กระดาษเงินกระดาษทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระดาษเงินกระดาษทอง
กระดาษเงินกระดาษทองในร้านค้า
อักษรจีนตัวเต็ม金紙
อักษรจีนตัวย่อ金纸
ความหมายตามตัวอักษรกระดาษทอง
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม陰司紙
อักษรจีนตัวย่อ阴司纸
ความหมายตามตัวอักษรกระดาษโลกบาดาล
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2)
อักษรจีนตัวเต็ม紙錢
อักษรจีนตัวย่อ纸钱
ความหมายตามตัวอักษรกระดาษเงิน
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (3)
อักษรจีนตัวเต็ม冥幣
อักษรจีนตัวย่อ冥币
ความหมายตามตัวอักษรเงินดำ

กระดาษเงินกระดาษทอง เป็นกระดาษสีเงินสีทองด้านหนึ่งที่คนจีนใช้เผาไฟในพิธีไหว้เจ้าเป็นต้น

กระดาษเงินกระดาษทองในแบบต่างๆ[แก้]

เทียงเถ่าจี๊
เทียงเถ่าจี๊ (天頭錢) เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัง" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดีใช้สำหรับไหว้พระแม่กวนอิม ปึงเถ่ากงม่า แปะกง ทีตี่แป่บ้อ (เทพยดาฟ้าดิน)และองค์เทพเจ้าต่างๆทุกพระองค์ ยกเว้นสัมภเวสี เจ้าที่ และบรรพบุรุษ
กิมจั้ว
กิมหงิ่งจั๊ว (金紙) หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาใช้ไหว้จะต้องใช้ไหว้บรรพบุรุษ และคนตาย สัญลักษณ์ที่จะมองเห็นได้คือ คนตายใหม่ๆที่ไม่เกิน 3 ปี จะใช้ไหว้ 24 แผ่นต่อ 1 ครั้ง บรรพบุรุษจะใช้ไหว้ 48 ใบ ต่อ 1 ครั้ง สำหรับการพับก็คือ ไหว้คนตาย 24 ใบ ต่อ 1 ครั้ง ไหว้บรรพบุรุษ 48 ใบ ต่อ 1 ครั้ง แต่ถ้าจะให้เผาง่ายก็ต้องมีรูปดอกไม้ นอกจากนั้น ยังมีแบบของฮกเกี้ยนทำเป็นข้อความแดง,เขียวอย่างละช่อง และของกวางตุ้งที่เป็นกระดาษมีทอง,เงินติดอยู่
กิมเต้า
กิมเต้า หงิ่งเต้า (金斗 銀斗) หรือ ค้อซีเต้า (錁絲斗) คือถังเงินถังทอง เปรียบเสมือนถังเงินถังทองใช้ไหว้เจ้าเพื่อขอเงินขอทองขอโชคลาภ ใช้ไหว้ตี่จู่เอี๊ย ไฉ่ซิ้งเอี๊ย ไท้ส่วยเอี๊ย พระแม่กวนอิม ทีตี่แป่บ้อ แป๊ะกง ปึงเถ่ากง ปึงเถ่าม่า เซี๋ยอ๊วงกง(เจ้าพ่อหลักเมือง)แบบจีนแต้จิ๋ว
กิมเตี๊ยว
กิมเตี๊ยว (金條) คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ อย่างน้อยการใช้ไหว้บรรพบุรุษ จะไหว้แบบ 8 แท่งขึ้นไปเท่านั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์เฉพาะบรรพบุรุษ ส่วนคนตายจะเป็น 4 แท่ง แต่ให้ไหว้ 4 ชุดขึ้นไป เปรียบเสมือนทองที่อยู่บนโลกมนุษย์ (โหล่วกัง)
โกวอีพิมพ์
โกวอีพิมพ์ (孤衣) คือ กระดาษที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ การไหว้จะต้องใช้ 1 ปึกต่อ 1 ครั้ง ประมาณ 12-13 แผ่น นำมาพับไหว้บรรพบุรุษ วิธีการพับก็คล้ายๆค้อซีหรือตั่วกิม และใช้ไหว้รวมกับตั่วกิม ค้อซี กิมจั๋ว อิมกังจัวยี่ และหว่องแซจี๊ เป็นต้น
งิ่งเตี๋ย
เง็งเตี๋ย หรือหงิ่งเตี๋ย/งิ่งเตี๋ย (銀錠) เป็นกระดาษแผ่นใหญ่ด้านหนึ่งเป็นสีเงินอีกด้านหนึ่งเป็นสีทอง ด้านในตรงกลางมีอั่งจี้ 1 แผ่นใช้ไหว้เจ้าที่ แก้บนและทำพิธีต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลและให้โชคลาภ

งิ่งเตี๋ย เป็นกระดาษเงิน-ทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ แปะกง โท่วตี่ซิ้ง ที่ละ 1 ชุด หรือ 3 ชุด แล้วแต่ธรรมเนียมของบ้านผู้ไหว้ โดยมักจะไหว้คู่กับค้อซี หรือ กระดาษทองขอบทองสีส้มด้วย บางธรรมเนียมก็ไหว้ 3 แผ่น 5 แผ่น 12 แผ่น หรือแล้วแต่

ตั่วกิม
ตั่วกิม (大金) หรือ ค้อซี (錁絲) เป็นกระดาษทอง และขอบสีส้ม โดยใช้ไหว้เจ้าที่ พับเป็นเคี่ยวเท้าซี และมีกระดาษแดงแปะติดตรงกลาง เพื่อไหว้เจ้าที่ ขอเรื่องความสุข ความเจริญ การงานเจริญรุ่งเรือง สุขภาพแข็งแรง ใช้ไหว้คู่กับงิ่งเตี๋ย กุ้ยนั้งฮู้ เป็นต้น บางครั้งใช้เทียงเถ่าจี๊ กิมงึ่งเต้าด้วยคู่กัน และใช้ไหว้บรรพบุรุษ จะต้องพับเป็นเคียวเท่าซีแต่ห้ามหักท้ายกระดก โดยไหว้ 1 ครั้งต้อง 48 แผ่นขึ้นไป ต้องมากกว่ากิมจั๋วและอวงแซจี๊ อิมกังจัวยี่ ถือเป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ และบรรพบุรุษนำไปใช้เพื่อความเจริญรุ่งเรืองต่อลูกหลานอีกด้วย โดยนำไปไหว้ทีตี่แป่บ้อด้วยการพับเคียวเท่าซีใส่อ้วงป้อและกระดกตั่วกิมขึ้นด้วย ไหว้พระแม่กวนอิม แป๊ะกง โท่วตี่กง แป๊ะเอี๊ย บุ่งซูผู่สัก โผ่วเฮี้ยงผู่สัก และเทพทุกพระองค์ ไหว้ที่ละ 12 แผ่นฃ
เพ้า
เพ้า (袍) คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
เหรียญเงินเหรียญทอง
หากมีธนบัตรก็ต้องมีเหรียญ
อ่วงแซจี๊
อ่วงแซจี๊ (往生錢) เป็นกระดาษสีเหลืองอักษรจีนสีแดง ใช้ไหว้ฮอเฮียตี๋ในวันตรุษจีน สารทจีน เพื่อส่งให้ไปเกิดใหม่ ไม่ใช้ใบเบิกทางแบบที่เข้าใจ

ถือเป็นกระดาษสำคัญที่ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ต่อ 1 ครั้ง จะมีการใช้เป็นส่วนมาก มากกว่ากระดาษชิ้นอื่นๆ มากกว่า 3 เท่าอีกด้วย ถือเป็นกระดาษไหว้ที่สำคัญที่สุด หากไม่มีกระดาษก็ไม่ส่งถึงบรรพบุรุษด้วย

อิมกังจัวยี่
อิมกังจัวยี่ หรือแบงก์กงเต็ก เป็นกระดาษมาพิมพ์เป็นแบงค์ใช้ในภพภูมิซึ่งท้าวยมทูตเป็นผู้รับรอง พระอินทร์ (เง็กเซียนฮ่องเต้) เป็นพระคลัง ใช้จ่ายในภพภูมิและไหว้ตามทาง ฉะนั้นบุตรหลานจึงมีการหาซื้อมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาพบบุตรหลานญาติมิตรที่เมืองมนุษย์ในเทศกาลจีนต่างๆ
อ่วงป้อตั่วกิม
อ่วงป้อตั่วกิม หรือกระทงเป็นกระดาษตั่วกิม12-13แผ่น กดหัวท้ายแล้วมัดรวมกัน จัดอยู่ในกระทงที่เรียกว่าอ่วงป้อ
เทียนก้องกิม
เทียนก้องกิม(天公金) หรือ ฮกเกี้ยนกิมแผ่นใหญ่ เป็นกระดาษเฉพาะที่ใช้บูชาหยกอ๋องซ่งเต้ หรือ ทีก้อง และ เทพเจ้าชั้นสูง ถือว่าเป็นกระดาษชั้นสูง ตรงกลางเขียนว่า "เทียนกวนซูฮก" หรือ ฟ้าประทานพร หมายถึง หยกอ๋องซ่งเต้ เป็นกระดาษที่เห็นเฉพาะกลุ่มของชาวฮกเกี้ยน และ ชาวไต้หวัน
อั่งจี้
อั่งจี้ เป็นกระดาษสีแดงฉลุคำอวยพรต่างๆ มักไหว้คู่กับหงิ่งเตี๋ย หลักๆมี 4 ชนิด คือ อั่งจี้ สี่เอี่ยจี้ หลักฮะจี้ และ จี้ตุ่ย
ซิ่วกิม
ซิ่วกิม เป็นกระดาษไหว้ของชาวกวางตุ้ง ลักษณะคล้ายตั่วกิม แต่มีการเขียนคำว่าซิ่ว ที่แปลว่าอายุยืนลงไป มักใช้ไหว้ในวันประสูติเทพเจ้าต่างๆ
กิมก่ง
กิมก่งเป็นกระดาษที่มีลักษณะคล้ายโคม ทำจากตั่วกิมม้วนแปะรอบโครงไม้ไผ่ แล้วติดลายต่างๆ เช่น ลายแปดเซียน นิยมใช้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลกินเจ
ตั่วป้อ
ตั่วป้อ มีลักษณะคล้ายก้อนทองใหญ่ มีทั้งขนาดเล็กกับใหญ่ ขนาดเล็กใช้ในเทศกาลต่างๆ เช่น ไหว้พระจันทร์ คนจีนเตี่ยเอี้ยนิยมใช้ไหว้วันเทวสมภพ ขนาดใหญ่ใช้ในงานกงเต็ก ไหว้บรรพบุรุษ แต่ก็ไหว้เทพเจ้าได้เช่นกัน
อาเนี้ยเต็ง
อาเนี้ยเต็ง หรือ วังเจ้าแม่ นิยมไหว้ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ ลักษณะคล้ายวัง มีตุ๊กตาโปวเต็งของเทวีฉางเอ๋อหรือพระอวโลกิเตศวรอยู่ด้านใน ด้านนอกติดภาพหรือตุ๊กตาโปวเต็งแปดเซียน
อ่วงมึ้ง
อ่วงมึ้ง ทำจากตั่วกิมพับแล้วร้อยเป็นพวง ด้านบนอาจจะติดกระดาษพระอวโลกิเตศวร นิยมประดับโต๊ะไหว้พระจันทร์ หรือประดับศาสนสถาน
กุ้ยนั้งฮู้
กุ้ยนั้งฮู้ เป็นกระดาษสีแดง ตีตารางแปดช่อง มีรูปเทพเซียนต่างๆ เช่น เทพอุปถัมป์สี่ทิศ เทพดาวโชคลาภ กุมารเรียกทรัพย์ อยู่ในตาราง อีกช่องเป็นยันต์

ใช้ไหว้ขอคนอุปถัมป์ และยังมีอีกลักษณะหนึ่ง คือ ตั่วกิมตัดเป็นรูปคน เรียกว่า กุ้ยนั้ง หู่ที้ หู่จ้อ และรูปม้า เรียกว่าหลกแบ้ ไว้เร่งคำขอพร

ไต่ปุ่ยจิ่วจั้ว
ไต่ปุ่ยจิ่วจั้ว เป็นกระดาษไหว้บรรพบุรุษ จารึกมหากรุณาธารณี นิยมนำมาพับเป็นเรือ หรือที่เรียกว่านาวาธรรม นิยมใช้ในเทศกาลอุลลัมพนะ(สารทเดือน 7)
การเผากระดาษ
การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เซ่นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิษฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผาเมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลาเป็นการเสร็จพิธี บางธรรมเนียมอาจมีการจุดประทัด เรียกว่า เสี๋ยโผ่งเผี๋ย เช่น เช็งเม้ง ตรุษจีน สารทจีน หลังจากไป๋ฮ่อเฮียตี๋ (ไหว้ผีต้นตระกูลจีน)และไหว้เจ้าที่ตามศาลเจ้าต่างๆ

อ้างอิง[แก้]