ข้ามไปเนื้อหา

กัญชาเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กัญชาเทศ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: กะเพรา
Lamiales
วงศ์: วงศ์กะเพรา
Lamiaceae
สกุล: Leonurus
Leonurus
L.
สปีชีส์: Leonurus sibiricus
ชื่อทวินาม
Leonurus sibiricus
L.

กัญชาเทศ (จีน: 益母草; พินอิน: Yìmǔcǎo) ชื่อวิทยาศาสตร์: Leonurus sibiricus เป็นพืชในวงศ์ Lamiaceae พบตั้งแต่ไซบีเรียจนถึงจีน ชื่ออื่น: ซ้าซา (นครพนม), ส่านํ้า (เลย), ผักหนอกช้าง (น่าน), เอี้ยะบ่อเช่า (จีนแต้จิ๋ว),[1] กัญชาจีน[2] เป็นพืชปลูกในสหรัฐ ในไทยพบตามหมู่บ้านชาวเขา ใบมีรูปร่างคล้ายใบกัญชา ออกดอกตามซอก ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอมแรง มีสารลีโอนูรีน ฤทธิ์คล้ายกับยากล่อมประสาท โดยเพิ่มระดับของ 5-ไฮดรอกซีทริปตามีน, นอร์อะดรีนาลีน และโดพามีน[3] เป็นยาสมุนไพร โดยตำรับยาพื้นบ้านใช้รักษามาลาเรีย[4]

ลักษณะ

[แก้]

เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ขึ้นในทุ่งหญ้าที่มีหินหรือทราย, ป่าสน ที่ความสูงตั้งแต่ระดับน้ำทะเลถึง 1,500 เมตร มีลำต้นตรงเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งก้านเล็กน้อย ความสูง 1–1.2 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปวงรีขอบใบหยักเว้าลึก ยาว 5–7 เซนติเมตร กว้าง 4–5 เซนติเมตร ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 ปาก ดอกมีหลายสีตามแต่สายพันธุ์เช่น สีขาว, สีม่วง และ สีแดง ออกช่วงฤดูฝนต่อเนื่องไปจนถึงฤดูหนาว ผล รูปทรงกลม แห้งไม่แตกขนาดเล็ก มี 3 สัน มีเมล็ดขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด[2][5]

เภสัชวิทยา

[แก้]

ช่วงที่ยังไม่ออกดอกสารที่พบในใบกัญชาเทศจะมีปริมาณมากกว่าช่วงที่ออกดอกแล้ว โดยเป็นสารประเภทแอลคาลอยด์ เช่น ลีโอนูรีน (Leonurine) ซึ่งเป็นสารที่กระตุ้นให้มดลูกบีบตัว และมีสาร Stachydrine, Leonuridine, Leonurinine เป็นต้น ส่วนข้อมูลอีกแหล่งระบุว่าลำต้นมีน้ำมันหอมระเหย 0.5% มีสารแอลคาลอยด์ ลีโอนูรีน ลักษณะเป็นผงอสัณฐานสีส้ม, มีสาร iridoids, leonuride ฯลฯ มีสารฟลาโวนอยด์ เช่น อะพิจีนีน, รูติน, เควอซิติน และอื่น ๆ[5]

กัญชาเทศ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ทำให้หลอดเลือดหดตัว ต้านการแข็งตัวของเลือด ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ[6]

น้ำต้มของลำต้นหรือสารสกัดจากแอลกอฮอล์ เมื่อนำมาฉีดเข้าหลอดเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลองหรือให้กระต่ายทดลองกิน พบว่ามดลูกของกระต่ายที่อยู่ในร่างกายหรือนำออกมานอกร่างล้วนมีการบีบตัวแรงและถี่ขึ้น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่า น้ำต้มมีประสิทธิภาพในการบีบตัวแรงกว่าสารที่สกัดได้จากแอลกอฮอล์ และยังพบว่าการออกฤทธิ์นั้นคล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง แต่ประสิทธิภาพจะด้อยกว่า เมื่อนำสารแอลคาลอยด์ที่ได้จากต้นกัญชาเทศ มาฉีดเข้าเส้นเลือดดำของกระต่ายที่นำมาทดลอง พบว่ามีผลทำให้กระต่ายมีการขับปัสสาวะถี่ขึ้น น้ำต้มหรือน้ำแช่ของลำต้นกัญชาเทศ มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อแบคทีเรียของโรคผิวหนังได้[5]

แอลคาลอยด์

[แก้]
ลีโอนูรีน เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งในกัญชาเทศ[7]

แอลคาลอยด์ที่แยกได้จากพืชชนิดนี้ได้แก่:[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :2
  2. 2.0 2.1 นายเกษตร (3 ตุลาคม 2012). ""กัญชาจีน" กับสรรพคุณยา". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2022.
  3. Jia, Miaomiao; Li, Chenxin; Zheng, Ying; Ding, Xiaojing; Chen, Meng; Ding, Jianhua; Du, Renhong; Lu, Ming; Hu, Gang (1 พฤศจิกายน 2017). "Leonurine Exerts Antidepressant-Like Effects in the Chronic Mild Stress-Induced Depression Model in Mice by Inhibiting Neuroinflammation". International Journal of Neuropsychopharmacology. 20 (11): 886–895. doi:10.1093/ijnp/pyx062. PMC 5737563. PMID 29016795.
  4. "กัญชาเทศ". บ้านและสวน. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 14 กรกฎาคม 2016.
  5. 5.0 5.1 5.2 "กัญชาเทศ" (PDF). กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
  6. "คำถาม : กัญชาเทศ". สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 7 พฤษภาคม 2009.
  7. "The Leonurine and its preparation". An Hui New Star Pharmaceutical Development Co. 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 พฤษภาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2008.
  8. "Leonurus sibiricus L. Labiatae Korean Name: Ik-mo-cho English Name: Motherwort Parts used. Herb. Traditional uses". webcache.googleusercontent.com. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2008.
  9. "prehispanolone - PubChem Public Chemical Database". Pubchem.ncbi.nlm.nih.gov. 29 พฤศจิกายน 2004. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2010.
  10. "stachydrine - PubChem Public Chemical Database". Pubchem.ncbi.nlm.nih.gov. 29 พฤศจิกายน 2004. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2010.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • จารุพันธ์ ทองแถม, ม.ล. (2012). ร้อยพรรณพฤกษา พืชมหัศจรรย์โลกวิกฤติ. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์. p. 469. ISBN 978-616-7376-46-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]