กันนิยากุมริ

พิกัด: 8°05′18″N 77°32′19″E / 8.088300°N 77.538500°E / 8.088300; 77.538500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก กันยากุมารี)
กันนิยากุมริ
นคร
อนุสรณ์สถานวิเวกานันทศิลา กันนิยากุมริ
สมญา: 
เคปคอมอริน, กุมริ, ติรุเวณิสังฆัม
กันนิยากุมริตั้งอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู
กันนิยากุมริ
กันนิยากุมริ
กันนิยากุมริตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
กันนิยากุมริ
กันนิยากุมริ
พิกัด: 8°05′18″N 77°32′19″E / 8.088300°N 77.538500°E / 8.088300; 77.538500
ประเทศอินเดีย
รัฐทมิฬนาฑู
อำเภอกันนิยากุมริ
ตั้งชื่อจากเทวีกันยา กุมริ
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.89 ตร.กม. (10.00 ตร.ไมล์)
ความสูง60 เมตร (200 ฟุต)
ประชากร
 (2012)
 • ทั้งหมด29,761 คน
 • ความหนาแน่น665 คน/ตร.กม. (1,720 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN629 702
รหัสโทรศัพท์91-4652 & 91-4651
ทะเบียนพาหนะTN 74 & TN 75
เว็บไซต์www.kanniyakumari.nic.in

กันนิยากุมริ (ทมิฬ: கன்னியாகுமரி; Kanniyakumari, US: /kənˈjʌkʊmɑːr/; แปลว่า กุมารีผู้เป็นกันย์ หมายถึงเทวีกันยกุมารี) หรือ กันยากุมารี (อักษรโรมัน: Kanyakumari) หรือชื่อเดิม เคปคอมอริน (อังกฤษ: Cape Comorin) เป็นเมืองในอำเภอกันนิยากุมริ รัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ถือว่าเป็นเมืองที่อยู่ทิศใต้สุดของอินเดียแผ่นดินใหญ่ และนิยมเรียกกันว่าเป็น "จุดสิ้นสุดดินแดน" ("The Land's End") เมืองนี้ตั้งอยู่ห่างไป 90 กิโลเมตร (56 ไมล์) ทางใต้ของนครติรุวนันตปุรัม และ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) ทางใต้ของนครโกยิล ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของอำเภอกันนิยากุมริ

กันนิยากุมริเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและจุดหมายปลายทางการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของอินเดีย สถานที่ท่องเที่ยวของกินนยากุมริ เช่น รูปปั้นติรุวัฬฬุวร และ อนุสรณ์สถานวิเวกานันทศิลา ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งของกันนิยากุมริ[1] เมืองกันนิยากุมริล้อมรอบด้วยทะเลลักษทวีปจากทั้งสามทิศ ยกเว้นทิศเหนือ[2] และมีพื้นที่ชายฝั่งความยาว 71.5 กิโลเมตร (44.4 ไมล์) อยู่สามด้านของเมือง[3]

บนชายฝั่งของเมืองมีศาสนสถานที่สำคัญหนึ่งสร้างขึ้นเพื่อบูชาเทวีกันนิยากุมริ (หรือ กันยากุมารี) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมือง[4] มีประวัติศาสตร์ของกันนิยากุมริเป็นนครมาตั้งแต่ยุคสมัยสังฆัม ปรากฏชื่อในวรรณกรรมมลยาฬัมโบราณ และในเอกสารของทั้งพทอเลมี และ มาร์โคโปโล[4][5][6]

ในตำนานหนึ่งของฮินดูเล่าว่า พระนางกันยเทวี อวตารปางหนึ่งของพระปารวตีกำลังจะสมรสกับพระศิวะ แต่พระศิวะมิได้เสด็จมาในพิธีสมรส ข้าวและธัญพืชต่าง ๆ ที่เตรียมไว้เลี้ยงฉลองในพิธีสมรสจึงถูกทิ้งไว้ไม่ได้นำไปประกอบอาหารหรือใช้งาน ต่อมาจึงกลายมาเป็นหิน ซึ่งเชื่อกันว่าคือหินชายฝั่งของกันนิยากุมริในปัจจุบันซึ่งดูเหมือนข้าวสาร มนเทียรของพระนางกันยเทวีในกันนิยากุมริถือว่าเป็นหนึ่งในศากติปีฐซึ่งได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงโดยคติลัทธิศักติในศาสนาฮินดู[7][8][9][10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "India Getaways: 16 Reasons Why You Should be Holidaying in Tamil Nadu | Nat Geo Traveller India".
  2. "Limits of Oceans and Seas, 3rd edition" (PDF). International Hydrographic Organization. 1953. p. 21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
  3. Kanniyakumari
  4. 4.0 4.1 "The eternal charm of Kanyakumari, that is situated at the tip of peninsular India..." The Hindu Images. สืบค้นเมื่อ 14 October 2023.
  5. Kanakasabhai, V (1997). The Malayalees Eighteen Hundred Years Ago. Asian Educational Services. p. 10. ISBN 8120601505.
  6. Abraham, Shinu (2003). "Chera, Chola, Pandya: using archaeological evidence to identify the Tamil kingdoms of early historic South India". Asian Perspectives. 42 (2): 207–223. doi:10.1353/asi.2003.0031. hdl:10125/17189. S2CID 153420843.
  7. "Shaktipeeth". Zee News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-04-06.
  8. Sharma, Divyanshi, บ.ก. (2019-10-03). "Navratri 2019: Know the origin and existence of the 51 Shaktipeethas". Zee News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
  9. Shankar, Ravi (26 September 2021). "Motherlodes of Power: The story of India's 'Shakti Peethas'". The New Indian Express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.
  10. Upadhyay, Lipi (23 September 2017). "Navratri for travellers: Visit these 51 Shakti-peeths and learn about their significance". India Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-28. สืบค้นเมื่อ 2021-12-28.