กอทิกอ็องฌ์แว็ง
กอทิกอ็องฌ์แว็ง (ฝรั่งเศส: Gothique Angevin) หรือ กอทิกแพลนแทเจเนต (ฝรั่งเศส: Gothique Plantagenêt) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กอทิกแบบตะวันตก เป็นสถาปัตยกรรมกอทิกแบบหนึ่งของฝรั่งเศส
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอ็องฌ์แว็งนี้มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งต่างกับกอทิกแบบทั่วไป (หรือ อีล-เดอ-ฟร็องซ์) ซึ่งประกอบด้วยซุ้มประตูทางเข้าจำนวนสามซุ้ม โดยบริเวณด้านข้างของวิหารจะไม่พบครีบยันลอย (เหมือนที่มหาวิหารแห่งปัวตีเย ซึ่งบริเวณกำแพงด้านนอกเป็นเพียงแค่ผนังเรียบๆธรรมดา)
แต่สิ่งที่ถือว่าโดดเด่นที่สุดของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบนี้ คือ เพดานโค้งภายในอาคาร ซึ่งจะลึกและแคบกว่าปกติ (หมุดกลางเพดานมักจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงและลึกกว่าเพดานโค้งครึ่งวงกลม) โดยถ้าในสถาปัตยกรรมกอทิกแบบทั่วไป หลุมเพดานจะตื้นและแบนกว่า (หมุดกลางเพดานมักจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับแนวเพดานโค้งครึ่งวงกลม)
บริเวณเพดานโค้งมักจะประกอบด้วยสันแบบแปดแฉก ซึ่งจะรวมเข้าหากันบริเวณหมุดกลางเพดานทรงกลม ซึ่งยังสามารถพบเห็นเพดานโค้งแบบนี้ได้ตามโบราณสถานกว่าสี่สิบแห่ง[1]ในเมืองอ็องฌู โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มหาวิหารอ็องเฌ หมุดเพดานอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าเพดานโค้งครึ่งวงกลมถึง 3.50 เมตร และในคริสต์ศตวรรษที่ 12 จะเริ่มพบว่าสันเพดานจะมีจำนวนแฉกที่มากขึ้นและละเอียดมากขึ้น โดยมักจะตั้งอยู่บนเสาสูงทรงกระบอกตรง เหมือนกับที่พบในอารามนักบุญแซร์ฌแห่งอ็องเฌ (abbaye Saint-Serge d'Angers)
ซึ่งสถาปัตยกรรมรูปแบบนี้จะพบในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นการผสมผสานองค์ประกอบแบบกอทิก (โดยเฉพาะบริเวณเพดานโค้งสันแบบกอทิก) กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์ของภาคตะวันตกของฝรั่งเศส (วิหารที่มีโดมเป็นองค์ประกอบเหมือนกับที่มหาวิหารอ็องกูแลม และมหาวิหารเปรีเกอ) ซึ่งยังรวมถึงลักษณะของบริเวณกลางโบสถ์ซึ่งประกอบด้วยทางเดินกลางเพียงแห่งเดียว (ไม่มีทางเดินข้าง) หรือมิฉะนั้นจะมีถึง 3 ทาง นอกจากนั้นยังพบว่าบริเวณสันเพดาน ที่มีลักษณะเกือบโค้งเป็นครึ่งวงกลมซึ่งทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ครีบยันลอยเป็นตัวรับน้ำหนัก
บริเวณที่พบ
[แก้]สถาปัตยกรรมกอทิกแบบอ็องฌ์แว็งพบได้ในแถบตะวันตกของประเทศฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมน ตูแรน ลีมูแซง ปัวตู อากีแตน และยังรวมไปถึงเมืองในอาณานิคมในสมัยนั้น เช่น เนเปิลส์ และซิซิลี[2]
ประเทศฝรั่งเศส
[แก้]ตัวอย่างที่งดงามที่สุดตามของสถาปัตยกรรมกอทิกอ็องฌ์แว็ง ได้แก่
- อดีตอาราม Abbaye Saint Pierre et Paul (ปัจจุบันคือโบสถ์ Notre-Dame de la Couture แห่งเลอม็อง)[3]
- อาสนวิหารนักบุญมอริสแห่งอ็องเฌ (Cathédrale Saint-Maurice d'Angers)
- โรงพยาบาลเก่า Hôpital Saint-Jean d'Angers (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ Musée Jean-Lurçat)
- ชาเปลของปราสาทอ็องเฌ (château d'Angers)
- L'abbaye de Fontevraud, près de Saumur et de la Loire
- la Collégiale Saint-Martin d'Angers[4]
- L'abbaye Notre Dame du Loroux sur la commune de Vernantes dans le Maine-et-Loire,
- La Cathédrale Saint-Pierre de Poitiers[5]
- L'Église Sainte-Radegonde de Poitiers
- Le Palais des Ducs d’Aquitaine, Comte de Poitou à Poitiers
- L'église Saint-Étienne de Celle-Lévescault dans le Poitou
- อาสนวิหารนักบุญฌูเลียงแห่งเลอม็อง (Cathédrale Saint-Julien du Mans)
- อาสนวิหารนักบุญอันดรูว์แห่งบอร์โด (Cathédrale Saint-André de Bordeaux)
- La Collégiale Notre-Dame du Puy-Notre-Dame
-
หมุดเพดานของมหาวิหารอ็องเฌ -
บรรยากาศภายในของโบสถ์ Notre-Dame de la Couture -
เพดานโค้งของ Abbaye de Fontevraud -
กอทิกอ็องฌ์แว็งของอดีตพระราชดยุกแห่งอากีแตน ณ ปัวตีเย -
บริเวณกลางโบสถ์ของโบสถ์ Notre-Dame แห่ง Puy-Notre-Dame -
เพดานโค้งของมหาวิหารอ็องเฌ -
บริเวณสันเพดานโค้งของมหาวิหารเลอม็อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.persee.fr/web/revues/home/prescript/article/rvart_0035-1326_1999_num_124_1_348452_t1_0084_0000_000#
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2012-06-30.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-18. สืบค้นเมื่อ 2013-04-02.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-13. สืบค้นเมื่อ 2013-04-02.
- ↑ http://www.evene.fr/culture/lieux/cathedrale-saint-pierre-de-poitiers-6097.php