ข้ามไปเนื้อหา

กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–นิวตัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนภาพเส้นทางแสง

กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–นิวตัน (Schmidt–Newtonian telescope หรือ Schmidt–Newton telescope) เป็น กล้องโทรทรรศน์แบบผสม ที่รวมองค์ประกอบของทั้ง กล้องโทรทรรศน์แบบนิวตัน และ กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท การออกแบบกล้องโทรทรรศน์นี้ประกอบด้วยกระจกเงาปฐมภูมิที่เป็นผิวทรงกลมและแผ่นปรับแก้ชมิท เพื่อปรับแก้ความคลาดทรงกลม ทำให้ไม่มีความคลาดเคลื่อนทรงกลมแต่ก็ยังมีความคลาดแบบโคมาอยู่เล็กน้อย[1] ภาพถูกมองด้วยกระจกเงาทุติยภูมิที่ทำมุม 45 องศาเหมือนกล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันมาตรฐาน

ข้อได้เปรียบ

[แก้]
กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–นิวตันที่ผลิตโดย Meade

กล้องชนิดนี้เกิดความคลาดแบบโคมาน้อยกว่ากล้องโทรทรรศน์แบบนิวตันที่มีอัตราส่วนความยาวโฟกัส/รูรับแสงเท่ากัน ซึ่งโดยทั่วไปจะเหลือแค่ประมาณครึ่งหนึ่ง แผ่นปรับแก้ยังผนึกด้านในของกระบอกเลนส์ และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นโครงรองรับกระจกเงาทุติยภูมิ ดังนั้นจึงสามารถกำจัดผลจากการเลี้ยวเบนซึ่งมาจากโครงรองรับได้ อีกทั้งเนื่องจากกระจกเงาปฐมภูมิเป็นผิวทรงกลม จึงผลิตได้ง่ายแม้จะมีความยาวโฟกัสสั้นก็ตาม กล้องโทรทรรศน์ที่ใช้การออกแบบนี้มีอัตราส่วนโฟกัสสั้นประมาณ F4 และเหมาะสำหรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ และการถ่ายภาพด้วยเซนเซอร์ภาพแบบ CCD

สำหรับในเรื่องของราคานั้น กล้องแบบนี้ราคากล้องถูกกว่า กล้องโทรทรรศน์แบบชมิท–กัสแกร็ง ที่ผลิตโดยทั่วไป เนื่องจากกระจกเงาทุตยภูมิเป็น กระจกเงาระนาบและไม่มีกลไกการโฟกัสที่จะเลื่อนกระจกเงาปฐมภูมิไปมาเหมือนอย่างเดียวกับการออกแบบของชนิดชมิท–กัสแกร็งส่วนใหญ่[1]

ปัจจุบันมีเพียงบริษัท Meade เท่านั้นที่ผลิตและจำหน่ายกล้องโทรทรรศน์ชนิดนี้ ขนาด 6, 8 และ 10 นิ้ว LXD-75 บนฐานแบบระนาบศูนย์สูตร ที่มีระบบนำทางอัตโนมัติ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Schmidt-Newton telescope". telescopeOptics.net. สืบค้นเมื่อ 28 August 2012.