ข้ามไปเนื้อหา

กาชาดแคนาดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สภากาชาดแคนาดา
(Croix-Rouge canadienne)
ก่อตั้งค.ศ. 1896
ประเภทองค์กรการกุศล[1]
สํานักงานใหญ่ออตตาวา รัฐออนแทรีโอ
ผู้สำเร็จราชการแคนาดา
เว็บไซต์www.redcross.ca

สภากาชาดแคนาดา (อังกฤษ: Canadian Red Cross Society; ฝรั่งเศส: La Société canadienne de la Croix-Rouge)[1] เป็นองค์กรการกุศลด้านมนุษยธรรมของแคนาดา และเป็นหนึ่งใน 192 สมาคมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดง องค์กรนี้ได้รับเงินทุนจากการบริจาคของเอกชนและจากหน่วยงานรัฐบาลของประเทศแคนาดา[2]

ซึ่งกาชาดแคนาดาได้ฝึกอบรมอาสาสมัครในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน, การตอบสนองต่อภัยพิบัติ และความช่วยเหลือจากภัยพิบัติ รวมถึงให้บริการป้องกันการบาดเจ็บ เช่น ความปลอดภัยในกิจกรรมกลางแจ้ง ตลอดจนการฝึกอบรมปฐมพยาบาล สภาดังกล่าวได้ผ่านเครือข่ายระหว่างประเทศของสภากาชาด โดยช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบางของโลก รวมถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้งด้วยอาวุธและชุมชนที่ถูกทำลายจากภัยพิบัติ[3] และกาชาดแคนาดายังดูแลการจัดหาเลือดของแคนาดา กระทั่งความรับผิดชอบนั้นถูกพรากไปจากพวกเขาภายหลังจากเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับเลือดที่ปนเปื้อน

ส่วนเลขาธิการใหญ่และประธานบริหารคนปัจจุบันของกาชาดแคนาดาคือคอนราด โซเว[4]

ประวัติ

[แก้]
อาสาสมัครจากกาชาดแคนาดาขณะรวบรวมพัสดุสำหรับเชลยศึกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

กาชาดแคนาดาได้รับการก่อตั้งขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1896 ในฐานะพันธมิตรสภากาชาดสหราชอาณาจักร (ขณะนั้นรู้จักกันในชื่อสมาคมแห่งชาติเพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยและบาดเจ็บในสงคราม) ซึ่งจอร์จ ไรเออร์สัน ผู้ก่อตั้งสมาคมเซนต์จอห์นแอมบิวแลนซ์แห่งประเทศแคนาดาใน ค.ศ. 1895 เป็นผู้นำหน้าในการก่อตั้งองค์กร[5] และพระราชบัญญัติสภากาชาดแคนาดา (ค.ศ. 1909) ได้จัดตั้งกาชาดอย่างถูกต้องตามกฎหมายในฐานะองค์กรในประเทศแคนาดาที่รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลืออาสาสมัครตามอนุสัญญาเจนีวา

กิจกรรมระหว่างประเทศครั้งแรกของกาชาดแคนาดาคือการรักษาคนป่วยและผู้บาดเจ็บในแอฟริกาใต้ในช่วงสงครามบูร์[5]

หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1918 ทางสภาได้เริ่มฝึกอบรมพยาบาลสาธารณสุข[6][7] และมีด่านตรวจกาชาดวิลเบอร์ฟอร์ซก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1922[8] ตลอดจนหลักสูตรสำหรับเด็กที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมการใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดี เรียกว่าจูเนียร์เรดครอส ได้รับการจัดตั้งขึ้นในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศแคนาดา[9]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 The Canadian Red Cross Society, Charities Directorate – Government of Canada.
  2. Brian H. Smith (14 July 2014). More Than Altruism: The Politics of Private Foreign Aid. Princeton University Press. p. 30. ISBN 978-1-4008-6095-1.
  3. Fiona Duguid; Karsten Mündel; Daniel Schugurensky (12 June 2013). Volunteer Work, Informal Learning and Social Action. Springer Science & Business Media. p. 64. ISBN 978-94-6209-233-4.
  4. "Executive Leadership Team". Canadian Red Cross. สืบค้นเมื่อ December 22, 2021.
  5. 5.0 5.1 Jonathan F. Vance (1 November 2011). Objects of Concern: Canadian Prisoners of War Through the Twentieth Century. UBC Press. p. 11. ISBN 978-0-7748-4279-2.
  6. Neil Sutherland; Cynthia Comacchio (1 January 2006). Children in English-Canadian Society: Framing the Twentieth-Century Consensus. Wilfrid Laurier Univ. Press. p. 85. ISBN 978-0-88920-589-5.
  7. Janet C. Ross-Kerr; Janet C. Kerr (1998). Prepared to Care: Nurses and Nursing in Alberta, 1859 to 1996. University of Alberta. p. 81. ISBN 978-0-88864-292-9.
  8. "Wilberforce Red Cross Outpost National Historic Site of Canada". www.pc.gc.ca (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-11.
  9. Loren Lerner (20 May 2009). Depicting Canada's Children. Wilfrid Laurier Univ. Press. pp. 281–283. ISBN 978-1-55458-285-3.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]