ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ (อังกฤษ: Observational astronomy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งในการศึกษาวิทยาการด้านดาราศาสตร์ โดยมีเนื้องานหลักเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการศึกษาที่ตรงข้ามกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีซึ่งมุ่งเน้นที่การค้นหาแบบจำลองทางฟิสิกส์ในการอธิบายและคาดการณ์ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในทางดาราศาสตร์ การศึกษาดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะเฝ้าดูวัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ โดยอาศัยกล้องโทรทรรศน์หรือเครื่องมือตรวจวัดในทางดาราศาสตร์อื่นๆ

หากพิจารณาในแง่วิทยาศาสตร์ การศึกษาหรือทำการทดลองกับวัตถุที่อยู่ห่างไกลออกไปในเอกภพมาก ๆ อาจเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ดียังมีปรากฏการณ์ท้องฟ้าต่าง ๆ มากมายที่นักดาราศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ได้ ข้อมูลจากการเฝ้าสังเกตการณ์ปรากฏการณ์เหล่านั้นสามารถนำมาพล็อตเป็นกราฟ และสร้างแนวโน้มของข้อมูลที่คาดการณ์ได้ ตัวอย่างของปรากฏการณ์พิเศษที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ดาวแปรแสง ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวแทนในการศึกษาดาวฤกษ์ที่อยู่ไกล ๆ

เครื่องมือสังเกตการณ์[แก้]

กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้แรกที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการส่องดูท้องฟ้าและบันทึกสิ่งที่เขามองเห็น นับแต่ยุคสมัยนั้น ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ก็พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ ตามที่เทคโนโลยีด้านกล้องโทรทรรศน์พัฒนาขึ้น

การแบ่งประเภทของดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์แบบดั้งเดิม นิยมแบ่งตามย่านของคลื่นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้ในการสังเกตการณ์ ดังนี้

ดูเพิ่ม[แก้]