กรดจิบเบอเรลลิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรดจิบเบอเรลลิก
เลขทะเบียน
ChEBI
ECHA InfoCard 100.000.911 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 201-001-0
คุณสมบัติ
C19H22O6
มวลโมเลกุล 346.38 g/mol
จุดหลอมเหลว 233 - 235 °C (decomposition)
5 g/l (20 °C)
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

กรดจิบเบอเรลลิก (หรือ Gibberellin A3, GA, และ (GA3) เป็นฮอร์โมนพืชกลุ่มจิบเบอเรลลิน สูตรโครงสร้างคือ C19H22O6 ในรูปบริสุทธิ์เป็นผงสีขาวหรือเหลืองละลายในเอทานอลและละลายในน้ำได้เล็กน้อย

กรดจิบเบอเรลลิกเป็นจิบเบอเรลลินพื้นฐานที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและการยืดตัวของเซลล์ มีผลต่อการสลายตัวของพืชและช่วยให้พืชเจริญเติบโตถ้าใช้ในปริมาณน้อย ๆ กรดจิบเบอเรลลิกช่วยกระตุ้นเซลล์ระหว่างการงอกของเมล็ดพันธุ์ให้สร้าง mRNA สำหรับเอนไซม์ไฮโดรไลติก กรดจิบเบอเรลลิกเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่มีศักยภาพมากในการควบคุมการพัฒนาของพืช การประยุกต์ใช้จิบเบอเรลลินความเข้มข้นต่ำมากจะมีผลอย่างมากในขณะที่มากเกินไปจะมีผลตรงข้ามมักที่ความเข้มข้นระหว่าง 0.01-10 mg / L

จิบเบอเรลลินถูกพบครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นเมื่อพ.ศ. 2478 เป็นสารที่สร้างจากเชื้อโรค Gibberella fujikuroi ที่ก่อโรคในข้าว ข้าวที่ติดเชื้อ G. fujikuroi จะมีลักษณะสูง ผอม สูงกว่าปกติจนตายเพราะไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักของตัวเอง

จิบเบอเรลลินมีผลกระทบต่อการพัฒนาพืช ได้แก่:

  • กระตุ้นการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของลำต้นราก
  • ทำให้เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสในใบของพืชบางชนิด
  • เพิ่มอัตราการงอกของเมล็ด

กรดจิบเบอเรลลิกบางครั้งใช้ในห้องปฏิบัติการและเรือนกระจกเพื่อศึกษาการงอกในเมล็ดที่อาจจะพักตัว นอกจากนี้ยังใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมองุ่นโดยใช้เป็นฮอร์โมนเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดองุ่นที่ช่อและผลใหญ่โดยเฉพาะองุ่นไม่มีเมล็ดและใช้ในอุตสาหกรรมเชอร์รี่เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโต

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]