู่ เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวม 15 ราย บาดเจ็บ 24 ราย[1]

เหตุจูงใจของผู้ก่อเหตุยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่พบหลักฐานว่าแฮร์ริสและคลีโบลด์มีปัญหาทางจิต มีบันทึกว่าทั้งสองวางแผนมานานและตั้งใจให้เหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ[2] หนังสือพิมพ์ ยูเอสเอทูเดย์ ระบุว่า "หากเป็นไปตามที่ผู้ก่อเหตุวางแผน อาจถือเป็นการก่อการร้ายได้"[3]

การสังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมโคลัมไบน์เป็นเหตุยิงกันในโรงเรียนที่ร้ายแรงอันดับห้าในประวัติศาสตร์สหรัฐ และมีการก่อเหตุเลียนแบบตามมาหลายครั้ง[4] เหตุการณ์นี้ยังส่งผลที่ตามมาหลายอย่าง เช่น กลยุทธของตำรวจในการรับมือกับเหตุการณ์ การใช้ชีวิตและความปลอดภัยในโรงเรียน กฎหมายอาวุธปืน ความรุนแรงในวิดีโอเกม[5][6][7][8]

อ้างอิง[แก้]

  1. Rosenberg, Jennifer (January 24, 2018). "The Columbine Massacre School Shooting April 20, 1999". ThoughtCo. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  2. Cullen, Dave (April 20, 2004). "At last we know why the Columbine killers did it". Slate Magazine. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  3. Toppo, Greg (April 14, 2009). "10 years later, the real story behind Columbine". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2009. สืบค้นเมื่อ April 14, 2009.
  4. Gibbs, Nancy; Roche, Timothy (December 12, 1999). "The Columbine Tapes" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-07. สืบค้นเมื่อ 2019-05-27 – โดยทาง content.time.com.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  5. Sanchez, Ray (February 16, 2018). "How Columbine changed the way police respond to mass shootings". CNN. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  6. Shapiro, Emily (April 20, 2019). "20 years after Columbine, what's changed -- and what hasn't -- for school shootings in America". ABC News. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  7. Lopez, German (April 20, 2019). "20 years after Columbine, the guns are still the problem". Vox. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.
  8. Keneally, Meghan (May 22, 2018). "Breaking down the debate over violent video games and school shootings". ABC News. สืบค้นเมื่อ May 27, 2019.