กระดูกหักแบบโชเฟอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดูกหักแบบโชเฟอร์
ชื่ออื่นกระดูกหักแบบฮัตชินสัน, กระดูกหักแบบแบ็กฟายร์
การหักของเรดียลสตัยลอยด์พรอเซส (radial styloid process) และเส้นหักยาวเข้าไปในพื้นผิวระหว่างข้อ (intraarticular surface)
สาขาวิชาออร์โทพีดิกส์

กระดูกหักแบบโชเฟอร์ (อังกฤษ: Chauffeur's fracture) หรือ กระดูกหักแบบฮัตชินสัน (อังกฤษ: Hutchinson fracture) เป็นรูปแบบหนึ่งของกระดูกหักระนาบออบลีก (oblique fracture) ที่ระหว่างข้อต่อ (Intraarticular fracture) ของเรเดียลสตัยลอยด์พรอเซส (radial styloid process) ในต้นแขน[1] การบาดเจ็บนี้มักเกิดจากการบีบอัดของกระดูกสกัฟฟอยด์ของมือเข้ากับสตัยลอยด์พรอเซสของกระดูกเรเดียสตอนปลาย สามารถเกิดได้จากการล้มเอามือข้างที่กางออก (outstretched) ลง การรักษามักใช้การโอเพนรีดักชั่นและอินเทอร์นอลฟิกเซชั่น ซึ่งเป็นการจัดเรียงกระดูกที่แตกใหม่และยึดด้วยหมุด สกรู หรือแผ่น ทำในห้องผ่าตัด

โจนาธาน ฮัตชินสัน เป็นบุคคลที่บรรยายการหักของกระดูกแบบโชเฟอร์เป็นครั้งแรกในปี 1866[1] โดยชื่อ "กระดูกหักแบบโชเฟอร์" มีที่มาจากฌุสท์ ลูคัส-ชัมปิญนแนร์ในปี 1904[1] ชื่อนี้มีที่มาจากโชเฟอร์ในยุคแรกที่บาดเจ็บในลักษณะนี้เมื่อรถยนต์เกิดระเบิดนอกกระบอกสูบ (แบ็กฟายร์, back-fire) ขณะโชเฟอร์กำลังบิดมือ (แฮนด์แครงก์, hand-crank) เพื่อให้เครื่องยนต์รถติด[1][2] แบ็กฟายรืที่เกิดขึ้นทำให้แครงก์เกิดเคลื่อนไปทางด้านหลังของฝ่ามือโชเฟอร์ และนำมาสู่การหักของสตัยลอยด์ที่มีรูปแบบเฉพาะเช่นนี้[2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Andreotti, Mattia; Tonon, Francesco; Caruso, Gaetano; Massari, Leo; Riva, Michele A. (March 2020). "The "Chauffeur Fracture": Historical Origins of an Often-Forgotten Eponym". HAND (ภาษาอังกฤษ). 15 (2): 252–254. doi:10.1177/1558944718792650. ISSN 1558-9447. PMC 7076623. PMID 30079762.
  2. 2.0 2.1 Lund, F. B. (1904-11-03). "Fractures of the Radius in Starting Automobiles". The Boston Medical and Surgical Journal (ภาษาอังกฤษ). 151 (18): 481–483. doi:10.1056/NEJM190411031511802. ISSN 0096-6762.
  3. Greenspan, Adam. (2004). Orthopedic imaging : a practical approach. Greenspan, Adam. (4th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. ISBN 0-7817-5006-7. OCLC 54455663.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก