กล้องโทรทรรศน์แบบเค็พเพลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพเส้นทางแสง

กล้องโทรทรรศน์แบบเค็พเพลอร์ (เยอรมัน: Kepler-Fernrohr) เป็นกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงประเภทหนึ่ง

ประวัติการคิดค้น[แก้]

ใน ปี ค.ศ. 1611 โยฮันเนิส เค็พเพลอร์ ได้เสนอวิธีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์โดยใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ใกล้ตา แต่เขาไม่ได้สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง[1] จากนั้นใน ปี ค.ศ. 1615 คริสท็อฟ ไชเนอร์ จึงได้สร้างกล้องโทรทรรศน์ตามที่เค็พเพลอร์ออกแบบไว้ขึ้นมาจริง และใช้ในการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์[1]

โครงสร้าง[แก้]

ทั้งเลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตาต่างใช้เป็นเลนส์นูนทั้งคู่

แม้ว่าภาพที่ได้จะกลับด้าน แต่ขอบเขตการมองเห็นจะไม่แคบเมื่อเทียบกับในกล้องโทรทรรศน์แบบกาลิเลโอ แม้ว่าจะเพิ่มกำลังขยายขึ้นก็ตาม[1] เมื่อใช้เป็นกล้องโทรทรรศน์ในทางดาราศาสตร์ การที่ภาพกลับหัวไม่ใช่ข้อเสีย เนื่องจากสามารถปรับภาพให้ตั้งตรงได้โดยการใส่ปริซึม จึงใช้กันอย่างแพร่หลายในกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดิน

เทียบกับกล้องโทรทรรศน์แบบอื่น[แก้]

เมื่อขนาดของกล้องโทรทรรศน์เพิ่มขึ้น เลนส์ใกล้วัตถุก็หนาขึ้นและอัตราการส่องผ่านก็ยิ่งลดลง ดังนั้น ในกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่นิยมใช้กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงมากกว่า

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 『天文アマチュアのための望遠鏡光学・屈折編』pp.1-54「世界史の中の屈折望遠鏡」。
  • โชตาโร โยชิดะ "เลนส์กล้องโทรทรรศน์และการหักเหของแสงสำหรับดาราศาสตร์สมัครเล่น" เซบุนโด ชิงโกชะ ISBN 4-416-28908-1