กอร์เก ฮาจี
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | กอร์เก ฮาจี[1] | ||
วันเกิด | [1] | 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1965||
สถานที่เกิด | Săcele, Romania | ||
ส่วนสูง | 1.74 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว) | ||
ตำแหน่ง | กองกลางตัวรุก | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | ฟารุล คอนสแตนตา (ผู้จัดการทีม) | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1975–1980 | FC Constanța | ||
1980–1981 | Luceafărul București | ||
1981–1982 | FC Constanța | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1982–1983 | FC Constanța | 18 | (7) |
1983–1987 | Sportul Studențesc | 108 | (58) |
1987–1990 | สเตอัวบูคาเรสต์ | 97 | (76) |
1990–1992 | เรอัลมาดริด | 64 | (16) |
1992–1994 | เบรชชา | 61 | (14) |
1994–1996 | บาร์เซโลนา | 36 | (7) |
1996–2001 | กาลาตาซาราย | 132 | (59) |
รวม | 516 | (237) | |
ทีมชาติ | |||
1983–2000 | โรมาเนีย | 124[a] | (35) |
จัดการทีม | |||
2001 | โรมาเนีย | ||
2003 | บูร์ซัสพอร์ | ||
2004–2005 | กาลาตาซาราย | ||
2005–2006 | Politehnica Timișoara | ||
2007 | สเตอัวบูคาเรสต์ | ||
2010–2011 | กาลาตาซาราย | ||
2014–2020 | Viitorul Constanța | ||
2021– | Farul Constanța | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
กอร์เก ฮาจี (โรมาเนีย: Gheorghe Hagi, เกิด 5 กุมภาพันธ์ 1965) เป็นอดีตนักฟุตบอลและผู้จัดการทีมชาวโรมาเนีย ซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าของและผู้จัดการทีมฟารุล คอนสแตนตาสโมสรในลีกาอึนตึย ในฐานะกองกลางตัวรุก ฮาจีได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ในผู้เล่นที่ดีที่สุดของโลกในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990[3] และได้รับการยกย่องว่าเป็นนักฟุตบอลชาวโรมาเนียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[4][5] แฟนบอลของกาลาทาซาไรเรียกฮาจีหลังเขาเลิกเล่นว่า Comandante ในหมู่กองเชียร์ชาวโรมาเนีย เขาเป็นที่รู้จักในฉายา เรเกเล ซึ่งแปลว่า กษัตริย์ ฉายา มาราโดนาแห่งคาร์เพเทียน เขาคือเพลย์เมกเกอร์ที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ โด่งดังจากทักษะการเลี้ยงบอล เทคนิค การมองเกม การผ่านบอล และการยิงประตู[6][7][8]
หลังจากเริ่มต้นอาชีพนักฟุตบอลในโรมาเนียกับฟารุล คอนสแตนตา จากนั้นไปเล่นให้กับสปอร์ตูล สตูเดนเตสก์ และสเตอัวบูคาเรสต์ ต่อมาเขายังย้ายไปเล่นในสเปนกับเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ในอิตาลีกับเบรชชา และในตุรกีกับกาลาทาซาไร ฮาจีเป็น 1 ในนักฟุตบอลไม่กี่คนที่มีโอกาสลงเล่นให้ 2 สโมสรคู่อริในสเปนทั้งเรอัลมาดริดและบาร์เซโลนา ตลอดอาชีพนักฟุตบอลของเขา เขาคว้าแชมป์มากมายขณะลงเล่นใน 4 ประเทศที่แตกต่างกัน เขาคว้าแชมป์ลีกาอึนตึย 3 สมัย, แชมป์ Cupa României 2 สมัยและแชมป์ยูโรเปียนซูเปอร์คัพกับสเตอัวบูคาเรสต์ – แชมป์ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญากับเรอัลมาดริด, แชมป์แองโกล–อิตาเลียนคัพกับเบรชชา, แชมป์ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญาอีก 1 สมัยกับบาร์เซโลนา, และแชมป์ซือเปร์ลีก 4 สมัย, แชมป์เตอร์กิชคัพ 2 สมัย, แชมป์เตอร์กิชซูเปอร์คัพ 2 สมัย, แชมป์ยูฟ่าคัพและยูฟ่าซูเปอร์คัพกับกาลาทาซาไร
ระดับทีมชาติ
[แก้]กอร์เก ฮาจี ลงประเดิมสนามให้กับทีมชาติโรมาเนีย เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1983 ด้วยวัย 18 ปีภายใต้การคุมทีมของเมอร์เซีย ลูเชสคู ซึ่งให้เขาลงเล่นครบ 90 นาทีในนัดกระชับมิตรที่พบกับทีมชาตินอร์เวย์ ที่สนามอุลเลวาลสเตเดียม กรุงออสโล ซึ่งผลการแข่งขันเสมอกัน 0–0[6][9][10] เขายิงประตูแรกในนามทีมชาติในนัดที่พบกับไอร์แลนด์เหนือเมื่อปี 1984[8] ปีถัดมา เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกัปตันทีมเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกพบกับคู่แข่งเดิมคือไอร์แลนด์เหนือ
ถึงแม้โรมาเนียจะพลาดโอกาสผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอลโลก 1986 ที่เม็กซิโก[8] แต่ในฟุตบอลโลก 1990 ที่อิตาลี ฮาจี เป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติโรมาเนีย ช่วยให้ทีมเข้าถึงรอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ถูกสาธารณรัฐไอร์แลนด์เขี่ยตกรอบหลังจากแพ้การดวลจุดโทษหลังเสมอกัน 0–0 โดยฮาจียิงจุดโทษลูกแรกให้โรมาเนีย[11] 4 ปีต่อมา เขาพาทีมชาติโรมาเนียทำผลงานได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ในฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อพวกเขาเข้าถึงรอบก่อนรองชนะเลิศ ก่อนพ่ายต่อสวีเดนด้วยการดวลจุดโทษอีกครั้งเหมือนเมื่อครั้งก่อน[6]
4 ปีต่อมา เขาทำหน้าที่กัปตันทีมชาติโรมาเนียในฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส ก่อนเริ่มการแข่งขันฮาจีประกาศไว้ว่า ฟุตบอลโลก 1998 อาจจะเป็นทัวร์นาเมนต์สุดท้ายของเขา โรมาเนียคว้าแชมป์กลุ่ม โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับอังกฤษ, โคลอมเบีย และตูนิเซีย และผ่านเข้ารอบ 16 ทีมสุดท้ายก่อนจะถูกโครเอเชียซึ่งคว้าอันดับ 3 ของทัวร์นาเมนต์นี้เขี่ยตกรอบ[6][8][12] หลังจบการแข่งขัน ฮาจี ประกาศเลิกเล่นทีมชาติ แต่เขาก็เปลี่ยนใจกลับมาลงเล่นในศึกยูโร 2000 ที่ฮอลแลนด์และเบลเยี่ยม ฮาจี โดนใบแดงไล่ออกจากสนามในรอบก่อนรองชนะเลิศที่แพ้ อิตาลี รองแชมป์ของทัวร์นาเมนต์นั้น 0–2 ซึ่งนัดนี้ถือเป็นการลงเล่นทีมชาตินัดสุดท้ายของเขา[6][8][13][14]
ฮาจีเลิกเล่นในปี 2001 ด้วยวัย 36 ปี ในปีนั้น เขาได้รับการจัดแมตช์อำลาที่เรียกว่า "กาลาฮาจี" เป็นการเจอกันของทีมรวมดาราโรมาเนียและทีมรวมดารานานาชาติ[15][16] ในเวลาที่เขาแขวนสตั๊ด เขามีสถิติลงเล่นให้ทีมชาติโรมาเนีย 124 นัด[a] เป็นสถิติมากที่สุดก่อนจะถูกทำลายโดย โดริเนล มุนเตียนู เขายังคงครองสถิติยิงประตูให้ทีมชาติโรมาเนียมากที่สุดร่วมกับเอเดรียน มูตู ด้วยจำนวน 35 ประตู[6][8][17]
รูปแบบการเล่น
[แก้]ฮาจีเป็นกองกลางตัวรุกเท้าซ้ายที่มีพรสวรรค์ รูปแบบการเล่นของเขามักถูกนำไปเปรียบเทียบกับดิเอโก มาราโดนาเสมอ ด้วยความสามารถทางเทคนิคที่โดดเด่นและมีภาวะผู้นำแต่เขามีบุคลิกค่อนข้างขี้หงุดหงิด[8][18][19][20][21] ในวัยเด็ก เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนักฟุตบอลรุ่นพี่เพื่อนร่วมชาติอย่างอังเคล ยอร์ดาเนสคู และยอน ดูมิตรู[8]
สถิติในอาชีพ
[แก้]ทีมชาติ
[แก้]+ สถิติการลงเล่นในทีมชาติ แยกตามปี พร้อมจำนวนประตู[2][22] | |||
ทีมชาติ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|
โรมาเนีย | 1983 | 5 | 0 |
1984 | 9 | 1 | |
1985 | 10 | 4 | |
1986 | 8 | 3 | |
1987 | 8 | 2 | |
1988 | 4 | 2 | |
1989 | 8 | 0 | |
1990 | 11 | 2 | |
1991 | 6 | 2 | |
1992 | 5 | 4 | |
1993 | 5 | 1 | |
1994 | 11 | 5 | |
1995 | 3 | 1 | |
1996 | 8 | 1 | |
1997 | 6 | 4 | |
1998 | 7 | 1 | |
1999 | 4 | 2 | |
2000 | 6 | 0 | |
ทั้งสิ้น | 124[a] | 35 |
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 มีการระบุว่ากอร์เก ฮาจี ลงเล่นให้ทีมชาติ 125 นัด อย่างไรก็ตาม ณ ปี 2007 สหพันธ์ฟุตบอลโรมาเนีย (FRF) ไม่นับรวมผลการแข่งขันกระชับมิตรที่ทีมชาติโรมาเนียเอาชนะทีมชาติเอกวาดอร์รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 3-1 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 1984 เนื่องจากเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นทางการ[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Gheorghe Hagi". Turkish Football Federation. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
- ↑ 2.0 2.1 "Gheorghe Hagi – Century of International Appearances". RSSSF. Retrieved 17 July 2012.
- ↑ "Gheorghe Hagi". Planet World Cup.com.
- ↑ "Famous Romanians: Gheorghe Hagi" เก็บถาวร 24 กันยายน 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Romania Insider. 11 August 2010.
- ↑ "Gheorghe Hagi". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 "Romania and Gala's commander and king". FIFA. 17 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2019. สืบค้นเมื่อ 18 November 2013.
- ↑ "Gheorghe HAGI". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2014. สืบค้นเมื่อ 3 October 2017.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 8.6 8.7 "Gheorghe Hagi: The Maradona of the Carpathians". ESPN FC. 21 May 2010. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
- ↑ "Gheorghe Hagi". European Football. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
- ↑ "Norway 0-0 Romania". European Football. สืบค้นเมื่อ 23 November 2021.
- ↑ Dunne, Noel (25 June 2015). "O'Leary and Bonner the heroes as Ireland make history and qualify for World Cup quarter-final". The Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
- ↑ Lazăr, Mihnea (11 June 2018). "The Inside Story of Why the Entire Romania '98 Team Bleached Their Hair". Vice News. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
- ↑ "Euro 2000: Italia-Romania (2–0) – Azzurri in semifinale" (ภาษาอิตาลี). Rai Sport. 24 June 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 November 2018. สืบค้นเมื่อ 29 January 2015.
- ↑ "Wall of Fame: Gheorghe Hagi". Infostrada Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2009. สืบค้นเมื่อ 13 October 2009.
- ↑ "Hagi takes an all-star bow". BBC Sport. 24 April 2001. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
- ↑ Raynor, Dominic (24 April 2001). "Hagi takes final Romania bow". ESPN FC. สืบค้นเมื่อ 6 November 2019.
- ↑ "Soccer-Former goal hero Mutu returns to Dinamo as general manager". in.reuters.com. 12 October 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2020. สืบค้นเมื่อ 5 November 2019.
- ↑ Marino Bortoletti. "HAGI, Gheorghe" (ภาษาอิตาลี). Treccani: Enciclopedia dello Sport (2002). สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
- ↑ Alessandro Bezzi (24 January 2015). "GHEORGHE HAGI: STORIA IN TRE ATTI DEL MARADONA DEI CARPAZI" (ภาษาอิตาลี). ZonaCesarini.net. สืบค้นเมื่อ 28 March 2017.
- ↑ "Hagi and Tugay take Galatasaray helm". UEFA.com. 21 October 2010. สืบค้นเมื่อ 10 September 2015.
- ↑ "Mondiali, −10: Pelè, Maradona e i grandi Dieci della storia" (ภาษาอิตาลี). Sky.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-07. สืบค้นเมื่อ 27 March 2017.
- ↑ Gheorghe HAGI เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. FRF. Retrieved 17 July 2012.