ข้ามไปเนื้อหา

กลุ่มภาษาบอลต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มภาษาบอลต์
กลุ่มเชื้อชาติ:ชาวบอลต์
ภูมิภาค:ยุโรปเหนือ
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
อินโด-ยูโรเปียน
ภาษาดั้งเดิม:บอลต์ดั้งเดิม
กลุ่มย่อย:
ISO 639-2 / 5:bat
เครือข่ายการวิจัยลิงกัวสเฟียร์:54= (phylozone)
กลอตโตลอก:ไม่มี[1]
east2280  (บอลต์ตะวันออก)[2]
prus1238  (ปรัสเซียเก่า)[3]
{{{mapalt}}}
  ประเทศที่มีภาษากลุ่มบอลต์ตะวันออกเป็นภาษาประจำชาติ

กลุ่มภาษาบอลต์ (อังกฤษ: Baltic languages) เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ กลุ่มย่อยของตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ประมาณ 4.5 ล้านคน[4][5] ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ทางตะวันออกถึงตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลบอลติกในยุโรปเหนือ

นักวิชาการมักจัดกลุ่มภาษาบอลต์เป็นกลุ่มย่อยกลุ่มเดี่ยวที่แบ่งออกเป็นสองสาขา ได้แก่ กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันตก (มีเพียงภาษาสูญแล้ว) และกลุ่มภาษาบอลต์ตะวันออก (มีภาษาที่ยังมีผู้พูดอย่างน้อย 2 ภาษา คือ ภาษาลิทัวเนียและภาษาลัตเวีย บางคนถือว่าภาษาลัตกาเลและภาษาเฌเม็ยติยาเป็นภาษาแยกต่างหากมากกว่าจะเป็นภาษาย่อยของสองภาษาแรก) ขอบเขตอิทธิพลของภาษากลุ่มบอลต์ตะวันออกอาจเคยแผ่ไปไกลถึงเทือกเขายูรัล แต่มีผู้ตั้งคำถามถึงสมมุติฐานนี้[6][7][8]

ภาษาปรัสเซียเก่าซึ่งเป็นภาษาบอลต์ตะวันตกที่สูญไปในคริสต์ศตวรรษที่ 18 น่าจะรักษาคุณสมบัติของภาษาบอลต์ดั้งเดิมเอาไว้มาก[9]

สาขาย่อย

[แก้]

กลุ่มภาษาบอลต์มักจัดเป็นกลุ่มเดี่ยวที่มี 2 สาขา ได้แก่ สาขาตะวันออกและสาขาตะวันตก อย่างไรก็ตาม บางครั้งมีการจัดให้สาขาทั้งสองเป็นสาขาต่างหากของกลุ่มภาษาบอลต์-สลาฟ[10]

ภาษากลุ่มบอลต์
กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันออก
ภาษาลัตเวีย ประมาณ 2.2 ล้านคน
ภาษาลัตกาเล* ประมาณ 150,000–200,000 คน
ภาษาลิทัวเนีย ประมาณ 3 ล้านคน
ภาษาเฌเม็ยติยา* ประมาณ 500,000 คน
Selonian สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16
Semigallian สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16
ภาษาคัวร์แลนด์เก่า สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16
กลุ่มภาษาบอลต์ตะวันตก
ภาษากาลินเดียตะวันตก† สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
ภาษาปรัสเซียเก่า สูญแล้วตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18
Skalvian สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16
Sudovian สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17
กลุ่มภาษาบอลต์นีเปอร์[11]
ภาษากาลินเดียตะวันออก† สูญแล้วตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14
ตัวเอียง ระบุการจัดอันดับที่มีข้อโต้แย้ง
* ระบุถึงภาษาที่บางครั้งระบุเป็นภาษาย่อย
† ระบุภาษาสูญแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "กลุ่มภาษาบอลต์". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  2. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "บอลต์ตะวันออก". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  3. Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "ปรัสเซียเก่า". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
  4. "Lietuviai Pasaulyje" (PDF) (in Lithuanian). Lietuvos statistikos departamentas. Retrieved 5 May 2015.
  5. Latvian at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required) Standard Latvian language at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required) Latgalian language at Ethnologue (18th ed., 2015) (subscription required)
  6. Gimbutas, Marija (1963). The Balts. Ancient peoples and places 33. London: Thames and Hudson. สืบค้นเมื่อ 3 December 2011.
  7. Mallory, J. P., บ.ก. (1997). "Fatyanovo-Balanovo Culture". Encyclopedia of Indo-European Culture. Fitzroy Dearborn.
  8. Anthony, David W. (2007). [The Horse, the Wheel, and Language: How Bronze-Age Riders from the Eurasian Steppes Shaped the Modern World. Princeton University Press.
  9. Ringe, D.; Warnow, T.; Taylor, A. (2002). "Indo-European and computational cladistics". Transactions of the Philosophical Society. 100: 59–129. doi:10.1111/1467-968X.00091.
  10. Hammarström, Harald; Forke, Robert; Haspelmath, Martin; Bank, Sebastian, บ.ก. (2020). "Old Prussian". Glottolog 4.3.
  11. Dini, P.U. (2000). Baltų kalbos. Lyginamoji istorija [Baltic languages. Comparative history] (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius: Mokslo ir enciklopedijų leidybos institutas. p. 61. ISBN 5-420-01444-0.