ข้ามไปเนื้อหา

กระทุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทุ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Rhodomyrtus
สปีชีส์: R.  tomentosa
ชื่อทวินาม
Rhodomyrtus tomentosa
(Aiton) Hassk.

กระทุ ทุ โทะ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhodomyrtus tomentosa) เป็นพืชในวงศ์ชมพู่ กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ ใบอ่อนและดอกมีผงรังแคสีขาวหรือเหลืองปกคลุม ใบเหนียวคล้ายหนัง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีผงรังแค เส้นใบนูน ดอกช่อ ออกตามง่ามใบ สีม่วงแกมชมพู ดอกแก่สีขาว ผลเดี่ยว กลม กลีบเลี้ยงติดทน ผลสดแบบมีเนื้อหลายเมล็ด สีดำแกมม่วง มีผงรังแคปกคลุม รสหวาน มีเมล็ดมาก ผลแก่สีม่วงคล้ำถึงดำ แบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ไม้ใช้ทำเครื่องมือประมง ผลรับประทานได้[1] เมื่อดิบรสฝาด สุกจัดรสหวาน หรือเป็นอาหารนก บางพื้นที่ใช้ทำแยมและเยลลี ในมาเลเซียใช้ผลแก้ท้องเสียและปวดท้อง ในอินโดนีเซียใช้ใบตำละเอียด พอกรักษาแผล ยางเหนียวจากเนื้อไม้สีดำ ใช้ทาฟันและคิ้วให้ดำ ในชวาใช้เป็นไม้ประดับ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  • มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 79
  1. อรทัย เนียมสุวรรณ นฤมล เล้งนนท์ กรกนก ยิ่งเจริญ พัชรินทร์ สิงห์ดำ. 2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา[ลิงก์เสีย]. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981 - 991
  2. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 390 - 392