ข้ามไปเนื้อหา

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (ประเทศจีน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน
中华人民共和国文化和旅游部
จงหฺวาเกรินหมินก้งเหอกั๋วเหวินฮฺว่าเหอลฺหวี่โหยวปู้
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง19 มีนาคม 2018; 6 ปีก่อน (2018-03-19)
เขตอำนาจรัฐบาลจีน
สำนักงานใหญ่ปักกิ่ง
รัฐมนตรี
ต้นสังกัดหน่วยงานคณะมนตรีรัฐกิจ
เว็บไซต์www.mct.gov.cn แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวย่อ中华人民共和国文化旅游
อักษรจีนตัวเต็ม中華人民共和國文化旅遊

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน: 中华人民共和国文化和旅游部; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó Wénhuà hé lǚyóubù) เป็นหน่วยงานหนึ่งในคณะมนตรีรัฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหน้าที่รับผิดชอบด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

กระทรวงนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2018 โดยมีพื้นฐานมาจากกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีน[1]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 2018 สมัยประชุมที่ 1 ของสภาประชาชนแห่งชาติชุดที่ 13 ได้มีมติให้รวมเอาหน้าที่ของกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งชาติจีนเข้าไว้ด้วยกันเป็นกระทรวงเดียว[2][3][4] ลั่ว ชู่กัง ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวคนแรก[5]

อำนาจหน้าที่

[แก้]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 สำนักข่าวจีนรายงานว่า กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวได้ประกาศว่าจะมุ่งเน้นการเข้มงวดตรวจสอบเนื้อหาและกำกับดูแลในสถานที่ของรายการทอล์กโชว์ ครอสทอล์ก ละครบุกเบิก ละครทดลอง และรายการภาษาอื่น ๆ[6]

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวมีหน่วยงานในสังกัดดังต่อไปนี้[7][8][9][10][11][12][อ้างอิงมากเกินไป]

หน่วยงานภายใน

[แก้]
  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • กรมนโยบายและกฎระเบียบ
  • กรมบุคคล
  • กรมการคลัง
  • กรมศิลปากร
  • กรมบริการมหาชน
  • กรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษา (สำนักงานกลุ่มผู้นำการวางแผนศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งชาติ)
  • กรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
  • กรมพัฒนาอุตสาหกรรม
  • กรมพัฒนาทรัพยากร
  • กรมการตลาด
  • สำนักงานตรวจสอบกฎหมายการตลาดวัฒนธรรม
  • สำนักงานแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศ (สำนักงานฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน)
  • คณะกรรมาธิการพรรคประจำองค์กร
  • สำนักงานผู้เกษียณอายุ

สำนักงานตัวแทนแห่งชาติ

[แก้]
  • สำนักงานบริหารมรดกทางวัฒนธรรมแห่งชาติ (ระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง)

สถาบันมหาชนในสังกัด

[แก้]
  1. สำนักงานตัวแทนบริการ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (ศูนย์ตัวแทนบริการ)
  2. ศูนย์สารสนเทศ
  3. สถาบันศิลปะแห่งชาติจีน
  4. หอสมุดแห่งชาติ
  5. พิพิธภัณฑ์พระราชวัง
  6. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจีน
  7. วิทยาลัยการจัดการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวกลาง
  8. กลุ่มบริษัทสื่อวัฒนธรรมจีน
  9. โรงอุปรากรปักกิ่งแห่งชาติ
  10. โรงละครแห่งชาติจีน
  11. โรงอุปรากรและเต้นรำจีน
  12. กลุ่มบริษัทศิลปะการแสดงตะวันออกจีน
  13. วงดุริยางค์ซิมโฟนีแห่งชาติจีน
  14. โรงละครศิลปะเด็กจีน
  15. โรงอุปรากรแห่งชาติจีน
  16. คณะบัลเลต์แห่งชาติจีน
  17. วงดุริยางค์พื้นบ้านแห่งชาติจีน
  18. คณะศิลปะเหมืองถ่านหินแห่งประเทศจีน
  19. พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติจีน
  20. พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สถาบันวิจัยจิตรกรรมจีนดั้งเดิม
  21. กลุ่มบริษัทวัฒนธรรมดิจิทัลจีน
  22. กลุ่มบริษัทแอนิเมชันจีน
  23. พิพิธภัณฑ์ตำหนักเจ้าชายกง
  24. ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ
  25. ศูนย์บริการผู้เกษียณอายุ
  26. ศูนย์พัฒนาศิลปะ
  27. ศูนย์รวบรวมและวิจัยประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิง
  28. ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจีนและต่างประเทศ
  29. ศูนย์พัฒนาวรรณกรรมและศิลปะพื้นบ้านแห่งชาติ
  30. สถาบันศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจีน
  31. ศูนย์พัฒนาวัฒนธรรมมหาชนแห่งชาติ
  32. ศูนย์บริหารมูลนิธิส่งเสริมศิลปะแห่งชาติ
  33. ศูนย์ก่อสร้างและบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกทางวัฒนธรรมโพ้นทะเล
  34. บริษัทข่าวท่องเที่ยวจีน
  35. บริษัทโรงพิมพ์ท่องเที่ยวจีน
  36. วิทยาลัยการท่องเที่ยวจีน (ศูนย์สารสนเทศ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว)
  37. สถาบันกำกับดูแลและบริหารจัดการคุณภาพการท่องเที่ยว
  38. หออนุสรณ์เม่ย์ หลานฟาง

รายนามรัฐมนตรีว่าการ

[แก้]
ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ อ้างอิง
1 ลั่ว ชู่กัง 19 มีนาคม ค.ศ. 2018 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 [13]
2 หู เหอผิง 11 สิงหาคม ค.ศ. 2020 29 ธันวาคม ค.ศ. 2023
3 ซุน เย่หลี่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2023 อยู่ในวาระ [14]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 文化部、国家旅游局合并为“文化和旅游部”. Sohu (ภาษาจีน). 2018-03-13.
  2. 王勇 (2018-03-13). "关于国务院机构改革方案的说明——2018年3月13日在第十三届全国人民代表大会第一次会议上 Explanation on the institutional reform plan of the State Council – at the first session of the 13th National People's Congress on March 13, 2018". 全国人民代表大会 National People's Congress. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-09.
  3. "第十三届全国人民代表大会第一次会议关于国务院机构改革方案的决定 Decision of the First Session of the 13th National People's Congress on the Institutional Reform Plan of the State Council". 全国人民代表大会 National People's Congress. 2018-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-18.
  4. "国务院机构改革方案 State Council Institutional Reform Plan". 全国人民代表大会 National People's Congress. 2018-03-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-18.
  5. 雒树刚被任命为首位文化和旅游部部长(附简历). Economic Daily (ภาษาจีน). 2018-03-19.
  6. Chen, Haifeng. "Ministry of Culture and Tourism: Focus on strengthening the content censorship and on-site supervision of talk shows and other programs". China News Service. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  7. 中共中央办公厅、国务院办公厅. "文化和旅游部职能配置、内设机构和人员编制方案". 中华人民共和国中央人民政府门户网站. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  8. "直属单位". 中华人民共和国文化部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  9. "主管新闻出版单位". 中华人民共和国文化部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  10. "社会团体". 中华人民共和国文化部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  11. "机构设置". 中华人民共和国国家旅游局. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-03-15.
  12. "直属单位 Subordinate units". 中华人民共和国文化和旅游部 Ministry of Culture and Tourism of the People's Republic of China. สืบค้นเมื่อ 2023-10-14.
  13. 文化和旅游部部长雒树刚:推动中华文化走向世界. iFeng (ภาษาจีน). 2018-03-20.
  14. "Sun Yeli appointed minister of culture and tourism by China's top legislature". China Daily. 2023-12-29.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]