กลุ่มภาษาอานาโตเลีย
กลุ่มภาษาอานาโตเลีย (อังกฤษ: Anatolian languages)เป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่ตายแล้ว เคยใช้พูดในบริเวณเอเชียไมเนอร์ ภาษาที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ ภาษาฮิตไทต์
จุดกำเนิด
[แก้]เชื่อว่ากลุ่มภาษาอานาโตเลียเป็นสาขาแรกที่แยกออกจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิม เมื่อราว 4 พันปีก่อนคริสตกาล มีทฤษฏีที่เป็นไปได้ 2 ทฤษฎีว่าผู้พูดกลุ่มภาษานี้มาถึงอานาโตเลียได้อย่างไร ทางหนึ่งมาจากทางเหนือคือเทือกเขาคอเคซัส หรืออาจจะมาจากทางตะวันตกคือคาบสมุทรบอลข่าน
สมาชิก
[แก้]- ภาษาฮิตไทต์ พบในช่วง 1,057 - 557 ปีก่อนพุทธศักราช เป็นภาษาราชการของจักรวรรดิฮิตไทต์
- ภาษาลูเวีย เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาฮิตไทต์ ใช้พูดในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งอาจจะถูกปกครองโดยจักรวรรดิฮิตไทต์ แบ่งเป็น
- ภาษาลูเวียอักษรรูปลิ่ม เป็นข้อความสั้นๆ เขียนด้วยอักษรรูปลิ่ม
- ภาษาลูเวียไฮโรกลิฟ เขียนด้วยไฮโรกลิฟแบบอานาโตเลีย จารึกบนหิน
- ภาษาไลเซีย ใช้พูดในไลเซียยุคเหล็ก เป็นลูกหลานของภาษาลูเวีย กลายเป็นภาษาตายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6
- ภาษาคาเรีย ใช้พูดในคาเรีย เป็นภาษาตายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8
- ภาษาพิซิเดีย และภาษาซิเดติก พบเป็นข้อความขนาดสั้น ๆ
- ภาษาปาลาอิก ใช้พูดในภาคกลางตอนเหนือของอานาโตเลีย เป็นภาษาตายเมื่อเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เหลือเพียงข้อความสั้น ๆ
- ภาษาลิเดีย ใช้พูดในลิเดีย เป็นภาษาตายเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6
- ภาษามิลยัน พบในจารึกสั้น ๆ เท่านั้น
การกลายเป็นภาษาตาย
[แก้]ดินแดนอานาโตเลียได้รับอิทธิพลจากกรีกมากในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 6 ทำให้ภาษาท้องถิ่นกลายเป็นภาษาตาย กลุ่มภาษานี้จึงเป็นกลุ่มภาษาแรกของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนที่กลายเป็นภาษาตาย
ลักษณะ
[แก้]ภาษาฮิตไทต์แสดงลักษณะที่เรียบง่ายกว่าภาษาเก่าอื่นๆของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ลักษณะเฉพาะของตระกูลภาษานี้บางอย่างไม่พบในภาษาฮิตไทต์ และภาษาฮิตไทต์ก็มีลักษณะโบราณที่หายไปในภาษาอื่น ๆ ของตระกูลนี้ ภาษาฮิตไทต์ไม่มีระบบเพศของคำนามแบบเดีวกับภาษาอื่น ๆ แต่มีการแบ่งเป็นสิ่งที่มีและไม่มีชีวิตแทน
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Anatolian Languages เก็บถาวร 2006-12-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (by D. E. Landon)
- "Lenguas Anatolias", Linguæ Imperii. (สเปน) – includes map and timeline of Anatolian languages.