กะทือ
กะทือ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophytes |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงเดี่ยว Monocots |
เคลด: | Commelinids Commelinids |
อันดับ: | ขิง Zingiberales |
วงศ์: | วงศ์ขิง Zingiberaceae |
สกุล: | สกุลขิง Zingiber (L.) Roscoe ex Sm. |
สปีชีส์: | Zingiber zerumbet |
ชื่อทวินาม | |
Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
กะทือ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zingiber zerumbet) หรือชื่ออื่น ๆ เช่น กะทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ (เหนือ) เฮียงแดง (แม่ฮ่องสอน) เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5–1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับและเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5–10 ซม. ยาว 15–30 ซม. ด้านล่างของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง ติดอยู่ในใบประดับ มีเนื้อสีขาวบางหุ้มเมล็ด
ในจังหวัดกาญจนบุรี นำส่วนดอกและเหง้าใช้รับประทานเป็นผัก หรือใส่ในน้ำพริก[2] ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน นำเหง้าไปแกงกับปลาย่าง[3]
การกระจายพันธุ์และประวัติ
[แก้]กะทือมีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อนและภูมิภาคออสตราเลเชีย โดยชนิดย่อย Zingiber zerumbet subsp. cochinchinense (Gagnep.) Triboun & K.Larsen (เดิมคือ Z. cochinchinense) พบในเวียดนาม[4]
มีการค้นพบซากของกะทือในแหล่งโบราณคดี ที่ลุ่มน้ำขังกุก (Kuk Swamp) ในปาปัวนิวกินี ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 10,220 ถึง 9,910 ปีก่อนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่ากะทือได้รับการเพาะปลูก หรือใช้ประโยชน์โดยนำมาจากป่าเท่านั้น หลักฐานแรกสุดของการเพาะปลูกกะทือมาจากชาวออสโตรนีเซียนเช่นเดียวกับขิง ซึ่งนำหัวกะทือไปด้วยในการเดินทางด้วยเรือแคนูไปยังพื้นที่ห่างไกลของภูมิภาคโอเชียเนีย ระหว่างช่วงเวลาการขยายตัวของชาวออสโตรนีเซียน (ประมาณ 5,000 ปีก่อนปัจจุบัน)[5][6][7]
ส่วนที่ใช้เป็นยา
[แก้]หัวกะทือนำมาฝนใช้ทาแก้เคล็ดขัดยอก[8] เหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว ย่างไฟ พอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่ม เพื่อขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Zingiber zerumbet (L.) Roscoe ex Sm". The Plant List. 2013.
- ↑ รุ่งรัตน์ เอียดแก้ว; วุฒิพล หัวเมืองแก้ว; อภิชาต ภัทรธรรม (กรกฎาคม–กันยายน 2012). "การใช้ประโยชน์จากของป่าของราษฎรตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 992–1001. ISSN 0125-2364.
- ↑ เมฆาณี จงบุญเจือ; สมพิศ คลี่ขยาย (2013). อาหารปักษ์ใต้ บาบ๋า ย่าหยาในอันดามัน. กรุงเทพฯ: เศรษฐศิลป์. ISBN 978-616-7376-61-5.
- ↑ "Zingiber zerumbet subsp. cochinchinense (Gagnep.) Triboun & K.Larsen". The Plant List. 2013.
- ↑ Allaby, Robin (2007). "Origins of Plant Exploitation in Near Oceania: A Review". ใน Friedlaender, Jonathan S. (บ.ก.). Genes, Language, & Culture History in the Southwest Pacific. Human Evolution Series. Oxford University Press. p. 191. ISBN 978-0-19-804108-5.
- ↑ Lynch, John (2002). "Potent Roots and the Origin of kava". Oceanic Linguistics. 41 (2): 493–513. doi:10.1353/ol.2002.0010. S2CID 145424062.
- ↑ McClatchey, W. (1993). "Traditional use of Curcuma longa (Zingiberaceae) in Rotuma". Economic Botany. 47 (3): 291–296. doi:10.1007/bf02862297. S2CID 20513984.
- ↑ มัณฑนา นวลเจริญ (2009). มนธิดา สีตะธนี (บ.ก.). พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี: สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. p. 6. ISBN 978-616-12-0030-5.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Zingiber zerumbet
- "กลุ่มสมุนไพรแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด, กระทือ", กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มกราคม 2008
- "Tropical Plant Database - Plant Details, Zingiber zerumbet", National Tropical Botanical Garden
- Lynton Dove White, "`Awapuhi kuahiwi", Canoe Plants of Ancient Hawai`i
- Ravindran, P.N.; Nirmal Babu, K. (2016), Ginger: The Genus Zingiber, CRC Press, p. 7, ISBN 978-1-4200-2336-7