กระเพาะปัสสาวะไวเกิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระเพาะปัสสาวะไวเกิน
ชื่ออื่นภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบภาวะรีบด่วน
สาขาวิชาวิทยาทางเดินปัสสาวะ
อาการจำเป็นต้องปัสสาวะบ่อย, กลั้นปัสสาวะไม่ได้[1][2]
การตั้งต้นเพิ่มขึ้นตามอายุ[3]
ระยะดำเนินโรคหลายปีโดยมาก[3]
สาเหตุไม่ทราย[3]
ปัจจัยเสี่ยงภาวะอ้วน, คาเฟอีน, ท้องผูก[2]
วิธีวินิจฉัยตามอาการ[1][3]
โรคอื่นที่คล้ายกันทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ, อาการทางประสาท[1][3]
การรักษาการออกกำลังกายพื้นเพลวิส, การฝึกกระเพาะปัสสาวะ, ดื่มน้ำ, ลดน้ำหนัก[4]
พยากรณ์โรคไม่อันตรายถึงชีวิต[3]
ความชุก~15% ชาย, 25% หญิง[3]

กระเพาะปัสสาวะไวเกิน[5] (อังกฤษ: Overactive bladder; OAB) เป็นอาการซึ่งมีความรู้สึกหรือความจำเป็นต้องปัสสาวะบ่อยจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย[1] อาจเกิดขึ้นระหว่างวัน, ระหว่างคืน หรือทั้งคู่[6] หากปรากฏอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ร่วมด้วยจะเรียกว่า ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้แบบภาวะรีบด่วน[5] (อังกฤษ: urge incontinence)[3] มากกว่า 40% ของผู้มีอาการปัสสาวะไวเกินพบมีการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ร่วมด้วย[2] ในทางกลับกัน ราว 40% ถึง 70% ของผู้กลั้นปัสสาวะหม่ได้เกิดจากอาการของกระเพาะปัสสาวะไวเกิน[7] อาการนี้ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต[3] และอาจคงอยู่เป็นปี[3]

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด[3] แต่ปัจจัยเสี่ยงอาจรวมถึงความอ้วน, คาเฟอีน, ท้องผูก[2] ส่วนเบาหวานที่ขาดการควบคุม, การขาดการขยับร่างกาย และ การบาดเจ็บที่เพลวิสเรื้อรังอาจส่งผลให้อาการแย่ลง[3] การตรวจโรคเป็นไปตามอาการ และจำเป็นต้องแยกจากการติดเชื้อในท่อทางเดินปัสสาวะ และ อาการเกิดจากระบบประสาท[1][3] นอกจากนี้ยังพบว่าปัสสาวะที่ออกมาในแต่บะครั้งนั้นมีปริมาณน้อย[3] หากปรากฏการเจ็บขณะปัสสาวะอาจหมายถึงโรคอื่นนอกเหนือไปจากภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน[3]

โดยทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องมีการรักษาเฉพาะ[3] หากต้องการจริง ๆ แพทย์อาจแนะนำการออกกำลังกายพื้นเพลวิส, การฝึกกระเพาะปัสสาวะ และวิธีเชิงพฤติกรรมอื่น ๆ เป็นขั้นต้น[4] การลดน้ำหนักตัว, ลดการบริโภคคาเฟอีน, ดื่มน้ำให้เพียงพอ สามารถช่วยบรรเทาอาการได้เช่นกัน[4] ยาโดยเฉพาะกลุ่มแอนทิมัสคารินิกอาจถูกใช้ในกรณีที่การรักษาวิธีอื่น ๆ ไม่ประสบผลสำเร็จ[4]

ปรากฏโรคนี้โดยประมาณในผู้ชาย 7-27% และผู้หญิง 9-43%[3] และพบมากในผู้สูงอายุ[3] งานศึกษาบางชิ้นพบว่าอาจพบอาการในผู้หญิงมากกว่า[3] ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาพยาบาลในสหรัฐสำหรับโรคนี้อยู่ที่ประมาณ 12.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2000[8]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Gormley EA, Lightner DJ, Faraday M, Vasavada SP (May 2015). "Diagnosis and treatment of overactive bladder (non-neurogenic) in adults: AUA/SUFU guideline amendment". The Journal of Urology. 193 (5): 1572–80. doi:10.1016/j.juro.2015.01.087. PMID 25623739.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Gibbs, Ronald S. (2008). Danforth's obstetrics and gynecology (10 ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. pp. 890–891. ISBN 9780781769372. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 American Urological Association (2014). "Diagnosis and Treatment of Overactive Bladder (Non-Neurogenic) in Adults: AUA/SUFU Guideline" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 April 2015. สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Gormley EA, Lightner DJ, Burgio KL, Chai TC, Clemens JQ, Culkin DJ, Das AK, Foster HE, Scarpero HM, Tessier CD, Vasavada SP (December 2012). "Diagnosis and treatment of overactive bladder (non-neurogenic) in adults: AUA/SUFU guideline". The Journal of Urology. 188 (6 Suppl): 2455–63. doi:10.1016/j.juro.2012.09.079. PMID 23098785.
  5. 5.0 5.1 อ้างคำแปลจาก ICD-10 ภาษาไทย
  6. "Urinary Bladder, Overactive". สืบค้นเมื่อ 1 June 2015.
  7. Ghosh, Amit K. (2008). Mayo Clinic internal medicine concise textbook. Rochester, MN: Mayo Clinic Scientific Press. p. 339. ISBN 9781420067514. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.
  8. Abrams, Paul (2011). Overactive bladder syndrome and urinary incontinence. Oxford: Oxford University Press. pp. 7–8. ISBN 9780199599394. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก
  • Sacco E, Bientinesi R, Marangi F, D'Addessi A, Racioppi M, Gulino G, Pinto F, Totaro A, Bassi P (2011). "[Overactive bladder syndrome: the social and economic perspective]". Urologia (ภาษาอิตาลี). 78 (4): 241–56. doi:10.5301/RU.2011.8886. PMID 22237808. S2CID 36693916.
  • "Overactive Bladder". MedlinePlus. U.S. National Library of Medicine.

แม่แบบ:Urinary tract disease แม่แบบ:Urinary system symptoms and signs